การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบไม้กวาดดอกหญ้า บ้านร้องส้มมวง ตำบลชัยนาม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ปรารถนา ศิริสานต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ฐิติมา ขุนอินทร์ -
  • ประกฤษฏิ์ นวลเป้า -

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ, อัตลักษณ์, ไม้กวาดดอกหญ้า

บทคัดย่อ

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เพื่อสร้างอัตลักษณ์กลุ่มไม้กวาดดอกหญ้าบ้านร้องส้มมวง ตำบลชัยนาม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยประการที่ 1 เพื่อพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ และตราสัญลักษณ์กลุ่มไม้กวาดดอกหญ้าบ้านร้องส้มมวง ตำบลชัยนาม อำเภอ   วังทอง จังหวัดพิษณุโลก ประการที่ 2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กลุ่มไม้กวาดดอกหญ้าบ้านร้องส้มมวง ตำบลชัยนาม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยโดยการเก็บข้อมูลด้วยการสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์และแจกแบบสอบถาม แบ่งขั้นตอนการดำเนินการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 คือการพัฒนาตราสัญลักษณ์ และผลิตภัณฑ์ต้นแบบของกลุ่มไม้กวาดดอกหญ้า ผู้วิจัยทำการออกแบบไม้กวาดดอกหญ้ารูปแบบใหม่ ให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย และจำหน่ายง่าย ใช้แนวคิดในการออกแบบ คือ รูปแบบใหม่มีขนาดเล็กโดยมีการย้อมสีดอกหญ้าจากสีธรรมชาติ ออกแบบให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น โดยคำนึงถึงกระบวนการผลิตที่สามารถผลิตได้ และใช้เวลาไม่มากนัก และขั้นตอนสุดท้าย คือ การประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์ ผลการศึกษาความพึงพอใจการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เพื่อสร้างอัตลักษณ์กลุ่มไม้กวาดดอกหญ้า พบว่า รูปแบบและสีสันของผลิตภัณฑ์ไม้กวาดดอกหญ้า มีความเหมาะสม และมีความสวยงาม โดยแสดงความพึงพอใจโดยรวมตามลำดับ ดังนี้ รูปแบบที่ 1 แสดงความพึงพอใจ ( = 4.50) อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก รูปแบบที่ 3 แสดงความพึงพอใจ( = 4.35) อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก และรูปแบบที่ 2 แสดงความพึงพอใจ ( = 4.10) อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ สามารถผลิตได้เป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ และเป็นเอกลักษณ์สำหรับกลุ่มไม้กวาดดอกหญ้าบ้านร้องส้มมวง ตำบลชัยนาม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

References

ธีระชัย สุขสด. (2544). การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์

นงนุช นทีพายัพทิศ. (2545). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวแต๋น อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ปลูกเกษม ชูตระกูล. (2550). การออกแบบกราฟิกในแบบฉบับเอกลักษณ์ท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ สำหรับบรรจุภัณฑ์ส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์, และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัย= Research methodology. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.

สุภางค์ จันทวานิช. (2533). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ.

สุมาลี ทองรุ่งโรจน์. (2555). การออกแบบบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ: วาดศิลป์.

อุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2550). การออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรม ตราสินค้า และบรรจุภัณฑ์เพื่อ

สิ่งแวดล้อมสำหรับชุมชนในเขตภาคกลาง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-28

How to Cite

[1]
ศิริสานต์ ป., ขุนอินทร์ ฐ., และ นวลเป้า ป., “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบไม้กวาดดอกหญ้า บ้านร้องส้มมวง ตำบลชัยนาม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก”, PSRU JITE, ปี 5, ฉบับที่ 2, น. 178–191, ก.ค. 2023.