การเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตและต้นทุนโลจิสติกส์ของการปลูกผักสลัดแบบไฮโดรโปนิกส์และอินทรีย์ในแต่ละฤดูกาล ของจังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • อาสาฬห์ อุตตาลกาญจนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

คำสำคัญ:

การปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์, การกรองผ่านต่ำ, รังสี อินฟราเรดย่านไกล, ต้นทุนฐานกิจกรรม, กิจกรรมโลจิสติกส์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและต้นทุนโลจิสติกส์ของการปลูกผักสลัดแบบไฮโดรโปนิกส์และอินทรีย์ ในจังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้การวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรมเข้ามาช่วยวิเคราะห์ต้นทุนในแต่ละกิจกรรมของการปลูกผักสลัด เพื่อหาแนวทางการลดต้นทุนของการปลูกผักสลัดทั้ง 2 วิธี ให้สามารถแข่งขันกับตลาดอื่นได้ มีการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบเจาะจง เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ประกอบการธุรกิจปลูกผักสลัดแบบไฮโดรโปนิกส์และอินทรีย์ พร้อมทั้งลูกจ้าง จำนวน 10 คน พบว่า ต้นทุนรวมการปลูกผักสลัดทั้งหมด ต้นทุนการผลิต และต้นทุนโลจิสติกส์ของการปลูกผักสลัดแบบไฮโดรโปนิกส์มีค่าสูงกว่าแบบอินทรีย์ ต้นทุนรวมทั้งหมดของการปลูกผักสลัดแบบไฮโดรโปนิกส์และอินทรีย์ในฤดูร้อน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด เท่ากับ 128 บาทต่อกิโลกรัม และ 75-178 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ และผู้ประกอบการไฮโดรโปนิกส์ 2 ได้มีการสูญเสียผักสลัดทั้งหมด เนื่องจากสภาพอากาศและน้ำที่ร้อนจัด จึงต้องยกเลิกการผลิตในฤดูร้อน มีต้นทุนต่ำสุดในฤดูหนาว เท่ากับ 68-69 บาทต่อกิโลกรัม และ 35-53 บาทต่อกิโลกรัม ต้นทุนการผลิตมีร้อยละสัดส่วนสูงกว่าต้นทุนโลจิสติกส์ มีผลมาจากค่าจ้างแรงงานที่สูง คิดเป็นร้อยละ 70 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด และกิจกรรมโลจิสติกส์ที่มีต้นทุนสูงที่สุด คือ การขนส่ง คิดเป็นร้อยละ 60 ของต้นทุนโลจิสติกส์ทั้งหมด ดังนั้น แนวทางในการลดต้นทุนการผลิตและต้นทุนโลจิสติกส์ คือ การเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่การเพาะปลูก และการบริหารจัดการผลิตและโลจิสติกส์ที่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมของธุรกิจนั้น ๆ และฤดูกาลเพาะปลูกด้วย

References

กรมอุตุนิยมวิทยา. (2565). ฤดูกาลของประเทศไทย. หนังสืออุตุนิยมวิทยา. ค้นจาก https://www.tmd.go.th

กุลบัณฑิต แสงดี, วิญญู ปรอยกระโทก, สุภาวดี สายสนิท, เฉลียว บุตรวงษ์, และรัฐยา พรหมหิตาทร. (2558). แนวทางการลดต้นทุนโลจิสติกส์ในการผลิตหัวมันสำปะหลังสด กรณีศึกษาชุมชนบ้านหนองกก ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(3), 213-225.

คริษฐ์สพล หนูพรหม. (2558). การผลิตผักอินทรีย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 23(6) (พิเศษ), 955-969.

จักรพันธ์ ปิ่นทอง, วิภานันท์ เอียประเสริฐ, และสุรีพร มีหอม. (2564). การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและต้นทุนโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง ในเขตภาคตะวันออกด้วยวิธีต้นทุนฐานกิจกรรม. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 10(1), 32-38.

ชวิศา ตงศิริ. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกผักเกษตรอินทรีย์ ปลอดสาร และใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี.

ณัฐภร เจริญชีวะกุล, แสงจันทร์ กันตะบุตร, และพรวศิน ศิริสวัสดิ์. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนโลจิสติกส์ในโซ่อุปทานของโรงงานผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดและโรงงานผลิตน้ำแร่บรรจุขวด. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 10(1), 66-92.

ณัฐวุฒิ คำสอน, ชัยยศ สัมฤทธิ์สกุล, กุลชญา แว่นแก้ว, และจิรายุ หาญตระกูล. (2562). การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมโลจิสติกส์ของกิจการการผลิตและจำหน่ายอิฐบล็อก ในอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. การประชุมเชิงวิชาการระดับชาติด้านบริหารธุรกิจ ครั้งที่6, มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่, 728-735.

ณัฐิกา สุทธิประสิทธ์ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). การวิเคราะห์ต้นทุนและความอ่อนไหวของธุรกิจการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(2), 1627-1638.

เธียรชัย พันธ์คง, จตุรภัทร จันทร์ทิตย์, และแก้วคณิต สุวรรณอ่อน. (2558). การวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทน และประสิทธิภาพการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ ในตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(13), 63-70.

บุญฑวรรณ วิงวอน, ชัยยุทธ เลิศพาชิน, และขจรศักดิ์ วงศ์วิราช. (2554). การจัดการห่วงโซ่อุปทานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผักปลอดสารพิษของอําเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. การประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ แม่โจ้–แพร่วิจัย ครั้งที่ 2, 533-540.

บุรัสกร โตรัตน์. (2564). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกผักอินทรีย์ของเกษตรกรรายย่อย กรณีศึกษาเครือข่ายเกษตรกรตําบลท่าตําหนัก อําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 10(2), 59-71.

บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปะศาสตร์ปริทัศน์, 13(25), 103-118.

ภารดี นึกชอบ, กุลบัณฑิต แสงดี, วิญญู ปรอยกระโทก, เฉลียว บุตรวงษ์, ดวงมณี ชักนำ, ศิริพร จิระชัยประสิทธิ์, และโกสินทร์ แสงสวงค์. (2560). การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและต้นทุนโลจิสติกส์ของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผักหวานป่าที่ได้รับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช จังหวัดสระบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(3), 249-261.

สกุลรัตน์ ธรรมแสง. (2556). การบริหารธุรกิจผักไฮโดรโปนิกส์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและการ

พัฒนาเชิงอุตสาหกรรม. วารสารวิจัย มข. มส. (บศ.), 1(1), 54-63.

สายฝน คงประเวศ, และระพี กาญจนะ. (2555). การทบทวนวรรณกรรมการวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์ด้วยวิธีต้นทุนตามฐานกิจกรรม. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ, 2168-2176.

อรพรรณ ศรีแสง, รวิพิมพ์ ฉวีสสุข, ระวี สุวรรณเดโชไชย, และพรธิภา องค์คุณารักษ์. (2553). การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและต้นทุนโลจิสติกส์ของการเลี้ยงกุ้งขาวในประเทศไทย. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48: สาขาอุตสาหกรรมเกษตร, กรุงเทพมหานคร, 18-26.

อาสาฬห์ อุตตาลกาญจนา, และสถิตเทพ สังข์ทอง. (2562). การจัดการธุรกิจผักสลัดแบบไฮโดรโปนิกส์ที่ปลูกนอกเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์. การประชุมเชิงวิชาการระดับชาติด้านบริหารธุรกิจ ครั้งที่6, มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่, 846-857.

อาสาฬห์ อุตตาลกาญจนา, และสถิตเทพ สังข์ทอง. (2562). การจัดการโลจิสติกส์ของผักสลัดแบบไฮโดรโปนิกส์ที่ปลูกนอกเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์. การประชุมเชิงวิชาการระดับชาติด้านบริหารธุรกิจ ครั้งที่6, มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่, 858-867.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29

How to Cite

[1]
อุตตาลกาญจนา อ., “การเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตและต้นทุนโลจิสติกส์ของการปลูกผักสลัดแบบไฮโดรโปนิกส์และอินทรีย์ในแต่ละฤดูกาล ของจังหวัดนครสวรรค์”, PSRU JITE, ปี 4, ฉบับที่ 1, น. 74–91, เม.ย. 2022.