ปัจจัยในการคัดเลือกซัพพลายเออร์สำหรับผู้รับจ้างผลิตอาหารเสริมของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ศุภาคนางค์ ยอดคำ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ณัฐพล ไพศาลวิโรจน์รักษ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • เจษฎา โพธิ์จันทร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การคัดเลือกซัพพลายเออร์, กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์, การวิเคราะห์แบบหลายหลักเกณฑ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสำคัญในการคัดเลือกซัพพลายเออร์วัตถุดิบสำหรับผู้รับจ้างผลิตอาหารเสริมในประเทศไทย และเพื่อวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของปัจจัยในการคัดเลือกซัพพลายเออร์วัตถุดิบที่เหมาะสม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มความสามารถการแข่งขันในอุตสาหกรรมอาหารเสริม โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (The analytic hierarchy process: AHP) ทำการเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 คน ในการคัดเลือกและประเมินค่าปัจจัยภายใต้โครงสร้างการวิเคราะห์จัดลำดับความสำคัญ และได้กำหนดเกณฑ์ปัจจัยในการคัดเลือกซัพพลายเออร์ทั้งหมด 5 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยด้านราคา ด้านคุณภาพ ด้านการขนส่ง ด้านการให้บริการ และด้านความน่าเชื่อถือผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญในการคัดเลือกซัพพลายเออร์วัตถุดิบอาหารเสริม มีค่าน้ำหนักความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านคุณภาพ (29.94%) รองลงมา ได้แก่ ปัจจัยด้านราคา (24.09%) ปัจจัยด้านการขนส่ง (20.18%) ปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือ (17.54%) และปัจจัยด้านการให้บริการ (8.25%) ตามลำดับ

References

ศราวุธ ไชยธงรัตน์. (2564). การประยุกต์ใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นในการคัดเลือกผู้ขาย

อย่างยั่งยืน กรณีศึกษา บริษัท เอบีซี. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 7(2),

-17.

วรพจน์ ศิริรักษ์. (2564). การคัดเลือกและการประเมินซัพพลายเออร์: การทบทวนและมุมมอง.

วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 6(1), 38-56.

บราลี เหมราสวัสดิ์. (2564). การวิเคราะห์แบบหลายหลักเกณฑ์สำหรับการคัดเลือกวิธีการในการปิด

พื้นที่บ่อเหมืองถ่านหินเก่าในพื้นที่กาลิมันตัน ตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย. Thai Journal

of Operations Research: TJOR, 9(1), 55-66.

วัชรีภรณ์ เสถียรนพเก้า. (2563). การกำหนดค่าน้ำหนักเกณฑสำหรับการคัดเลือกซัพพลายเออร์โดย

ใช้กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้นแบบคลุมเครือ: กรณีศึกษา ศูนย์กระจายสินค้าไก่แช่แข็ง

แห่งหนึ่งในภาคกลางตอนบนของประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์ ลาดกระบัง,

(1), 23-37.

ธัญญลักษณ์ มีแสง. (2561). การประยุกต์ใช้กระบวนการตัดสินใจลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ในการ

คัดเลือกผู้ส่งมอบ กรณีศึกษา โรงงานอุตสาหกรรมพัดลมโบลเวอร์และปั๊มน้ำ. วารสารธุรกิจ

ปริทัศน์, 8(2), 75-90.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-23

How to Cite

[1]
ยอดคำ ศ., ไพศาลวิโรจน์รักษ์ ณ., และ โพธิ์จันทร์ เ., “ปัจจัยในการคัดเลือกซัพพลายเออร์สำหรับผู้รับจ้างผลิตอาหารเสริมของประเทศไทย”, PSRU JITE, ปี 5, ฉบับที่ 2, น. 147–158, มิ.ย. 2023.