แบบจำลองการจัดการแบตเตอรี่ที่เหมาะสมต่อการจำหน่ายไฟฟ้าปลีก
คำสำคัญ:
ระบบการจัดการแบตเตอรี่, อัตราตามช่วงเวลาของการไฟฟ้า, ความมั่นคงด้านพลังงาน, เลื่อนเวลาการใช้ไฟฟ้า, ความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองการจัดการแบตเตอรี่ที่เหมาะสมต่อการจำหน่ายไฟฟ้าปลีกเนื่องจากปัญหาค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นทำให้ค่าไฟฟ้ามหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรสูงขึ้น ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาการจัดการพลังงานไฟฟ้าเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าด้วยการใช้โซล่าเซลล์ร่วมกับแบตเตอรี่ เพื่อประหยัดไฟฟ้าและขายไฟฟ้าปลีกได้ ทำการทดลองในห้องพักอาจารย์ สวนพลังงาน นำข้อมูลมาสร้างและออกแบบจำลองการจัดการแบตเตอรี่ที่เหมาะสมต่อการจำหน่ายไฟฟ้าปลีก ดำเนินการ ศึกษาความต้องการใช้ไฟฟ้าด้านโหลด ศึกษาความสามารถในการผลิตกำลังไฟฟ้าของ PV และศึกษาอัตราค่าไฟฟ้า TOU นำข้อมูลมาออกแบบจำลองการจัดการแบตเตอรี่ที่เหมาะสมต่อการจำหน่ายไฟฟ้าปลีกผู้วิจัยเรียกว่า TOUPVES model ผลการวิจัยพบว่า วันทำงานเสียค่าไฟฟ้าอัตรา TOU ปกติ วันละ 60.79 บาท เมื่อผ่านการจัดการด้วย TOUPVES model เสียค่าไฟฟ้าเพียงวัน 2.897 บาทและขายไฟฟ้าได้วันละ 39.951 บาท วันหยุด เสียค่าไฟฟ้าอัตรา TOU ปกติ วันละ 12.886 บาท เมื่อผ่านการจัดการด้วย TOUPVES model เสียค่าไฟฟ้าเพียงวัน 2.818 บาทและขายไฟฟ้าได้วันละ 52.751 บาท ต่อไปราคาแบตเตอรี่ในอนาคตมีแนวโน้มลดลงดังนั้น TOUPVES model จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่สามารถผลิตไฟฟ้ากักเก็บไฟฟ้าไว้ขายด้านหลักมิเตอร์ (Behind the meter: BTM) ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถผลิตและจำหน่าย (Prosumer) กำหนดราคาขายให้กับลูกค้าภาคครัวเรือนหรือระหว่างองค์กร เป็นการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้า (Demand side management, DSM) ช่วยประหยัดพลังงาน (Energy conservation: EC) และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Energy efficiency: EE) เป็นกระบวนการตอบสนองด้านโหลด (Demand response: DR) ได้เกิดประโยชน์สูงสุด
References
กระทรวงพลังงาน. (2555). การบริหารจัดการอาคารด้วยระบบ Building Automation System
(BAS) เพื่อการประหยัดพลังงาน. ค้นจากhttp://www.energysavingmedia.com/news/page.php
กระทรวงพลังงาน. (2557). Solar power. In the Encyclopedia of Alternative Energy. ค้นจาก https://ienergyguru.com/2015/02/พลังงานแสงอาทิตย์
กระทรวงพลังงาน. (2558). เป้าหมายของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ตกริดในช่วง 3 ระยะ. แผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ตกริดของประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579, 29-35.
กระทรวงพลังงาน. (2565). คู่มือโครงการพัฒนาแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสมารทกริดของประเทศไทย ระยะปานกลาง พ.ศ. 2565-2574. ค้นจาก https://thai-smartgrid.com
กระทรวงพลังงาน (2565). แผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสมาร์ตกริดของประเทศไทยระยะปานกลาง พ.ศ. 2565-2574, 43-45. ค้นจากhttps://www.eppo.go.th/index.php/th/eppo-intranet/item/17705-news-210165
กองอัตราและธุรกิจไฟฟ้าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (2566). ชี้แจงคา Ft สำหรับเรียกเก็บจากผู้ใช ไฟฟ้าในใบเรียกเก็บเงินคาไฟฟ้า. ค้นจาก https://www.pea.co.th.
การไฟฟ้าฝ่ายผลิต. (2565). ตัวอย่างเทคโนโลยีการติดตั้งโซล่าเซลล์ในปัจจุบัน “Peer-to-Peer Energy Trading” แพลตฟอร์มซื้อขายพลังงานไฟฟ้าแห่งอนาคต. ค้นจาก https://www.egat.co.th/home/20220916-art01/
ไกรพัฒน์ จีนขจร. (2550). พลังงานหมุนเวียน. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
ธนาคารกรุงไทย. (2021). วิเคราะห์ธุรกิจแบตเตอรี่ Lithium-ion. ค้นจากhttps://thaipublica.org/2021/05/krungthai-compass28/
ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2554). โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid). ค้นจาก http://www.ee.eng.chula.ac.th/smartgrids/index.php/smart-grids/80--smart-grids/smart-grid-doc/72
ยอดธง เม่นสิน, นิพนธ์ เกตุจ้อย, วิสุทธิ์ แช่มสะอาด, ธวัช สุริวงษ์, พรทิพย์ เม่นสิน, มาลินี แก้วปัญหา, พัชรินทร์ เยาวรัตน์, และประพิธาริ์ ธนารักษ์. (2565). เทคโนโลยีสมาร์ทกริดกับการเปลี่ยนผ่านพลังงานไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี, 2(2), 10-26.
วัชระ มั่งวิทิตกุล. (2550). กระบวนการและเทคนิคการลดค่าใช้จ่ายพลังงาน สำหรับอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บริษัท เรียล ยู พาวเวอร์ จํากัด.
สมพล โคศรี. (2554). ระบบควบคุมและจัดการพลังงานสมาร์ตกริดสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าแบบแยกเดี่ยวจากพลังงานทดแทน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
EhsanReihani. (2014). Energy management at the distribution grid using a battery Energy Storage System (BESS). Electrical Power and Energy Systems, 337-344.
Jason, S. (2023). Best Solar Inverters 2023. ค้นจาก https://www.cleanenergyreviews.info/blog/best-grid-connect-solar-inverters-sma-fronius-solaredge-abb.
Jason, S. (2023). Most Efficient Solar Panels 2023. Clean energy reviews. ค้นจาก https://www.cleanenergyreviews.info/blog/most-efficient-solar-panels.
Yubo, W. (2016). Energy management for a commercial building microgrid with stationary and mobile battery storage. Energy and Buildings, 141-150.