การจัดการโซ่อุปทานเมล่อน: กรณีศึกษา สวนเมล่อนไฮโดรกรีนฟาร์ม
คำสำคัญ:
เมล่อน, โซ่อุปทาน, การวิเคราะห์ SWOT, ห่วงโซ่คุณค่าบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาโซ่อุปทานการผลิตเมล่อนของสวนเมล่อนไฮโดรกรีนฟาร์ม เริ่มตั้งแต่กระบวนการจัดหาวัตถุดิบ การเพาะปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว ไปจนถึงกระบวนการขนส่งและการจัดจำหน่ายผลผลิตของสวน ผู้วิจัยยังได้ทำการประเมินศักยภาพของสวนโดยใช้ SWOT Analysis และวิเคราะห์กิจกรรมต่างๆในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ผลจากการวิจัยพบว่า ทางสวนมีกระบวนการควบคุมคุณภาพของผลผลิตได้ดี ผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP ผลผลิตของสวนเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก แต่เนื่องจากสวนตั้งอยู่ไกลกับตลาด จึงทำให้ต้องเสียต้นทุนในการขนส่งสูง นอกจากนี้ทางสวนยังขาดการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและขาดพนักงานที่มีทักษะและความรู้ในด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการจำหน่าย สวนเมล่อนควรหาแหล่งตลาดใหม่ๆ ที่อยู่ใกล้สวน เพื่อช่วยระบายผลผลิต ลดความเสี่ยงจากผลผลิตเน่าเสียและลดการขนส่งในระยะทางไกลๆโดยไม่จำเป็น ทางสวนควรนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจดบันทึก ติดตามและวางแผนการผลิต เพื่อให้สามารถวางแผนการผลิตได้สอดคล้องกับความต้องการและเกิดความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน นอกจากนี้ควรจัดวางโครงสร้างองค์กรให้เป็นสัดส่วนและชัดเจน และจัดฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะและความรู้แก่พนักงานประจำในการดูแลสวน
References
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2555). การขนส่งสินค้าในงานโลจิสติกส์. กรุงเทพฯ: บริษัท โฟกัสมีเดีย แอนด์ พับลิชชิ่งจำกัด.
ธนวัฒน์ ศรีติสาร. (2561). ห่วงโซ่อุปทานการผลิตข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
นงค์นุช บุญกล่ำ. (2017). ห่วงโซ่อุปทานมะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อการส่งออก: กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. Kasetsart Journal of Social Sciences, 38, 742-754.
รุ้งตะวัน สินธุ์ลือนาม และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2560). การจัดการและกลยุทธ์การแข่งขันทางการตลาดของตลาดริมน้ำวัดดอนหวายในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal, 10(1), 1620-1642.
ศรัณย์ โรจนโสทร. (2563). ข้อดีของการตลาดแบบเฉพาะกลุ่ม (Niche Market). ค้นจาก https://www.thumbsup.in.th/advantage-of-niche-market
ศศินภา บุญพิทักษ์, กรณ์ปภพ รัตนวิจิตร และสำราญ ชำโสม. (2559). การศึกษาและหาแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานผลไม้มังคุดในเขตจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(1), 100-115.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และปริญ ลักษิตานนท์ศุภร. (2541). กลยุทธ์การตลาดและการบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
สายสกุล ฟองมูล. (2563). ผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตรที่มีผลต่อความมั่นคงทางด้านอาหารในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 37(1), 118-125.
สายสกุล ฟองมูล และกังสดาล กนกหงส์. (2560). การจัดการแรงงานภาคเกษตรของเกษตรกรชาวสวนลำไย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 34(3), 73-78
สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์. (2560). การจัดการห่วงโซ่อุปทานของสินค้าเกษตรกล้วยไม้ในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม.Veridian E-Journal, 10(2), 1595-1610.
สุธาทิพย์ เลิศวิวัฒน์ชัยพร และจันทร์เพ็ญ วรรณารักษ์. (2561). การบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานให้กับเกษตรกรชาวนาแห้ว จังหวัดสุพรรณบุรี. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, นนทบุรี.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 10. (2563). เมล่อน พืชทางเลือกกำไรงาม ปลูกได้ตลอดปี ให้กำไรกว่า 35,000 บาท. ค้นจาก shorturl.at/nqrEN
โสมรัศมิ์ จันทรัตน์, บุญธิดา เสงี่ยมเนตร, วิษณุ อรรถวานิช และจิรัฐ เจนพึ่งพร. (2562). สถานการณ์สูงวัยกับผลิตภาพและการทำเกษตรของครัวเรือนเกษตรไทยมีนัยต่อการพัฒนาภาคเกษตรอย่างไร? ค้นจาก https://www.pier.or.th/abridged/2019/13/
อารยา สุนทรวิภาต, ธัชนันท์ สังวาล, ภัญนภัส พฤกษากิจ และยศพล ผลาผล. (2562). ความสามารถในการแข่งขันของไทยเมื่อเทียบกับประเทศมาเลเซียและการจัดการโซ่อุปทานการส่งออกทุเรียนแช่แข็งและทุเรียนฟรีซดรายไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี, จันทบุรี.
Porter, M.E. (1985). Technology and Competitive Advantage. Journal of Business Strategy, 5(3), 60-78.