การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการวางแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน: กรณีศึกษาเครื่องตัดแผ่นมู่ลี่ ของบริษัทชาร์ปพ้อยท์ จำกัด

ผู้แต่ง

  • ฤดี นิยมรัตน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ฉันทนา คำหอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ศิริวรรณ ภูศรีฤทธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

แผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน, ประสิทธิภาพการผลิต, ประสิทธิภาพของเครื่องจักร, ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร, ความสูญเสียจากเครื่องจักร

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของเครื่องตัดแผ่นมู่ลี่ของบริษัทชาร์ปพ้อยท์ จำกัด ด้วยการวางแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน ดำเนินงานวิจัยโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลการทำงานของเครื่องตัดแผ่นมู่ลี่อลูมิเนียมโดยใช้ใบตรวจสอบ นำมาวิเคราะห์หาประสิทธิภาพการผลิต ค้นหาสาเหตุของปัญหาการหยุดทำงานของเครื่องจักร ตั้งค่าเป้าหมายและวางแผนการบำรุงรักษา ก่อนนำสู่การปฏิบัติ และวัดประสิทธิภาพการผลิตจำนวน 3 ด้าน ได้แก่ (1) ประสิทธิภาพการบำรุงรักษาเครื่องจักร ประกอบด้วย เวลาของเครื่องจักรต่อเนื่องเฉลี่ย เวลาหยุดซ่อมเฉลี่ย และอัตราการเสีย (2) ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร ที่ประกอบด้วย อัตราการเดินเครื่อง ประสิทธิภาพการเดินเครื่อง และอัตราคุณภาพ และ (3) ความสูญเสียที่เกิดจากเครื่องจักรหยุดทำงาน ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการปฏิบัติตามแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกัน ได้แก่แผนการบำรุงรักษารายวันด้วยการตรวจสอบรายการก่อนทำงานและทำความสะอาดหลังทำงาน แผนบำรุงรักษารายสัปดาห์โดยการตรวจสอบและดำเนินงานด้านการหล่อลื่น และแผนบำรุงรักษารายหกเดือนด้วยการเปลี่ยนอะไหล่ ผลการดำเนินงานตามแผนพบว่าประสิทธิภาพการผลิตของเครื่องตัดแผ่นมู่ลี่อลูมิเนียมเพิ่มขึ้นทั้ง 3 ด้าน ได้แก่เครื่องจักรมีเวลาทำงานต่อเนื่องเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 3,227.50 นาที เวลาหยุดซ่อมเฉลี่ยลดลง 7.5 นาที และอัตราการเสียลดลงเหลือร้อยละ 0.000 เครื่องจักรมีค่าประสิทธิผลโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.64 ที่มาจากการเพิ่มขึ้นของค่าอัตราการเดินเครื่องที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.72 ค่าประสิทธิภาพการเดินเครื่องเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.94 และค่าอัตราคุณภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.37 โดยมีความสูญเสียที่เกิดจากเครื่องจักรหยุดลดลง 1,437.33 บาทต่อเดือน จำแนกเป็นค่าแรงทางตรงลดลง 226.88 บาท และค่าเสียโอกาสลดลง 1,210.45 บาท

References

จตุรงค์ สันพลี, และปณัทพร เรืองเชิงชุม. (2565). การลดความสูญเสียที่เกิดจากการหยุดเดินเครื่องจักรโดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้าในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนเพลา ด้วยการวัดประสิทธิผลโดยรวม. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 33(2), 1-13.

บัณฑิต อินทรีย์มีศักดิ์, ภูมิ จาตุนินานนท์, และวรวุฒิ กังหัน. (2564). การบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกัน กรณีศึกษา: บริษัทผลิตเบาะรถยนต์. SAU Journal of Science & Technology, 7(1), 1-14.

ประเสริฐ บุญรอด, และประจวบ กล่อมจิตร. (2563). การเพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษากระบวนการพ่นสีฝุ่นในโรงงานผลิตผ้าเบรก. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี, 18(1), 1-12.

พงษ์ณัฐฐ์ สุทธิกุลสมบัติ, และปณัทพร เรืองเชิงชุม. (2563). การลดความสูญเสียจากเวลาหยุดเดินเครื่องจักรด้วยการปรับปรุงประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรและควบคุมอัตราความเร็วในกระบวนการพิมพ์แบบออฟเซ็ท. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(3), 143-156.

รังสรรค์ ไชยเชษฐ์, ประภากรณ์ แสงวิจิตร, และชฎาภรณ์ แสงตามี. (2563). การวางแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน กรณีศึกษา สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลางโพนยางคำ จำกัด. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ., 14(1), 79-89.

วินัย เวชวิทยาขลัง. (2555). ระบบบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: เอ็มแอนด์อี.

สมชาย เปรียงพรม, สุชาดี ธำรงสุข, และวรรณลภย์ อนันตเจริญโชติ. (2564). การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการวางแผนการบำรุงรักษา: กรณีศึกษาเครื่องจักรสายพานลำเลียงภายในห้องรับ-จ่ายวัตถุดิบ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 31(2), 201-215.

เสขสัน นาคพ่วง, ศักดิ์ชาย รักการ, และจีรวัฒน์ ปล้องใหม่. (2563). การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตเครื่องดื่มสมุนไพร. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 10(2), 131-147.

อนุศักดิ์ ฉินไพศาล. (2558). งานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน. กรุงเทพฯ: วีพริ้นท์ (1991).

อารดา โพธิ์อ่อน, และฤดี มาสุจันท์. (2562). การวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรเพื่อลดของเสียในกระบวนการผลิตสายไฟตัวนำทองแดง: กรณีศึกษาบริษัทผลิตสายไฟ. วิศวสารลาดกระบัง, 36(2), 1-8.

Kathy. (2005). Cost budgeting and control for maintenance. Efficient Plant (Digital Issues), 18(7). Retrieved from https://www.efficientplantmag.com/2005/09/cost-budgeting-and-control-for-maintenance/

Mobley, R.K. (1943). An introduction to predictive maintenance (2nd ed.). Woburn, MA: Elsevier Science.

Patel, K. (2021). Literature review on software reliable metrics. International Journal of Engineering Research & Technology (IJERT), 9(5), 407-410.

Six Sigma Free Training Site. (2018). Gemba, Gembutsu, Genjitsu-The 3G of Kaizen. Retrieved from https://www.sixsigmatrainingfree.com/six-sigma-blog/gemba-gembutsu-genjitsu

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-23

How to Cite

[1]
นิยมรัตน์ ฤ., คำหอม ฉ., และ ภูศรีฤทธิ์ ศ. ., “การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการวางแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน: กรณีศึกษาเครื่องตัดแผ่นมู่ลี่ ของบริษัทชาร์ปพ้อยท์ จำกัด”, PSRU JITE, ปี 5, ฉบับที่ 3, น. 281–297, ต.ค. 2023.