การประยุกต์ใช้การจำลองสถานการณ์จราจรสำหรับการวิเคราะห์ การจัดการจราจรบริเวณสถานีรถไฟกรุงเทพ

ผู้แต่ง

  • ใกล้รุ่ง พรอนันต์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • มัลลิกา สีฟอง มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • เจษฎา โพธิ์จันทร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ศิริกาญจน์ จันทร์สมบัติ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ระดับการให้บริการ, การวิเคราะห์ผลกระทบการจราจร, แบบจำลองความต้องการในการเดินทาง

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการศึกษาผลกระทบการจัดการจราจรกรณีปรับเปลี่ยนผังพื้นที่ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพ เนื่องจากสถานีรถไฟกรุงเทพจะถูกลดบทบาทการเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง แต่จะยังคงไว้ซึ่งร่องรอยประวัติศาสตร์ของการรถไฟไทย โดยการศึกษาครั้งนี้ได้นำแนวคิดการออกแบบผังพื้นที่ทั้ง 3 รูปแบบมาใช้ในการจำลองสถานการณ์ด้านการจราจร ซึ่งทำการประเมินด้วยแบบจำลองความต้องการการเดินทางที่พัฒนาโดยใช้โปรแกรม CUBE voyager เพื่อประเมินประสิทธิภาพและศักยภาพของโครงข่ายถนนรูปแบบต่าง ๆ ในการรองรับสภาพการจราจรที่จะเกิดขึ้นหลังจากการปรับเปลี่ยนผังพื้นที่ของสถานีรถไฟกรุงเทพ ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการจัดการจราจรในแต่ละรูปแบบแบบนั้นให้ประสิทธิภาพการจราจรที่แตกต่างกัน ซึ่งรูปแบบทางเลือกที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ได้แก่ การจัดการจราจรภายในสถานีรถไฟกรุงเทพตามการออกแบบผังพื้นที่รูปแบบที่ 2 ประกอบไปด้วยการจัดการจราจรทั้งในรูปแบบการเดินรถ 1 ทิศทาง และการเดินรถ 2 ทิศทาง ซึ่งขนาดของช่องจราจรของถนนโครงข่ายบริเวณสถานีรถไฟกรุงเทพกรณีนี้จะมีขนาด 2 ช่องจราจรทั้งหมด โดยผลการวิเคราะห์ระดับการให้บริการของถนนโครงข่ายภายในพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพส่วนใหญ่อยู่ในระดับ A สภาพอิสระ (Free flow) รองลงมาอยู่ในระดับ B สภาพอยูตัว (Stable flow) และสัดส่วนโครงข่ายถนนส่วนน้อยที่สุดอยู่ในระดับการให้บริการ C ยังอยู่ในสภาพอยู่ตัว (Stable flow) โดยรวมการเคลื่อนที่ของยานพาหนะสะดวก และผู้ขับขี่สามารถเลือกใช้ความเร็วที่ค่อนข้างอิสระ และปริมาณจราจรน้อยในเกือบทุกช่วงโครงข่ายถนน

References

กมลพรรณ พยับ (2557). การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัด Layout กรณีศึกษา บริษัทพลาสติก AAA อันดัสตรี จำกัด, มหาวิทยาลัยหอการค้า. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.

การรถไฟแห่งประเทศไทย. (2563). รายงานข้อมูลปริมาณผู้โดยสารและปริมาณสินค้า โครงการการศึกษาและบริหารจัดการการเดินรถทั้งระบบตามพื้นที่โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง).

กิตติพงศ์ ชัยกิตติภรณ์ และ อุบลวรรณา ภวกานันท์ (2559). "การพัฒนาการให้บริการรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.)." การพัฒนาการให้บริการรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) 14(1): 155-180.

ธิป ศรีสกุลไชยรัก และคณะ (2563). โครงการวิจัยย่อยที่ 1 การศึกษาคุณค่าเชิงอัตลักษณ์ และความต้องการทางสังคมในการอนุรักษ์พัฒนาสถานีรถไฟหัวลำโพง.

เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก และคณะ (2564). การศึกษาเพื่อวางกรอบในการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง).

วิรัช หิรัญ. (2558). วิศวกรรมจราจร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานนโยบาย แผน วิจัยและพัฒนาแผนวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (2563). แผนวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2560 -2564 ประจำปีงบประมาณ 2563.

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (2553). "โครงการศึกษาปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล."

สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร (2552). แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 12 ปี (พ.ศ. 2552-2563) กรุงเทพฯ มหานครแห่งความน่าอยู่อย่างยั่งยืน, บริาท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด.

สุรเมศวร์พิริยะวัฒน์. บทที่5 ระบบขนส่งสาธารณะ (Public Transportation). หนังสือประกอบการ เรียน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

อนาวิล เวชธนากร และกฤตพร ห้าวเจริญ. (2565). การพัฒนาพื้นที่ย่านหัวลำโพง กรุงเทพมหานคร. วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 12(1), 1-19.

Pignataro, L. J., Cantilli, E. J., Falcocchio, J. C., Crowley, K. W., McShane, W. R., Roess, R. P., & Lee, B. (1973). Traffic engineering: theory and practice.

Wolshon, B., & Pande, A. (2016). Traffic engineering handbook. John Wiley & Sons

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-09

How to Cite

[1]
พรอนันต์ ใ., สีฟอง ม., โพธิ์จันทร์ เ., และ จันทร์สมบัติ ศ. ., “การประยุกต์ใช้การจำลองสถานการณ์จราจรสำหรับการวิเคราะห์ การจัดการจราจรบริเวณสถานีรถไฟกรุงเทพ ”, PSRU JITE, ปี 4, ฉบับที่ 2, น. 138–155, ก.ย. 2022.