การวิเคราะห์ปัจจัยที่ใช้ในการพัฒนาทักษะของพนักงานขับรถบรรทุกในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • อภิชาต บัวกล้า มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ชัยวัฒน์ แสงศรีจันทร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • นันทพล มหาวัน มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ชูพงศ์ อุ่นนันท์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • เจษฎา โพธิ์จันทร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ปัจจัยของพนักงานขับรถบรรทุก, ทักษะของพนักงานขับรถบรรทุก, กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น, เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยและค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยที่ใช้ในการพัฒนาทักษะของพนักงานขับรถบรรทุกในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ด้วยกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้นที่ทำการประเมินโดยหน่วยงานราชการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ประกอบการขนส่งที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 แห่งในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยกระบวนการดำเนินงานประกอบด้วย 6 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1) การทบทวนวรรณกรรม และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2) การคัดเลือกปัจจัยจากทักษะที่ได้ 3) การเปรียบเทียบความสำคัญของปัจจัย 4) การวิเคราะห์โดยอาศัยวิธีการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น 5) การจัดลำดับความสำคัญของปัจจัย และ 6) การสรุปผลและเสนอแนะ โดยผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ใช้ในการพัฒนาทักษะของพนักงานขับรถบรรทุกในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ประกอบด้วย 15 ปัจจัยย่อย ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มปัจจัยหลัก (กลุ่มละ 5 ปัจจัยย่อย) ได้แก่ 1) ทักษะพื้นฐาน 2) ทักษะหลัก และ 3) ทักษะเสริม โดยมีค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัย เท่ากับ 45.6% 33.2% และ 21.2% ตามลำดับ ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐและเอกชนสามารถนำปัจจัยที่ได้ไปใช้ในการวางแผนหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะของพนักงานขับรถบรรทุกให้สามารถรองรับระบบโลจิสติกส์ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กรมการขนส่งทางบก. (2552). โครงการพัฒนาศักยภาพการขนส่งด้วยรถบรรทุกเพื่อรองรับการพัฒนาโลจิสติกส์ ปี 2552. (รายงานฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: กรมการขนส่งทางบก.

กรมการขนส่งทางบก. (2560). คู่มือการอบรมหลักสูตรการอบรมด้านความปลอดภัยในการขนส่งสำหรับพนักงานขับรถขนส่ง. ค้นจาก https://www.dlt.go.th/site/ltsb/m-news/

/view.php?_did=10098

ณัฐ นิวาตานนท์. (2561). การพัฒนาทักษะพนักงานขับรถ. ค้นจาก http://www.dgtrans.co.th/

contentdetail.php?content_id=139

ปกรณ์ ตระการวชิรหัตถ์, สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์, และอุบลวรรณา ภวกานันท์. (2557). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการขาดแคลนพนักงานขับรถบรรทุกในระดับอุตสาหกรรมและระดับธุรกิจ. วารสารการจัดการ, 3(2), 11-30.

ภูมิพิทักษ์ ศิลปะศร, ภัทรวรรธน์ จีรพัฒน์ธนธร, และสุชาวดี เกษมณี. (2559). แนวทางการพัฒนาพนักงานขับรถบรรทุกขนส่งสินค้าในโรงเรียนทักษะพิพัฒน์ เพื่อยกระดับมาตรฐานอาชีพ. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 31(1), 112-122.

มารดารัตน์ สุขสง่า. (2554). ขีดความสามารถหลักที่พึงประสงค์ในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรขององค์กรชั้นนำในประเทศไทย กรณีศึกษา บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน). (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วิชญะ น้อยมาลา (2564). ทักษะจำเป็นของการทำงานในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 3(1), 45-57.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ). (2561). แผนปฏิบัติการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. ค้นจาก https://www.eeco.or.th/th/infrastructure-development-action-plan/contact-eec

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ). (2564). อีอีซี โมเดล

การพัฒนาทักษะบุคลากร. ค้นจาก https://www.eeco.or.th/th/filedownload/2932 /2419bf66812ae3a02bb71dc79b226d32.pdf

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2558). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ฉบับราชบัณฑิตย

สถาน (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

Basaran, B., & Keven, M. (2015). An Analytic Hierarchy Process Application for

The Best Driver Selection in Universities. Challenges of the Knowledge Society, , 730-738. Retrieved from https://www.proquest.com/scholarly-journals/analytic-hierarchy-process-application-best/docview/1698605427/se-2

Delhomme, P., & Alexandra, G. (2021). Perceived stress, mental health, organizational factors, and self-reported risky driving behaviors among truck drivers circulating in France. Journal of Safety Research, 79, 341-351. Doi: 10.1016/j.jsr.2021.10.001

Kivett, D. (2016). Clarity of View: An Analytic Hierarchy Process (AHP)-Based Multi-Factor Evaluation Framework for Driver Awareness Systems in Heavy Vehicles. Retrieved from https://tigerprints.clemson.edu/all_dissertations/

LeMay, S., & Keller, S.B. (2019). Fifty years inside the minds of truck drivers. International Journal of Physical Distribution & Logistics Management, 49(2), 626-643. Doi: 10.1108/IJPDLM-03-2018-0123

Saaty, T.L. (2008). Decision Making with The Analytic Hierarchy Process. International Journal of Services Sciences, 1(1), 83-98.

Saaty, T.L. (1980). The Analytic Hierarchy Process: Planning, Priority Setting, Resource Allocation. New York: McGraw-Hill.

Smidt, M., Mitchell, D., & Logan, K. (2021). The Potential for Effective Training of Logging Truck Drivers. Journal of Agricultural Safety and Health, 27(1), 29-41.

Doi: 10.13031/jash.14084

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30

How to Cite

[1]
บัวกล้า อ., แสงศรีจันทร์ ช., มหาวัน น. ., อุ่นนันท์ ช. ., และ โพธิ์จันทร์ เ., “การวิเคราะห์ปัจจัยที่ใช้ในการพัฒนาทักษะของพนักงานขับรถบรรทุกในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก”, PSRU JITE, ปี 4, ฉบับที่ 3, น. 337–353, ธ.ค. 2022.