ปัจจัยในการตัดสินใจท่องเที่ยวของผู้สูงอายุในพิษณุโลก
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, การท่องเที่ยว, การวิเคราะห์ตามลำดับชั้นบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยว และ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งได้คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุจำนวน 400 คน โดยออกแบบและทำการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเพื่อนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการท่องเที่ยวและข้อมูลพื้นที่ของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน เป็นต้น จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ พบว่า ความสัมพันธ์ของความถี่ในการเดินทางท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับข้อมูลพื้นฐาน ด้านพฤติกรรมของผู้ร่วมเดินทาง พบว่า ปัจจัยด้านเพศมีผลต่อผู้ร่วมเดินทางในทิศตรงข้าม และด้านระยะเวลาในการเดินทางท่องเที่ยว พบว่า ปัจจัยด้านเพศมีความสัมพันธ์สูงที่สุดในทางตรงข้าม แหล่งท่องเที่ยวที่ผู้สูงอายุให้ความสนใจมากที่สุด คือ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และผลที่ได้จากการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (Analytical hierarchy process: AHP) พบว่า ปัจจัยลำดับแรก คือ สิ่งอำนวยความสะดวก ร้อยละ 42.00 รองลงมาคือ การดูแลความปลอดภัย ร้อยละ 27.00 สภาพแวดล้อม ร้อยละ 19.00 และฤดูกาลสำหรับท่องเที่ยว ร้อยละ 11.00 ตามลำดับ
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก. ค้นจาก https://thailandtourismdirectory.go.th/th
เจิดศักดิ์ มานะ. (2559). แรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยววัดในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.
ดำรงชัย ชีวะสุขะ. (2560). รูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของเกาะช้างตามยุทธศาสตร์ของโครงการคาร์บอนต่ำขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปทุมธานี.
ธนาวุฒิ ตรงประวีณ. (2560). อิทธิพลของสีในสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อความเครียดของผู้สูงอายุชาวไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
ปรารถนา ศิริเบ็ญนรัต. (2553). รูปแบบการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุที่เป็นข้าราชการบำนาญในเขตเทศบาล จังหวัดนคารปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
ผุสดี ภูชฎาภิรมย์. (2552). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ กรณีศึกษา อุทยานแห่งชาติเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารคณะพลศึกษา, 15(2), 38-47.
พิรานันท์ นายอง. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัยของนักท่องเที่ยวชาวไทย. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2562). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2562. ค้นจาก http:// https://thaitgri.org
รังสรรค์ เพ็งพัด. (2554). การศึกษาศักยภาพแหล่งธรณีวิทยาในจังหวัดเพชรบูรณ์เพื่อเป็นศูนย์บริการวิชาการและแหล่งท่องเที่ยว. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, เพชรบูรณ์.
สุทิพย์พร โชติรัตนศักดิ์. (2558). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนในเขตกรุงเทพมหานคร. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิษณุโลก. (2562). ข้อมูลประชากรจังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. 2562. ค้นจาก http://phitsanulok.m-society.go.th
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. ค้นจาก http://library.nhrc.or.th/ulib/dublin.php?ID=10506
สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2562). จำนวนประชากรจังหวัดพิษณุโลก พ.ศ.2562. ค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_62.pdf
สำนักสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก. (2562). บทวิเคราะห์ผู้สูงอายุ ปี พ.ศ.2562 จังหวัดพิษณุโลก. สำนักสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก, พิษณุโลก.
อดิศักดิ์ ธีรานุพัฒนาและชูศรี เที้ยศิริเพชร. (2554). การจัดลำดับความสำคัญของมาตรวัดและกระบวนการหลักของโซ่อุปทาน โดยวิธีแบบจำลองกระบวนการตัดสินใจแบบวิเคราะห์ลำดับชั้น. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 33(1), 1-32.
อำไพพรรณ รัตนปาณี. (2550). แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, กรุงเทพมหานคร.
Luis, G. V. (1990). An overview of the Analytic Hierarchy Process and its applications. European Journal of Operational Research, 48, 2-8.
Sriampornekkul, L., & Chuntuk, T. (2018). Quality Tourism for Senior Tourists. Journal of Humanities and Social Sciences, 4(1), 12 - 28.
Thomas, L.S. (2008). Decision making with the analytic hierarchy process. International Journal of Services Sciences, 1(1), 83-98.