การประยุกต์ใช้เทคนิคการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนนเพื่อพัฒนา แผนที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในจังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • บุญพล มีไชโย มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ศุจินธร ทรงสิทธิเดช มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ดลยฤทธิ์ เสฏฐสุวจะ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

แผนที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม, เส้นทางท่องเที่ยวปลอดภัย, ถนนปลอดภัย

บทคัดย่อ

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้คุณค่าของวัฒนธรรมอันบ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ที่ต่างกันออกไปของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งในแต่ละภาคของประเทศไทยนั้นมีเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แตกต่างกัน แต่มีกิจกรรมหนึ่งที่เป็นที่นิยมอย่างมาก ได้แก่ การไหว้พระ 9 วัด เพื่อเป็นสิริมงคลต่อชีวิตและครอบครัว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวกับเส้นทางท่องเที่ยวโดยการสำรวจประชากรกลุ่มตัวอย่างจากแบบสอบถามและดำเนินการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน (ขั้นตอนถนนเปิดให้บริการแล้ว) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาแผนที่มรดกทางวัฒนธรรม “เส้นทางสายบุญ” โดยผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านระยะทางเป็นปัจจัยที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญมากที่สุด ขณะที่การตรวจสอบความปลอดภัยทางถนนพบประเด็นปัญหาความบกพร่องของป้ายจราจร เครื่องหมายนำทาง ลักษณะทั่วไปของทางแยก แนวทางและรูปตัดถนนบนเส้นทางท่องเที่ยวที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินได้

References

Ministry of Tourism and Sports. (2018, July). The Situation of Tourism in the Country by Province. Retrieved from https://www.mots.go.th

Road Accident Victims Protection Company Limited (ThaiRSC). (2020, February). Road Accident Statistics in Thailand.Retrieved from https://www.thairsc.com

Road Accident Victims Protection Company Limited (ThaiRSC). (2018, August). Road Accident Statistics in Thailand. Retrieved from https://www.thairsc.com

Dabphet, S. (2014). Destination Choice between First-time and Repeat Tourists. Journal of Business, Economics and Communications, 9(2), 39-59. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/BECJournal/article/view/54868

Inwang, K., & Putthapoomphithak, W. (2015). Development of cultural tourist attractions in Phitsanulok Province. Research Journal Humanities and Social Sciences, 1(2), 62-77.

Institution of Highways and Transportation. (1996). Guidelines for Road Safety Audit. IHT, London, United Kingdom.

Koren, C. (2004). A Road Safety Audit. Szechenyi Istvan University, Hungary.

Taneerananon, P., Tanaboriboon, Y., & Srisakda, L. (2006). Road Safety Audit Guide for Thailand. Prince of Songkla University, Songkhla.

Austroads. (2002). Road Safety Audit Guide (2nd ed.). Austroads, Melbourne, Australia.

Wrisberg, J., & Nilsson, P.K. (1996). Safety Audit in Denmark: A Cost–Effective Activity. Copenhagen: Danish Road Directorate.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-02

How to Cite

[1]
มีไชโย บ. ., ทรงสิทธิเดช ศ. ., และ เสฏฐสุวจะ ด. ., “การประยุกต์ใช้เทคนิคการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนนเพื่อพัฒนา แผนที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในจังหวัดพิษณุโลก”, PSRU JITE, ปี 3, ฉบับที่ 3, น. 207–225, พ.ย. 2021.