ปั๊มน้ำความร้อนด้วยกำลังไอน้ำ

ผู้แต่ง

  • จิรวัฒน์ สิตรานนท์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • กิตติศักดิ์ วิธินันทกิตต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • ศรีมา แจ้คำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • กรณัฏฐ์ นาคภิบาล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • เอกภูมิ บุญธรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชภัฎพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การหล่อเย็นด้วยน้ำโดยตรง, ประสิทธิภาพปั๊มน้ำ, ปั๊มน้ำความร้อน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาหลักการทำงานของระบบปั๊มน้ำความร้อนด้วยกำลังไอน้ำ การใช้แหล่งพลังงานความร้อนในแบบต่างๆ การศึกษาระดับความสูง ปริมาณและอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น ปริมาณอากาศภายในระบบที่ส่งผลกระทบต่อการขับดันและการสูบน้ำ จากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่าการใช้กำลังไอน้ำขับดันและสูบน้ำเป็นแนวทางในการเพิ่มความสามารถในการปั๊มน้ำ โดยการอาศัยกำลังไอน้ำที่ผลิตได้ขับดันน้ำและการระบายความร้อนด้าวยน้ำหล่อเย็น การลดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นและเพิ่มปริมาณน้ำหล่อเย็น รวมถึงการหล่อเย็นด้วยน้ำโดยตรงจะส่งผลให้ระบบสามารถสูบน้ำได้ที่ระดับความลึกมากขึ้นได้ เนื่องจากการทำให้อุณหภูมิภายในถังสูบน้ำลดลงอย่างรวดเร็วจนเกิดการควบแน่นเป็นความดันสุญญากาศ ดังนั้นเมื่ออุณหภูมิภายในถังลดลง ความดันสัมบูรณ์ก็จะลดลงตาม ระบบจึงสูบน้ำที่ระดับความสูงมากขึ้น สัดส่วนปริมาณอากาศภายในระบบสามารถเพิ่มความดันในการขับดันน้ำได้ แต่หลังจากการขับดันน้ำเสร็จสิ้นแล้วจะต้องขับดันอากาศภายในระบบออกพร้อมกับการระบายไอน้ำ เพื่อทำให้ระบบมีความดันใกล้เคียงกับความดันบรรยากาศ เนื่องจากอากาศยุบตัวได้ยากจึงเป็นอุปสรรคในการควบแน่น ดังนั้นระบบจะต้องเริ่มเติมปริมาณอากาศใหม่ทุกรอบการทำงาน ในส่วนของประสิทธิภาพปั๊มน้ำจะขึ้นอยู่กับพลังงานที่ป้อนเข้าสู่ระบบและปริมาณน้ำที่สูบได้กับระดับความสูงรวมในการปั๊มน้ำ ดังนั้นการลดอุณหภูมิภายในถังสูบน้ำในจังหวะการหล่อเย็นจะเพิ่มความดันสุญญากาศทำให้ระบบสูบน้ำได้ในระดับความลึกที่สูงขึ้น และแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพปั๊มน้ำจากการลดการสูญเสียพลังงานที่ป้อนเข้าระบบสามารถทำได้โดยการเพิ่มจำนวนรอบในการทำงานให้ได้มากกว่าหนึ่งรอบ และการเพิ่มปริมาณน้ำที่สูบได้ต่อรอบด้วยวิธีการเพิ่มขนาดถังสูบน้ำ เมื่อระบบสามารถสูบน้ำได้ในระดับความสูงที่เพิ่มขึ้นประสิทธิภาพปั๊มก็จะสูงขึ้นตาม

References

เกรียงไกร เฉลิมธำรงค์, พิชัย นามประกาย, และนริส ประทินทอง. (2556) ปั๊มสูบน้ำด้วยกำลังไอน้ำ

โดยการนำความร้อนเหลือทิ้งมาใช้. ในการประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 10, มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์, นครปฐม.

จิรวัฒน์ สิตรานนท์, กิตติวุฒิ ศุทธิวิโรจน์, และณัฐพล รุ่นประแสง. (2563). แบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับการศึกษาระดับความสูงในการสูบน้ำของระบบสูบน้ำความร้อนด้วยกำลังไอน้ำแบบต่อเนื่อง. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(3), 89-100.

ฉัตรชัย อุ่นวิเศษ, จิรวัฒน์ สิตรานนท์, และกิตติวุฒิ ศุทธิวิโรจน์. (2564). การศึกษาอุณหภูมิและปริมาณน้ำหล่อเย็นที่สงผลต่อความดันสุญญากาศของปั๊มสูบน้ำด้วยกำลังไอน้ำ. วารสารวิชาการพลังงานทดแทนสู่ชุมชน, 4(3), 107-120.

ภาณุศักดิ์ มูลศรี, ปองพล รักการงาน, ชลีดล อินยาศรี, และกังสดาล สกุลพงษ์มาลี. (2558, พฤศจิกายน). เครื่องสูบน้ำพลังงานความร้อนจากถ่านไม้สำหรับชุมชน. ในการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

ยศสวิน กายนันท์. (2543). การหมุนเวียนน้ำโดยใช้พลังงานความร้อน. รายงานปัญหาพิเศษประกาศนียบัตรบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีอุณหภาพ, คณะพลังงานและวัสดุ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, (บทที่ 1 และ 2).

Al-Haddad, A.A., Enaya, E., & Fahim, M.A. (1996). Performance of a thermodynamic. Applied Thermal Engineering, 16(4), 321-334.

Beni G.D., & Friesen R. (1985). Passive downward heat transport experimental results of a technical unit. Solar Energy, 34(2), 127-134.

Das, D., & Gopal, M.R. (2004). Studies on a metal hydride based solar water pump. Interational Jounal of Hydrogen Energy, 29, 103-112.

El-Mallah, A.A., & Mohamad, M.A. (1989). Development of solar energy operated Water pumping system. Proceeding of the International Solar Energy Society Japan, 3, 2025-2029.

Jenness, J. R., Jr. (1961). Some consideration relative to a solar power savery water pump. Solar Energy, 5(2), 58-60.

Liengjindathaworn, S., Kirtikara, K., Namprakai, P., & Kiatsiriroat, T. (2002). Parametric studies of a pulsating-steam water pump. International Journal of Ambient Energy, 23(1), 37-46.

Markides, C.N., & T.C.B. Smith, T.C.B. (2011). A dynamic model for the efficiency optimization of an oscillatory low grade heat engine. Energy, 36(12), 6967-6980.

Picken, D.J., Seare, K.D.R., & Goto, F. (1997). Design and development of water Piston solar powered steam pump. Solar Energy, 61(3), 219-224.

Rao, D. P., & Rao, K. S. (1976). Solar water pump for liff irrigation. Solar Enersy, 18(5), 405-411.

Seldon, J. W., Crane, R.A., & Kranc, S. C. (1976). Pumping action from heat-driven Oscillations in a liquid-vapour column. Journal of Physics D: Applied Physics, 9(10), 1419-1425.

Sitranon, J., Lertsatitthanakorn, C., Namprakai, P., Namprakai, N., Suparos, T., & Roonprasang, N. (2014). Parametric consideration of a thermal water pump and application for agriculture. Journal of Solar Energy Engineering (ASME), 137(3), 03100601-12.

Sitranon, J., Lertsatitthanakorn, C., Namprakai, P., Namprakai, N., Suparos, T., & Roonprasang, N. (2014). Performance enhancement of solar water heater with a thermal water pump. Journal of Energy Engineering (ASCE), 141(4), 0401403601-10.

Sutthivirode, K., Namprakai, P., & Roonprasang, N. (2009). A new version of a solar water heating system coupled with a solar water pump. Applied Energy, 86(9), 1423-1430.

Wong, Y.W., & Sumathy, K. (2001). Performance of a solar water pump with ethyl-ether as working fluid. Renewable Energy, 22(1-3), 389-394.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-25

How to Cite

[1]
สิตรานนท์ จ., วิธินันทกิตต์ ก. ., แจ้คำ ศ. ., นาคภิบาล ก., และ บุญธรรม เ. ., “ปั๊มน้ำความร้อนด้วยกำลังไอน้ำ”, PSRU JITE, ปี 4, ฉบับที่ 1, น. 32–59, เม.ย. 2022.