การออกแบบและพัฒนารถขนส่งวัสดุอัตโนมัติราคาถูก สำหรับขนส่งวัสดุระหว่างกระบวนการผลิต

ผู้แต่ง

  • นพรุจ เขียวนาค มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ
  • สมมาตร พรหมพุฒ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ

คำสำคัญ:

รถขนส่งวัสดุอัตโนมัติ, อาดุยโน่, เซ็นเซอร์, สเต็ปปิ้งมอเตอร์, แอพพลิเคชั่น

บทคัดย่อ

กระบวนการผลิตในประเทศไทยส่วนใหญ่พบว่าเป็นลักษณะแยกกระบวนการออกเป็นแบบย่อยๆ จะมีการขนส่งวัสดุอุปกรณ์จากต่ำแหน่งเริ่มต้นไปยังตำแหน่งต่อไป โดยในบทความนี้ได้นำเสนอการออกแบบและพัฒนารถขนส่งอัตโนมัติราคาถูกสำหรับการใช้งานขนส่งวัสดุในกระบวนการผลิตของแต่ละกระบวนการ ขนาดภาระโหลดไม่เกิน 10 กิโลกรัม และได้ออกแบบจากชุดต้นกำลังที่เป็นของสเต็ปปิ้งมอเตอร์ โดยใช้อาร์ดุยโน่พร้อมกับเซ็นเซอร์ควบคุมการทำงานของรถขนส่งวัสดุในโรงงานวิ่งตามเส้นและสามารถควบคุมผ่านแอพพลิเคชั่นด้วยบอร์ด NodeMCU พบว่าสเต็ปปิ้งมอเตอร์ที่เลือกใช้มีแรงเพียงพอกับการรับแรงของตัวรถในการเคลื่อนที่โดยใช้แอพพลิเคชั่นในการสั่งให้รถวิ่งจากจุดออกรถไปลากจูงกระบะทุกด้วยความเร็ว 1.344 กิโลเมตร/ชั่วโมง รถสามารถวิ่งส่งวัสดุ ในบริเวณที่กำหนดได้ตรงจุด เมื่อมีผู้เรียกใช้ผ่านแอพพลิเคชั่น ระหว่างทางหากมีคนหรือสิ่งกีดขวางแนวทางการเดินของรถ รถจะหยุดหากนำสิ่งที่ขวางทางออกรถจะสามารถวิ่งต่อไปได้

References

จักรพันธุ์ สุริยกุล ณ อยุธยา. (2555). การศึกษาผลกระทบของปัจจัยในการใช้งาน AGV ต่อประสิทธิภาพของระบบการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

นิพนธ์ เรืองวิริยะนันท์, และมานะ ทะนะอ้น. (2554). การขนส่งวัสดุในโรงงาน. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 6(2), 44-51.

พงศ์เทพ ดวงมาศ. (2550). การพัฒนาระบบควบคุมอัจฉริยะสําหรับเอจีวี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.

พสิษฐ์ ทองเต็ม, ธงชัย สมแสวง, วุฒิชัย อุดม, นพรุจ เขียวนาค, และ ทัศพันธุ์ สุวรรณทัต. (2561). รถขนส่งสื่อสารทุกสรรพสิ่ง. การประชุมวิชาการ งานวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์ ครั้งที่ 10,

- 489

รติพล จันทร์แพง. (2559). การจัดผังการผลิตด้วยเทคโนโลยีกลุ่มสำหรับโรงงานผลิตเครื่องมือแพทย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

รัตติยา รายณะสุข, และชุมพล ยวงใย. (2555). การปรับปรุงกระบวนการผลิตของโรงงานประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์. ในการประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ. 685-692.

ลีลาวดี. (2560). ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ. ค้นจากhttp://leelawadee076.blogspot.com/2017/06/blog-post_15.html

สรรเพชญ พนัสบดี. (2554). แนวโน้มของระบบการผลิตในอนาคต. วารสารนักบริหาร. 31(4), 197-201.

สรายุทธ นาขมิ้น, และณิชนันทน์ ขาวมงคล. (2560). พาหนะขนส่งเคลื่อนที่อัตโนมัติด้วยระบบขับเคลื่อนแบบล้อแมคคานั่ม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

อภิชาติ พันธ์ชัย. (2551). การควบคุมรถเอจีวีด้วยกล้องไร้สาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.

อลงกรณ์ เมืองไหว และขวัญนิธิ คําเมือง. (2560). การจัดเซลล์การผลิตแบบเซลลูลาร์โดยการกําหนดพนักงานในการทํางานด้วยวิธีเมตาฮิวริสติกส์. Rajabhat Journal of Sciences, Humanities & Social Sciences, 18(1), 72-82.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29

How to Cite

[1]
เขียวนาค น. และ พรหมพุฒ ส., “การออกแบบและพัฒนารถขนส่งวัสดุอัตโนมัติราคาถูก สำหรับขนส่งวัสดุระหว่างกระบวนการผลิต”, PSRU JITE, ปี 4, ฉบับที่ 1, น. 92–106, เม.ย. 2022.