การเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง ในจังหวัดนครราชสีมา โดยใช้เทคนิคกระบวนการลำดับชั้นวิเคราะห์แบบฟัซซี่
คำสำคัญ:
การเลือกสถานที่ตั้ง, โรงงานผลิตเอทานอล, กระบวนการจัดลำดับชั้นบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการเลือกทำเลที่ตั้งและวิเคราะห์เปรียบเทียบความสำคัญของปัจจัยในการเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา โดยใน 3 ทางเลือก ได้แก่ อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง และอำเภอหนองบุญมาก โดยใช้เทคนิคกระบวนการแบบลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี่ มาประเมินหาค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยที่มีความสำคัญ 5 ลำดับแรกจากการกลั่นกรองปัจจัยของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งประกอบด้วย แหล่งวัตถุดิบ การคมนาคมขนส่ง ระบบสาธารณูปโภค แหล่งต้นกำลังและเชื้อเพลิง และแหล่งแรงงาน ซึ่งปัจจัยที่ผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญมากที่สุด คือ แหล่งวัตถุดิบ เนื่องจากเห็นว่าเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อต้นทุนสินค้าถึง 65% และเป็นค่าใช้จ่ายที่ผูกมัดระยะยาว ในการวิเคราะห์ผลของการวิจัย พบว่าอำเภอครบุรีเหมาะสมสำหรับเป็นทำเลที่ตั้งโรงงานผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังมากที่สุดในจังหวัดนครราชสีมา โดยมีคะแนน 0.426 ขณะที่อำเภอหนองบุญมาก และอำเภอเสิงสาง มีคะแนนความสำคัญ 0.361 และ 0.212 ตามลำดับ ผลที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถเป็นข้อมูลเพื่อให้ผู้ประกอบการ ผู้บริหารโรงงาน หรือผู้ที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานผลิตเอทานอลมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นและเพื่อเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้เทคนิคกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี่ ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เช่น การเลือกทำเลที่ตั้งของคลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า หรือศูนย์บริการโชว์รูมต่างๆ
References
ขวัญชัย อินหันต์ และ ตรีทศ เหล่าศิริหงษ์ทอง. (2559). การจัดลำดับความสำคัญข้อบกพร่องด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี่: กรณีศึกษากระบวนการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 26 (3), 427-436.
ณัฐวุฒิ นาดี. (2555). การเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานโดยการประยุกต์ใช้เทคนิค AHP และ Break-even analysis กรณีศึกษา บริษัท ยูไนเต็ด คาร์เป็ท แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการโลจิสติกส์, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ธัญยรัตน์ ติยอภิสิทธิ์ และ อรรถพล สมุทคุปติ์. (2560). ตัวแบบในการคัดเลือกผู้ให้บริการการบำรุงรักษายานพาหนะโดยอาศัยเทคนิคฟัซซี่ เอเอชพี. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 24 (3), 127-141.
ปริฉัตร วงศ์ปัจฉิม. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกทำเลที่ตั้งตามความคิดเห็นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตขนาดกลางในจังหวัดหนองคาย.วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7 (2), 10-18.
ปราโมทย์ ลือนาม. (2556). การจัดลำดับความสำคัญของเกณฑ์ด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี: แนวความคิดและการประยุกต์, วารสารการจัดการสมัยใหม่, 11 (1), 1-12.
ปิยะ รนต์ละออง. (2556). ระบบการตัดสินใจคัดเลือกสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.
วรพจน์ พันธุ์คง, ธรินี มณีศรี และชวลิต มณีศรี. (2560). การประยุกต์ใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นสำหรับการประเมินทำเลที่ตั้งโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวมวล. วิศวสารลาดกระบัง, 34 (2), 37-43.
สิทธิพร พิมพ์สกุล. (2551). การประยุกต์ใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์สำหรับการเลือกทำเลที่ตั้งโรงงาน. บัณฑิตวิทยาลัย, วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก.
Saaty, T.L. (1980). The Analytic Hierarchy Process. New York: McGraw-Hill.