การศึกษาศักยภาพชีวมวลเหลือทิ้งทางการเกษตรในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • นิชาภา รัศมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • จิรวัฒน์ สิตรานนท์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • กมลวรรณ จิตรจักร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • ศรีมา แจ้คำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

คำสำคัญ:

ชีวมวล, พลังงานชีวมวล, พืชเศรษฐกิจ, ชีวมวล, พืชเศรษฐกิจ, ส่วนเหลือทิ้งทางการเกษตร

บทคัดย่อ

การศึกษาศักยภาพชีวมวลเหลือทิ้งทางการเกษตรในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปริมาณและศึกษาศักยภาพพลังงานชีวมวลเหลือทิ้งทางการเกษตรในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรีทั้ง 11 อำเภอ ซึ่งผู้วิจัยได้ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการได้มาของข้อมูลการสำรวจ และปริมาณชีวมวลเหลือทิ้งทางการเกษตรแต่ละชนิด โดยเลือกพืชเศรษฐกิจที่มีการเพาะปลูกสูงสุด 5 ชนิดแรกในแต่ละอำเภอ จากสัมภาษณ์และแลกเปลี่ยนข้อมูลเกษตรกรรายใหญ่จำนวน 30 คนต่อชนิดพืช การลงพื้นที่สำรวจเพิ่มเติมจะดำเนินการโดยการเข้าร่วมการจัดประชุมของเกษตรอำเภอและเกษตรจังหวัดที่ได้มีการจัดขึ้น พบว่า เมื่อจำแนกปริมาณส่วนเหลือทิ้งทางการเกษตรสูงสุด 10 อันดับ จะพบชีวมวลที่มีปริมาณเหลือทิ้งสูงสุดคือ ยอดและใบอ้อย และ ชีวมวลที่มีปริมาณเหลือทิ้งอันดับสุดท้ายคือกะลามะพร้าว จะเห็นว่าพืชแต่ละชนิดมีปริมาณชีวมวลเหลือทิ้งทางการเกษตรไม่เท่ากัน ซึ่งการวิเคราะห์ค่าพลังงานความร้อนต่ำ พบว่าค่าความชื้นของชีวมวลเหลือทิ้งทางการเกษตรถือเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่มีผลต่อกระบวนการแปลงชีวมวลเป็นพลังงานความร้อน เมื่อชีวมวลใดมีค่าความชื้นมากยิ่งทำให้ชีวมวลนั้นมีค่าความร้อนต่ำ ดังนั้นความชื้นเริ่มต้นของชีวมวลเหลือทิ้งทางการเกษตรจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกชนิดของชีวมวลกลับมาใช้ประโยชน์ จะเห็นได้ว่าจังหวัดชลบุรีมีสัดส่วนการใช้พื้นที่เพาะปลูกยางพารามากที่สุด ทำให้มีชีวมวลเหลือทิ้งจากการเพาะปลูกมากตามไปด้วย ทั้งนี้ค่าความร้อนของใบยางพาราให้ค่าความร้อนสูงถึง 4,310 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม และกิ่งก้านยางพารา ให้ค่าความร้อนสูงถึง 3,910 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม ดังนั้นการนำชีวมวลจากยางพารามาใช้ประโยชน์ทางด้านความร้อนจึงเป็นแนวทางด้านการบริหารจัดการพลังงานภายในจังหวัดชลบุรี

References

ไกวัล กล้าแข็ง. (2551). คู่มือนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรมันสำปะหลัง (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการเกษตร.

จิรวัตน์ เทอดพิทักษ์พงษ์, รณยุทธ สัตยานิคม, พรทิพย์ เกตุมา, และคณะ. (2551). คู่มือการจัดการไร่อ้อยอย่างยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย

ติณณภพ สันทัดค้า และมาลี สันติคุณาภรณ์. (2661). การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้วด้วยโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ภายใต้คลื่นไมโครเวฟ. วารสารวิทยาศาสตร์ละเทคโนโลยี, 26(6), 1042-1047.

ธีระพงศ์ จันทรนิยม. (2562). คู่มือเกษตรกรการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 4). สงขลา: ห้างหุ้นส่วนสามัญ หาดใหญ่ ดิจิตอล พริ้นท์.

นิติพงศ์ ปานกลาง, สมชาย เบียนสูงเนิน และ บุญยัง ปลั่งกลาง. (ม.ป.ป.). ไบโอดีเซล พลังงานจากน้ำมันพืชใช้แล้ว. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ราชมงคลธัญบุรี, 5(10), 82-86.

นพดล โพชกำเหนิด, สมบูรณ์ ประสงค์จันทร์ และณิชา ประสงค์จันทร์. (2563). ศักยภาพในการผลิตแก๊สชีวภาพจากของเสียอินทรีย์จากอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม จากแหล่งเทศบาลเมืองเขารูปช้าง โดยใช้การหมักแบบกะ. วารสารวิจัย UTK ราชมงคล กรุงเทพ, 14(2), 106-127.

พุฒิชาติ คิดหาทาง, วีรินทร์ หวังจิรนิรันทร์ และอัจฉริยา สุริยะวงศ์. (2557). การศึกษาศักยภาพเชิงพื้นที่ของชีวมวลสำหรับผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย, วารสารวิจัยพลังงาน, 11(1), 63-75.

ภัทราณี นาคคงคำ, พิสิษฏ์ มณีโชติ และศิรินุช จินดารักษ์. (2558). การศึกษาศักยภาพชีวมวลในพื้นที่ตำบลข่อยสูง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์, การประชุมสัมนาวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทยครั้งที่8 สถานที่จัดประชุม,139-142.

วัชรากร ใจตรง และมนตรี วงค์ศิริวิทยา. (2561). ผลการเผาไหม้ชีวมวลโดยตรงในเตาเผาเชื้อเพลิงระบบหัวเผาจากการอัดอากาศ ของพัดลมหอยโข่ง, วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 21(3)191-198.

วิทิตยา รักษ์ศร, ณัฐกานต์ แก้วยานะ และพฤกษ์ อักกะรังสี. (2561). การพัฒนาการผลิตก๊าซมีเทน จากน้ำเสียอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังโดยการเติมโลหะไอออน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Thai Science and Technology Journal (TSTJ), 28(4),706-716.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2563). สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2563. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2564, จาก http://www.oae.go.th /download/document_tendency/journalofecon2558.pdf

อาทิตยา ปาปะไพ, พรธิดา บุญทา, เมทินี เสาสมภพ และชัชญาภา เกตุวงศ์. (2563). การผลิตเอทานอลจากการหมัก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 31-41.

Pattaraanong, K., Warunee, T., Adisak, N., & Somchart, S. (2021). Assessment of seasonal Availability and Spatial Distribution of Bio-feedstock for Power Generation in Thailand, BioEnergy Research, 70-90. Doi: 10.1007/s12155-020-10168-x

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-08

How to Cite

[1]
รัศมี น., สิตรานนท์ จ., จิตรจักร ก., และ แจ้คำ ศ. ., “การศึกษาศักยภาพชีวมวลเหลือทิ้งทางการเกษตรในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี”, PSRU JITE, ปี 5, ฉบับที่ 1, น. 59–72, เม.ย. 2023.