ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคน้ำปลา กรณีศึกษาบริษัทน้ำปลา XYZ

ผู้แต่ง

  • วิมลศิริ คงเจริญการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ชนาวัฒน์ ตรงต่อกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ประสพโชค เรืองวงษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ณัฐพร ตั้งเจริญชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • สุกฤษฏิ์ เพชรสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ธัชชัย เทพกรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

น้ำปลา, ความพึงพอใจ, ความเชื่อมั่น, สัมประสิทธิ์ครอนบัค, ความแปรปรวน

บทคัดย่อ

      งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคและค้นหาระดับความพึงพอใจของลูกค้าในการเลือกซื้อน้ำปลาด้วยวิธีการทางสถิติ กรณีศึกษาบริษัทน้ำปลา XYZ จำกัด สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจะเป็นแบบสอบถามที่ได้ทำการออกแบบและสร้างขึ้นมาโดยใช้มาตราวัดของลิเคิร์ท (Likert scale) ซึ่งความเชื่อมั่นของแบบสอบถามจะถูกทดสอบด้วยการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัค (Cronbach’s Alpha coefficient) โดยกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้เป็นลูกค้าในจังหวัดพิษณุโลกและพื้นที่ข้างเคียง ข้อมูลที่ได้เก็บรวมรวมจากแบบสอบถามทั้งหมดจะถูกนำมาวิเคราะห์ผลทางสถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมานประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการศึกษาวิจัยพบว่า แบบสอบถามที่ได้ออกแบบและใช้เก็บข้อมูลมีระดับความเชื่อมั่นที่สูงเนื่องจากค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัคเท่ากับ 0.926 นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยด้าน เพศ อายุ และระดับการศึกษา มีผลต่อการเลือกซื้อน้ำปลาของลูกค้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ในด้านการค้นหาระดับความพึงพอใจของลูกค้าพบว่า ลูกค้ามีระดับความพึงพอใจมากที่สุดในด้าน “สินค้ามีมาตรฐาน อย. และวันหมดอายุที่ชัดเจน” ในขณะที่ด้าน
“โลโก้สินค้าเป็นที่จดจำของลูกค้า” ลูกค้าจะมีระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด

References

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297–334.

Likert, R. A. (1961). New Patterns of Management. New York: Hill Book Company Inc.

Montgomery, D.C. (2012). Design and Analysis of Experiments. New York: John Wiley & Sons Inc.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.

จิรารัตน์ จันทวัชรากร. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ของร้านค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคขนาดเล็ก กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภค: การศึกษาเปรียบเทียบ ร้านค้าปลีกดั้งเดิมกับร้านค้าปลีกสมัยใหม่ในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต).มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.

ชุลีวรรณ สมัครพงศ์. (2549). การตลาดของสินค้า OTOP ในจังหวัดสงขลา: กรณีศึกษากลุ่มสินค้าหัตถกรรม. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

ณัฐกาญจน์ สุวรรณธารา. (2560). ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจในการเลือกซื้อเครื่องสำอางตราสินค้าไทยของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(25), 164-171.

ทิพวรรณ อาณานุการ และบุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย. (2562). การศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจในการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องแกงกะทิสำเร็จรูป ระหว่างตราสินค้า A, B และ C ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 9(3), 213-226.

นงลักษณ์ โพธิ์ไพจิตร, กฤษณพร ประสิทธิ์วิเศษ, และจารุณี วิเทศ. (2563). การออกแบบบรรจุภัณฑ์และตั้งชื่อตราของเครื่องปรุงมหาวิทยาลัยสวนดุสิต. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยสารคราม, 12(2), 37-53.

ปาริชาติ ศงสนันทน์ และศิริลักษณ์ เจริญรัตน์. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์แหนมซี่โครงหมูอ่อนสำหรับกลุ่มส่งเสริมอาชีพสตรี เทศบาลเมืองต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 5(1), 163-173.

พนัชกร สิมะขจรบุญ และเอกรินทร์ จินดา. (2561). การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ขนมหวานพื้นถิ่นของชุมชน. วารสารภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 3634-3652.

พรพิมล สัมพัทธ์พงศ์. (2561). การศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเเละส่วนประสมทางการตลาดของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาวในจังหวัดนนทบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 7(1), 59-65.

ภาดล อามาตย์ และ ประดิษฐ์ ศิลาบุตร. (2551). พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าของฝากของที่ระลึกในเขตอำเภอเมืองจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสักทอง, 14(2), 97-110.

ระบบสถิติทางการทะเบียน. (2563). ประกาศจำนวนประชากรปี 2542 – 2563. ค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_63.pdf

วรามาศ เพ็ชรเนียม. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการในร้านกาแฟพรีเมี่ยมของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-09

How to Cite

[1]
คงเจริญการ ว., ตรงต่อกิจ ช., เรืองวงษ์ ป., ตั้งเจริญชัย ณ., เพชรสวัสดิ์ ส., และ เทพกรณ์ ธ., “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคน้ำปลา กรณีศึกษาบริษัทน้ำปลา XYZ”, PSRU JITE, ปี 3, ฉบับที่ 3, น. 226–240, พ.ย. 2021.