การพัฒนาเคลือบเซรามิกส์ที่มีเฟอร์ริกออกไซด์ ไทเทเนียมไดออกไซด์ และแบเรียมคาร์บอเนตเป็นสารเพิ่มเติม
คำสำคัญ:
เคลือบ, เซรามิกส์, สารเพิ่มเติม, เคลือบผลึกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเกิดสีของเคลือบ ทดสอบความสว่างและค่าสีของเคลือบเซรามิกส์ และเพื่อศึกษาลักษณะและความสมบูรณ์ของผิวเคลือบเซรามิกส์ ดำเนินการวิจัยโดยกำหนดเคลือบพื้นฐานที่มีไทเทเนียมไดออกไซด์ และแบเรียมคาร์บอเนตเป็นสารเพิ่มเติมแบบเจาะจงจากตารางคำนวณวัตถุดิบ 2 ชนิด จำนวน 7 สูตร และใช้เฟอร์ริกออกไซด์เป็นสารเพิ่มเติม ร้อยละ10 ร้อยละ 15 และ ร้อยละ 20 ทุกส่วนผสม เผาเคลือบที่อุณหภูมิ 1230 องศาเซลเซียส ในบรรยากาศแบบออกซิเดชั่น ผลการวิจัยพบว่า การเกิดสีของเคลือบ มี 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสีน้ำตาลมีจุดผลึก กลุ่มสีน้ำตาล กลุ่มสีน้ำตาลเข้ม และกลุ่มสีน้ำตาลเข้มมีผลึกขนาดเล็ก ความสว่างและค่าสีของเคลือบ มีค่า L* อยู่ระหว่าง +2.19 ถึง +30.56 มีค่าสี a* อยู่ระหว่าง -0.25 ถึง +7.30 ค่าสี b* อยู่ระหว่าง +4.76 ถึง +18.79 3. ลักษณะและความสมบูรณ์ของผิวเคลือบเซรามิกส์ มีความมันแวววาวทุกสูตรส่วนผสม โดยมีจุดผลึก จำนวน 6 สูตร และเกิดผลึกขนาดเล็ก จำนวน 5 สูตร มีค่าระดับความมันของผิวเคลือบ เฉลี่ยอยู่ที่ 47 GU และผิวเคลือบมีความสมบูรณ์ทุกสูตรส่วนผสม เคลือบเซรามิกส์ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย หินฟันม้า ร้อยละ 45 โดโลไมท์ ร้อยละ 10 แคลเซียมคาร์บอเนต ร้อยละ 13 ดินขาว ร้อยละ 7 และ หินเขี้ยวหนุมาน ร้อยละ 25 โดยใช้สารเพิ่มเติม ได้แก่ ไทเทเนียมไดออกไซด์ ร้อยละ 1 ถึง ร้อยละ 10 แบเรียมคาร์บอเนต ร้อยละ 1 ถึง ร้อยละ 10 และเฟอร์ริกออกไซด์ ร้อยละ 10 ถึง ร้อยละ 20
References
ธมลวัฒน์ หิรัญชาติอนันต์. (2565). การพัฒนาสูตรเคลือบดอกซากุระโดยใช้นิเกิลออกไซด์เป็นสารให้สี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 2(2), 23-31.
ปราโมทย์ ปิ่นสกุล. (2552). การทำน้ำเคลือบเซรามิกส์จากเศษผงปูนปลาสเตอร์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 4(1), 63-71.
ปรีดา พิมพ์ขาวขำ. (2547). เซรามิกส์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรชัย ปานทุ่ง. (2558). การพัฒนาน้ำเคลือบเซรามิกส์จากเนื้อดินพื้นบ้าน. วารสารวิจัย
สหวิทยาการไทย, 10(3), 38-44.
ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2546). สีเซรามิกส์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2547). รวมสูตรเคลือบเซรามิกส์ (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สมบูรณ์ อรัณยภาค. (2553). หลักการทำเคลือบเซรามิก. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์.
สมศักดิ์ ชวาลาวัณย์. 2549. เซรามิกส์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สุขุมาล เล็กสวัสดิ์. (2548). เครื่องปั้นดินเผาพื้นฐานการออกแบบและปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.