การเลือกทำเลที่ตั้งของศูนย์กระจายสินค้าด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อเชื่อมโยงรถไฟลาว-จีน (บ่อเต็น – เวียงจันทน์): กรณีศึกษาบริษัทขนส่ง XYZ

ผู้แต่ง

  • ภัทรวดี ประสมทรัพย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ศิริกาญจน์ จันทร์สมบัติ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ศูนย์กระจายสินค้า, การเลือกทำเลที่ตั้ง, แบบจำลองทางคณิตศาสตร์, รถไฟลาว-จีน

บทคัดย่อ

รถไฟลาว-จีน ได้ถูกสร้างขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 และได้เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งนี้ได้ก่อให้เกิดผลกระทบด้านเศรษฐกิจและการขนส่งของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย บริษัทโลจิสติกส์ XYZ ได้ให้บริการขนส่งพัสดุทั้งภายในและต่างประเทศ สำหรับการขนส่งพัสดุไปยังต่างประเทศได้ดำเนินการขนส่งผ่านทางอากาศโดยบริษัทขนส่งที่มีความร่วมมือระหว่างกัน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแบบจำลองกำหนดการทางคณิตศาสตร์เพื่อสนับสนุนการเลือกตำแหน่งทำเลที่ตั้งของศูนย์กระจายสินค้า โดยมีบริษัทโลจิสติกส์ XYZ เป็นกรณีศึกษา รูปแบบการดำเนินการเป็นการขนส่งจากต้นทางภายในประเทศไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ด้วยการใช้รถไฟลาว-จีน แบบจำลองจำนวนเต็มแบบผสมได้ถูกนำเสนอขึ้นเพื่อหาต้นทุนรวมที่ต่ำที่สุด ซึ่งประกอบด้วยต้นทุนการขนส่ง ค่าธรรมเนียมการขนส่งสินค้าข้ามแดน และต้นทุนการดำเนินงาน โปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กเซลโซลเวอร์ถูกประยุกต์ใช้เพื่อหาค่าคำตอบที่เหมาะสมที่สุด ผลลัพธ์แสดงว่า จังหวัดอุดรธานีเป็นตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดในการจัดตั้งเป็นศูนย์กระจายสินค้า ที่สามารถช่วยลดต้นทุนการขนส่งทางอากาศและตอบสนองต่อความต้องการในการกระจายสินค้าได้ อีกทั้งมีการวิเคราะห์ความไวเพื่อทำให้ทราบถึงผลกระทบของค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรทราบค่าต่าง ๆ ที่มีต่อผลลัพธ์ด้วย

References

กรมการขนส่งทางบก. (2559). โครงการศึกษาต้นทุนการขนส่งและกระจายสินค้าเพื่อรองรับการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าทั่วประเทศ. ค้นจาก http://www.thaitruckcenter.com

ปรุฬห์ มะยะเฉี่ยว. (2014). การแก้ปัญหาการเลือกสถานที่ตั้ง. Princess of Naradhiwas University Journal, 6(1), 132-145.

ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน. (2556). สะพานข้ามโขงแห่งใหม่: ความหวังที่จะเป็นประตูเชื่อมการค้าอาเซียน-จีนตอนใต้. ค้นจาก https://thaibizchina.com/สะพานข้ามโขงแห่งใหม่-คว/

Shilong, L., Zhenlin, W., & Ailing, H. (2018). Location Selection of Urban Distribution Center with a Mathematical Modeling Approach based on the Total Cost. IEEE Access, 6(1), 61833-61842.

Sounthavong, V., & Satiennam, W. (2021). A Mode Choice Model for Cross-Border Transportation: A Case Study Between Vientiane Capital and Udonthani Province. KKU Research Journal, 21(2), 104-116.

Wichitphongsa, W., & Ponanan, K. (2022). A Development of Mode Choice Models for Modal Shift Potential Towards Intermodal Transportation: A Case Study of Vientiane - Boten Railway. ABAC Journal, 42(1), 222-236.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28

How to Cite

[1]
ประสมทรัพย์ ภ. . และ จันทร์สมบัติ ศ., “การเลือกทำเลที่ตั้งของศูนย์กระจายสินค้าด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อเชื่อมโยงรถไฟลาว-จีน (บ่อเต็น – เวียงจันทน์): กรณีศึกษาบริษัทขนส่ง XYZ”, PSRU JITE, ปี 4, ฉบับที่ 3, น. 319–336, ธ.ค. 2022.