การศึกษามาตรการลดความเร็วบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 กรณีศึกษา แยกบ้านกร่าง – แยกอินโดจีน จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
มาตรการลดความเร็ว, พฤติกรรมการขับขี่, อุบัติเหตุทางถนน, ความปลอดภัยทางถนนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพมาตรการลดความเร็วยานพาหนะตามกฎหมายกำหนดบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ช่วงทางแยกบ้านกร่าง – แยกอินโดจีน จังหวัดพิษณุโลก ที่ควบคุมความเร็ว 80 กม./ชม. ผ่านตัวเมืองระยะทาง 14.5 กม. ผู้วิจัยคัดเลือกตำแหน่งการเก็บข้อมูล 4 จุด ได้แก่ จุดที่ 1 กม. 225 – กม. 228, จุดที่ 2 กม. 228 – กม. 233, จุดที่ 3 กม. 233 – กม. 237, และ จุดที่ 4 กม. 237 – กม. 240 โดยสัมพันธ์กับการกำหนดมาตรการลดความเร็ว 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) ป้ายเตือน 2) กล้องจับความเร็ว และ 3) เส้นชะลอความเร็วพร้อมสัญญาณเตือนยานพาหนะตำแหน่งละ 6 ชั่วโมง นอกชั่วโมงเร่งด่วน ผลที่ได้จากการศึกษา พบว่า ผู้ขับขี่ยานพาหนะส่วนใหญ่ใช้ความเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนดทั้งสองทิศทาง โดยทิศทาง A (แยกบ้านกร่าง – แยกอินโดจีน) ผู้ขับขี่ใช้ความเร็วที่ 85 เปอร์เซนไทล์เท่ากับ 85.3 กม./ชม., 79.4 กม./ชม., 86.2 กม./ชม., และ 85.1 กม./ชม. ตามลำดับ ส่วนทิศทาง B (แยกอินโดจีน – แยกบ้านกร่าง) เท่ากับ 89.5 กม./ชม., 80.0 กม./ชม., 86.5 กม./ชม., และ 85.2 กม./ชม. ตามลำดับ ซึ่งมีเพียงจุดที่ 2 รูปแบบกล้องจับความเร็วเท่านั้นที่ผู้ขับขี่ใช้ความเร็วตามกฎหมายกำหนด ผู้วิจัยจึงเสนอแนะให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนในการรับผิดชอบด้านความปลอดภัยทางถนนปรับปรุงรูปแบบมาตรการลดความเร็วบนถนนใหม่เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการเดินทางและทำให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติตามความเร็วที่จำกัดต่อไป
References
กรมการขนส่งทางบก. (2560). รายงานประจำปี 2560. กระทรงคมนาคม, กรุงเทพฯ.
กรมทางหลวง (2548). คู่มือ การเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุบนทางหลวง เรื่อง วิศวกรรมจราจร. สำนักอำนวยความปลอดภัย, กรมทางหลวง, กรุงเทพฯ.
กรมทางหลวง. (2562). ปริมาณจราจรบนทางหลวง ปี 2562. สำนักอำนวยความปลอดภัย, กรมทางหลวง, กรุงเทพฯ.
ชุลีพร บุตรโคตร (2556). ไทยเดินหน้าเส้นทางคมนาคม – โลจิสติกส์ หวังเป็นศูนย์กลางโครงข่ายเชื่อมอาเซียน. ศูนย์ข่าว TCIJ. ค้นจาก https://www.tcijthai.com/new/2013/scoop.
ดลยฤทธิ์ เสฏฐสุวจะ, เจษฏา โพธิ์จันทร์, และวชิระ วิจิตรพงษา. (2559). การศึกษาความปลอดภัยทางถนนในเขตชุมชนเมือง กรณีศึกษาอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ศรีวนาลัยวิจัย, 6(1), 129-141.
บริษัทกลางผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด. (2563). ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุเพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน. ThaiRSC. ค้นจาก https://www.thairsc.com/thai-in-depth-data.
ระหัตร โรจน์ประดิษฐ์ (2563). ประเทศไทยกับการเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอินโดจีน. สุทธิปริทัศน์ (Journal of Business and Innovation: SJBI), 20(62), 54–58.
วัฒนวงศ์ รัตนวราห, และสราวุธ จริตงาม. (2554). วิศวกรรมขนส่ง. สงขลา: โรงพิมพ์ชานเมือง.
Austroads. (2002). Road Safety Audit Guide (2nd ed.). Australia: Austroads.
Marta, D., Smart, W., Dr Saffron, D., Hamilton, B., & Bhatnagar, Y. (2011). Road safety assessment methods: deciding which one to use. Paper presented at The 2011 Australasian Road Safety Research, Policing and Education Conference, Western, Australia.
Qureshi, I.A., & Lu, H. (2007). Urban Transport and Sustainable Transport Strategies: A Case Study of Karachi, Pakistan. Tsinghua Science and Technology, 12(3), 309–317.
Reason, J. (1990). Human Error. United Kingdom: Cambridge University Press.
Steg, L., and Robert, G. (2005). Sustainable Transportation and Quality of Life. Journal of Transport Geography, 13, 59-69.
Texas Department of Transportation. (2015). Procedures for Establishing Speed Zones. Traffic Operations Division, Traffic Engineering.
World Health Organization. (2012). Decade of Action for Road Safety 2011 – 2020. Geneva, Switzerland.
World Health Organization. (2015). Global status report on road safety 2015. Geneva, Switzerland.
World Health Organization. (2018). Global status report on road safety 2018. Geneva, Switzerland.