ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการกินไฟและความเร็วรอบที่เหมาะสมสำหรับอุปกรณ์คัดแยกมะขามแบบสายพานลำเลียงและการพัฒนา

ผู้แต่ง

  • ธเนศ อ้อมนอก มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • เอื้อบุญ ที่พึ่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • นิวัตร พัฒนะ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ธาราทิพย์ ศรีสัตตบุตร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

สายพานลำเลียง, มะขาม, คัดแยก

บทคัดย่อ

จากการศึกษาปัญหาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกี่ยวกับการคัดแยกขนาดมะขามหวานพบว่าการคัดแยกฝักมะขามในปัจจุบันจะใช้แรงงานคนในการคัดแยกซึ่งปริมาณการคัดแยกฝักมะขามต่อคนจะคัดแยกได้ประมาณ 80 กิโลกรัม/ชั่วโมง ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการมะขามในตลาด ประกอบกับการคัดแยกต่อครั้งต้องใช้แรงงานถึง 5 คน ซึ่งมีอัตราจ้างต่อคน 300 บาทต่อวันทำให้มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ดังนั้นจึงทำการคิดค้นเครื่องคัดแยกขนาดมะขามหวานแบบสายพานลำเลียง โดยอาศัยหลักการปรับความเร็วของสายพานลำเลียงเพื่อควบคุมความเร็วในการเคลื่อนที่ของฝักมะขามให้พอดีกับกำลังคนที่คัดแยกมะขาม โดยเครื่องคัดแยกดังกล่าวจะทำการคัดมะขามตกเกรดออกไป ให้เหลือเพียงมะขามที่สมบูรณ์ลำเลียงไปตามสายพานเพื่อให้แรงงานสามารถคัดแยกได้สะดวก และรวดเร็วมากขึ้นซึ่งจะสามารถเพิ่มปริมาณผลผลิต ลดแรงงานคนคัดแยกฝักมะขามได้ โดยงานวิจัยนี้ทำการพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์คัดแยกขนาดมะขามหวานแบบสายพานลำเลียง สำหรับสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มดวงทองตำบลห้วยโป่ง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยระบบสายพานลำเลียงสามารถรองรับน้ำหนักได้สูงสุด 150 กิโลกรัม ความเร็วรอบสายพานสามารถปรับได้ 9 ระดับและความเร็วรอบที่เหมาะสมในการคัดคือระดับที่ 4  ด้วยความเร็ว 40 วินาทีต่อ 1 รอบ (40 rpm) สามารถคัดแยกมะขามได้ถึง100 กิโลกรัมต่อชั่วโมง สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน มีความแม่นยำในการคัดแยก 100 % และระยะคืนทุนที่ 46 เดือน โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้งานได้แก่เกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน คนในพื้นที่ นักศึกษา พ่อค้ารับซื้อ ผู้ประกอบการแปรรูปและผู้ส่งออก

References

บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน). (28 สิงหาคม 2562) “เค.ซี. ฟู้ดฯ เพชรบูรณ์ เบอร์ 1 ส่งออก มะขามหวาน 40 ประเทศ”. [ออนไลน์]. ค้นจาก https://www.prachachat.net/local-economy/news-365273 (13 กุมภาพันธ์ 2564)

กันต์ อินทุวงศ์. (2563). การจัดการเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วมมะขามในเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจบ้านเสี้ยว ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของคนในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบและยั่งยืน. (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, อุตรดิตถ์.

ธรรม์ณชาติ วันแต่ง. (2560, มกราคม). การออกแบบและสร้างเครื่องคัดแยกขนาดละมุดแบบเพลาหมุนวางคู่. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 55, กรุงเทพฯ. DOI: 10.14457/KU.res.2017.127

สมพร ประยงค์ทรัพย์. (2558). การพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องคัดแยกขนาดเมล็ดข้าวสาร สำหรับชุมชน. วารสารวิทยาสาสตร์ คชสาส์น, 37(2), 73-88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-31

How to Cite

[1]
อ้อมนอก ธ., ที่พึ่ง เ., พัฒนะ น., และ ศรีสัตตบุตร ธ. ., “ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการกินไฟและความเร็วรอบที่เหมาะสมสำหรับอุปกรณ์คัดแยกมะขามแบบสายพานลำเลียงและการพัฒนา”, PSRU JITE, ปี 5, ฉบับที่ 1, น. 1–10, ม.ค. 2023.