การพัฒนาการแสดงผลแบบเรียลไทม์และระบบควบคุมสำหรับชิลเลอร์ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

ผู้แต่ง

  • ศศิธร พยัคฆ์ทอง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • สมเกียรติ หมายถมกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ
  • ณัฐพงศ์ แพน้อย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

คำสำคัญ:

อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง, ชิลเลอร์, การแสดงผล, ระบบควบคุม, เรียลไทม์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการตรวจสอบสถานะและระบบควบคุม
การทำงานของเครื่องทำความเย็นหรือชิลเลอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษาห้างหุ้นส่วนจำกัด ภานุวัฒน์ เอ็นจิเนียริ่ง เซอร์วิส โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งร่วมกับเครื่องควบคุมเชิงตรรกที่สามารถโปรแกรมได้หรือพีแอลซี ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมทำหน้าที่เป็น
ตัวควบคุมหลักในการควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ของระบบทำความเย็น ประกอบกับการใช้โปรแกรม 1tool ในการเขียนคำสั่งควบคุมพีแอลซี จากเดิมระบบควบคุมการทำงานของชิลเลอร์เป็นระบบควบคุมด้วยรีเลย์เพียงอย่างเดียว ทำให้ยากต่อการปรับเปลี่ยนการทำงานของระบบควบคุม ด้วยสาเหตุดังกล่าวคณะผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนาการทำงานของระบบทำความเย็นเป็น 2 ระบบ คือ (1) ระบบอัตโนมัติ และ (2) แบบสั่งการด้วยมือผ่านจอแสดงผลที่แผงควบคุม จากผลการดำเนินงานวิจัยพบว่า การตรวจสอบสถานะและควบคุมชิลเลอร์โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งสามารถทำงานเป็นไปตามขอบเขตที่กำหนด ซึ่งระบบควบคุมที่ออกแบบสามารถควบคุมการทำงานของชิลเลอร์ให้ทำงานได้ทั้งแบบอัตโนมัติและสั่งการด้วยมือผ่านจอแสดงผลที่แผงควบคุม อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบสถานะและควบคุมการทำงานได้แบบเรียลไทม์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์เชิงสถิติภายใต้การจำลองสถานการณ์การทำงานของระบบควบคุม พบว่าระบบควบคุมการทำงานของชิลเลอร์สามารถทำงานได้ถูกต้อง 100 เปอร์เซ็นต์ ทำให้สามารถนำข้อมูลมาประมวลผลและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

References

กรมอุตุนิยมวิทยา, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). ภูมิอากาศของประเทศไทย. ค้นจาก https://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=22

กาญจนา ดงสงคราม, สิทธิโชค พรรค์พิทักษ์, ปริญญา เปรมโต และธนาพล ตริสกุล. (2565). การพัฒนาระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งในโรงเรือนจำลอง กรณีศึกษา ลูกไก่ชนสายพันธุ์พม่า. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. 8(1), 103-116.

สมมาตร พรหมพุฒ, และนพรุจ เขียวนาค. (2565). การพัฒนาระบบควบคุมเครื่องกัดซีเอ็นซีขนาดเล็ก โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง.วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 4(1), 1-14.

อภิรักษ์ พันธุ์พณาสกุล, ฟิตรี ยะปา และอัลนิสฟาร์ เจะดือราแม. (2563). การพัฒนาระบบเปิด-ปิดไฟด้วยไมโครเซนเซอร์ควบคู่กับแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 11. 17 กรกฎาคม 2563, 994-1012.

Cengel, Boles, M. A., & Kanoglu, M. (2020). Thermodynamics : an engineering approach (9th ed. in SI unit). McGraw-Hill Education.

Chavda, D. N., & Arya, J. (2014). Design and Performance Analysis of Water Chiller – A Research. International Journal of Engineering Research and Applications, 6(4), 19-25.

Nord, J. H., Koohang, A., & Paliszkiewicz, J. (2019). The Internet of Things: Review and theoretical framework. Expert Systems with Applications, 133, 97-108.

Pang, L., Wang, C.-W., Lawford, M., & Wassyng, A. (2015). Formal verification of function blocks applied to IEC 61131-3. Science of Computer Programming, 113, 149-190.

Stoecker, W. F., & Jones, J. W. (1982). Refrigeration and Air Conditioning. McGraw-Hill.

Xu, L. D., Xu, E. L., & Li, L. (2018). Industry 4.0: state of the art and future trends. International Journal of Production Research, 56(8), 2941-2962.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-18

How to Cite

[1]
พยัคฆ์ทอง ศ. ., หมายถมกลาง ส., และ แพน้อย ณ., “การพัฒนาการแสดงผลแบบเรียลไทม์และระบบควบคุมสำหรับชิลเลอร์ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง”, PSRU JITE, ปี 5, ฉบับที่ 1, น. 11–29, ก.พ. 2023.