การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สะท้อนอัตลักษณ์ เครื่องปั้นดินเผาบ้านเตาไห จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
การออกแบบผลิตภัณฑ์, เครื่องปั้นดินเผาบ้านเตาไห, ของที่ระลึก, อัตลักษณ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านเตาไหจังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สะท้อนอัตลักษณ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านเตาไห จังหวัดพิษณุโลก 3) เพื่อประเมินแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่พัฒนาขึ้น ผลการวิจัยพบว่า
1) อัตลักษณ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านเตาไห คือ เนื้อแกร่งมีส่วนผสมของกรวด และทรายเนื้อเป็นสีเทา สีน้ำตาล หรือสีน้ำตาลดำ ตกแต่งผลิตภัณฑ์เป็นรูปทรงเรขาคณิตด้วยการกดประทับลาย การขูดขีดให้เกิดลาย การใช้ลูกกลิ้งกดลาย และการตกแต่งด้วยการปั้นแปะลายขดนูนต่ำรูปตัว “อุ” ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านเตาไหมีความโดดเด่นมากที่สุด และเคลือบผิวผลิตภัณฑ์เป็นสีน้ำตาลเข้มไปจนถึงสีดำ 2) การออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ของที่ระลึกโดยใช้แนวคิดในการออกแบบจากรูปร่างรูปทรงของเครื่องปั้นดินเผาบ้านเตาไห และการตกแต่งลวดลายขดนูนต่ำรูปตัว “อุ” มีผลการออกแบบ จำนวน 6 แบบ 3) ผลการประเมินออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ของที่ระลึก ทั้ง 6 แบบ
มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.65-4.00 ซึ่งรูปแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ของที่ระลึกที่ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก เรียงตามลำดับคะแนน ได้แก่ แบบD (X =4.00) แบบA (x =3.91) และ แบบC (x =3.84)
References
กฤตยชญ์ คำมิ่ง และคนึงนิต ปทุมมาเกสร. (2561). การศึกษาและพัฒนาลวดลายเครื่องปั้นดินเผามอญภาคกลางเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(3), 54-64.
โชติ บดีรัฐ. (2561). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านเตาไห อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 12(2), 388-408
ประมวล โตสวัสดิ์, และมณี ใจแน่, (2550). การจัดการความรู้ : กรณีศึกษาชุมชนตาปะขาวหาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
รจนา จันทราสา. (2560). การศึกษามรดกวัฒนธรรมกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาเครื่องปั้นดินเผาเตาแม่น้ำน้อย สิงห์บุรี. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.
วิมลิน สันตจิต, และอรรถพร ฤทธิเกิด. (2562). การศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมมโนราห์เพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบเครื่องประดับ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18(2), 127-139.
สนิท ปิ่นสกุล. (2546). การศึกษาเนื้อดินและพัฒนาน้ำเคลือบเพื่อผลิตเครื่องปั้นดินเผา : กรณีศึกษาเครื่องปั้นดินเผาวัดตาปะขาวหาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
สิงหา ปรารมภ์, และนิรัช สุดสังข์. (2555). การออกแบบของที่ระลึกโดยใช้อัตลักษณ์เครื่องแต่งกายของชุมชนไทลื้อ บ้านหนองบัว อําเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2(2), 25-34
สุรพินโญ พลาพล. (2543). การอนุรักษ์และการสืบสานวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาวัดตาปะขาวหาย อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
สุวิทย์ อินทิพย์. (2555). การพัฒนางานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาในเอกลักษณ์ของชุมชนมอญปากเกร็ดสำหรับเป็นผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 5(2), 89-101.