การสั่นสะเทือนภายใต้การหมุนไม่สมดุลกับค่าเหมาะสมตัวดูดซับด้วยวิธีกลุ่มอนุภาค

ผู้แต่ง

  • พุทธา จีนครัว มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ค่าที่เหมาะสมที่สุด, กลุ่มอนุภาค, การกรองผ่านต่ำ, การหมุนที่ไม่สมดุล

บทคัดย่อ

     บทความนี้นำเสนอการศึกษาการสั่นสะเทือนภายใต้การหมุนที่ไม่สมดุลโดยเปรียบเทียบระหว่างผลการทดลองและโมเดลทางคณิตศาสตร์ ตัวดูดซับการสั่นสะเทือนที่เหมาะสมที่สุดสามารถแก้ปัญหาโดยวิธีการหาค่าเหมาะสมที่สุดแบบกลุ่มอนุภาค ชุดทดสอบเป็นคานที่ปลายด้านหนึ่งยึดกับสลัก ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งติดตั้งมอเตอร์หมุนที่ไม่สมดุล ตัวสปริงและตัวหน่วง การวัดการสั่นสะเทือนดำเนินการโดยใช้หัววัดความเร่งโมดูล ADXL345 ที่ต่อกับบอร์ดอาดูโน่ชนิด MEGA 2560 R3 ประมวลผลและส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกผลเป็นข้อมูลโดเมนของเวลาและโดเมนความถี่ ผลการศึกษาพบว่าโมเดลทางคณิตศาสตร์ให้ค่าผลการตอบสนองการสั่นในรูปความเร่งที่ใกล้เคียงกับผลการทดลองเมื่อกำหนดค่าอัตราส่วนความหน่วงเป็น 0.1 ที่ความเร็วรอบมอเตอร์ 220 rpm การประยุกต์ใช้วิธีหาค่าเหมาะสมแบบกลุ่มอนุภาคมีประสิทธิภาพที่จะหาค่าตัวดูดซับการสั่นสะเทือนและเมื่อระบบประกอบด้วยตัวดูดซับการสั่นสะเทือนผลแสดงให้เห็นว่าแอมพลิจูดความเร่งของการสั่นที่มอเตอร์ไม่สมดุลลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

References

กิตติพงศ์ บุญโล่ง, และพุทธา จีนครัว. (2564, กรกฎาคม). การศึกษาเชิงทดลองโดเมนความถี่ของบอลแบริ่งภายใต้การทำงานที่ขาดสารหล่อลื่น. การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 35, จังหวัดนครปฐม.

กายรัฐ เจริญราษฎร์. (2558). การใช้วิธีการหาค่าเหมาะสมที่สุดแบบกลุ่มอนุภาคจัดการจารจรข้อมูลในเครือข่ายโอเอสพีเอฟ. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 11(1), 43-52.

นิธิโรจน์ พรสุวรรณเจริญ. (2561). วิธีการตรวจวัดการสั่นสะเทือนแบบพลวัตของพื้นผิวถนนยางมะตอยด้วยข้อมูลจากไมโครคอนโทรลเลอร์. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 28(1), 135-145.

พงษ์พันธุ์ ฤกษ์ขุมทรัพย์, และประเสริฐ ปราชญ์ประยูร. (2552). การพัฒนากลไกแยกแรงสั่นสะเทือนความถี่ต่ำต้นแบบด้วยสปริงลม. วิศวกรรมสาร ฉบับวิจัยและพัฒนา, 20(2), 40-44.

เมษัณฑ์ ปรมาธิกุล, ฐิติ มีโอภาสมงคล, บุญศักดิ์ หล่อพิพัฒน์, เฉลิม ชัยวัชราภรณ์ , และทศพร ยิ้มลมัย. (2563). ผลของตัวซับแรงต่อการสั่นที่บริเวณด้ามจับขณะตีลูกเทนนิส. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 64(3), 181-192.

ลัดนา เพิ่มพูน, และจักรพันธ์ ปิ่นทอง. (2562). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างอัลกอริทึมอาณานิคมผึ่งเทียมกับวิธีการหาค่าเหมาะสมที่สุดแบบกลุ่มอนุภาค. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 7(1), 33-46.

วีรพล ทองคุปต์, อุไร อภิชาตบันลือ, และบัณฑิต สุขสวัสดิ์. (2556). การสร้างชุดทดลองการสั่นสะเทือนอย่างง่าย. วารสารวิชาการและวิจัย, 7(2), 24-34.

สมศักดิ์ สิริโปราณานนท์. (2562). การวิเคราะห์ความเสียหายของตลับลูกปืนโดยการวัดการสั่นสะเทือน. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 9(1), 54-68.

สุรัตน์ ปัญญาแก้ว. (2557). การออกแบบและสร้างตัวดูดซับการสั่นสะเทือนแบบปรับค่าได้. วิศวกรรมสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร, 9(1), 25-30.

Holovatyy, A., Teslyuk, V., Iwaniec, M., & Mashevska, M. (2017). Development of A System for Monitoring vibration Accelerations based on The Raspberry PI Microcomputer and The ADXL345 Accelerometer. Eastern-European Journal of Enterprise Technologies, 90(1), 52-62.

Singiresu, S. RAO. (2011). Mechanical Vibration (5th ed.). Prentice Hall: Pearson Education.

Yang, X. S. (2010). Engineering Optimization An Introduction with Metaheuristic Applications. New Jersey: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-08

How to Cite

[1]
จีนครัว พ., “การสั่นสะเทือนภายใต้การหมุนไม่สมดุลกับค่าเหมาะสมตัวดูดซับด้วยวิธีกลุ่มอนุภาค”, PSRU JITE, ปี 5, ฉบับที่ 3, น. 328–346, ธ.ค. 2023.