การปรับปรุงการจัดการโลจิสติกส์ในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยด้วยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยจังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ธัญญาภรณ์ ธูปทิมเทียน มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ปุริม ศรีสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ใกล้รุ่ง พรอนันต์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การจัดการโลจิสติกส์เพื่อบรรเทาทุกข์, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, พื้นที่เสี่ยงอุทกภัย

บทคัดย่อ

จังหวัดพิษณุโลกประสบปัญหาอุทกภัยเกือบทุกปี ดังนั้นการวางแผนและการบริหารจัดการสำหรับเหตุอุทกภัยจึงมีความสำคัญ ในปัจจุบันการกระบวนการในการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยยังคงมีความล่าช้า เนื่องจากอุปสรรคในการเข้าถึงพื้นที่ของหน่วยงานช่วยเหลือขณะเกิดเหตุอุทกภัย และยังขาดระบบการประเมินพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระบบการจัดการและการเตรียมความพร้อมสำหรับการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในปัจจุบันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อสร้างแบบจำลองในการพยากรณ์สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัดพิษณุโลกด้วยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) โดยการสร้างแบบจำลองสถานการณ์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยได้กำหนดระดับน้ำออกเป็น 6 ระดับ ได้แก่ ระดับ 0.5, 1, 1.5, 2, 2.5 และ 3 เมตร ซึ่งการทราบถึงบริเวณของพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยที่เกิดขึ้นจากระดับน้ำแต่ละระดับจะเป็นประโยชน์ต่อการแจ้งเตือนสถานการณ์อุทกภัยบนพื้นฐานของระยะทาง และระยะเวลาในการเข้าถึงพื้นที่เสี่ยงภัยของหน่วยงานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ผลจากการประเมินสถานการณ์พื้นที่เสี่ยงภัยในจังหวัดพิษณุโลก และระยะทางของหน่วยงานช่วยเหลือต่าง ๆ พบว่า ขอบเขตการให้บริการในการเข้าถึงพื้นที่เพื่อช่วยเหลือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ที่เกิดเหตุ ดังนั้นการศึกษานี้จึงได้เสนอการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือและประเมินสถานการณ์อุทกภัยเบื้องต้น ทั้งหมด 6 แห่ง ในบริเวณอำเภอบางกระทุ่ม อำเภอบางระกำ และอำเภอพรหมพิราม นอกจากนี้แบบจำลองสถานการณ์ยังจะช่วยให้กระบวนการวางแผนในการเข้าช่วยเหลือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

คมสันต์ โสมณวตัร. (2559). ระบบการจัดการโลจิสติกส์เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอทุกภัย กรณีศึกษา อำเภอวารินชำราบ จังหวัด อบุลราชธานี. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 7(1), 164-172.

ปุณยนุช รุธิรโก, พัชรินทร์ เสริมการดี, จิตนพา วุ่นบัว, เพ็ญประไพ ภู่ทอง และนัฐพงษ์ พวงแก้ว,. (2558, มิถุนายน). การจัดทำประมวลภาพจำลองสามมิติและภาพจำลองเหตุการณ์เกิดอุทกภัยในแต่ละระดับในพื้นที่เทศบาลเมืองสะเดา ตำบาลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติครั้งที่ 6, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.

พรชัย เอกศิริพงษ์, และสุเพชร จิรขจรกุล. (2557). การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์ พื้นที่เสี่ยงภัยน้าท่วมในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. Thai Journal of Science and Technology, 3(3), 148-159. Doi: 10.14456/tjst.2014.9

วิศรุต ช่วยจันทร์, (2560). การพัฒนาแบบจำลองระบบหลายตัวแทนเพื่อการประเมินนโยบายกระจายสินค้าและโลจิสติกส์ในเขตเมือง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

วีรชัย อู๋สมบูรณ์,. (2561). การศึกษาพัฒนาการด้านโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรมในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สุพิชฌาย์ ธนารุณ และจินตนา อมรสงวนสิน. (2553). การประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการกำหนดพื้นที่อุทกภัยจังหวัดอ่างทอง. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 6(2), 19-34.

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิษณุโลก. (2563). แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. 2558 (ฉบับปรับปรุง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563).

อดิศัย วรรธนะภูติ, (2562). การรับรู้ด้านโลจิสติกส์และการเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติของประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Veridian E-Journal Humanities, Social Sciences and arts, 12(1), 1369-1390.

Díaz-Delgado, C., & Iniestra, J. G. (2014). Flood Risk Assessment in Humanitarian Logistics Process Design. Journal of Applied Research and Technology, 12, 976-984. Doi: 0.1016/S1665-6423(14)70604-2

Kovács, G., Jahre, M., & Spens, K. M. (2007). Humanitarian logistics in disaster relief operations. International Journal of Physical Distribution & Logistics Management, 37(2), 99-114. Doi: 10.1108/09600030710734820

Overstreet, R. E., Hall, D., Hanna, J. B., & Kelly Rainer, R. (2011). Research in humanitarian logistics. Journal of Humanitarian Logistics and Supply Chain Management, 1(2), 114-131. Doi: 10.1108/20426741111158421

Pérez-Morales, A., Gomariz-Castillo, F., & Pardo-Zaragoza, P. (2019). Vulnerability of Transport Networks to Multi-Scenario Flooding and Optimum Location of Emergency Management Centers. Water, 11(6), 1-19. Doi: 10.3390/w11061197

Waghwala, R. K., & Agnihotri, P. G. (2019). Flood risk assessment and resilience strategies for flood risk management: A case study of Surat City. International Journal of Disaster Risk Reduction, 40, 101155. Doi: 10.1016/j.ijdrr.2019.101155

Wu, Z., Shen, Y., Wang, H., & Wu, M. (2020). Urban flood disaster risk evaluation based on ontology and Bayesian Network. Journal of Hydrology, 583, 124596. Doi: 10.1016/j.jhydrol.2020.124596

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-13

How to Cite

[1]
ธูปทิมเทียน ธ. ., ศรีสวัสดิ์ ป. ., และ พรอนันต์ ใ., “การปรับปรุงการจัดการโลจิสติกส์ในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยด้วยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยจังหวัดพิษณุโลก”, PSRU JITE, ปี 4, ฉบับที่ 2, น. 171–186, ก.ย. 2022.