การประยุกต์งานไม้ไผ่ขดบ้านท่าศาลาและงานไม้เพื่อเป็นแนวทางการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ เสริมสร้างอัตลักษณ์ของ จ.เชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • เจษฎาพล กิตติพัฒนวิทย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ไชยเชิด ไชยนันท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • นภมิทร์ ศักดิ์สง่า มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • มนัสพันธ์ รินแสงปิน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ไม้ไผ่ขดบ้านท่าศาลา, งานไม้, สร้างอัตลักษณ์, เฟอร์นิเจอร์ไม้

บทคัดย่อ

     การประยุกต์งานไม้ไผ่ขดบ้านท่าศาลาและงานไม้เพื่อเป็นแนวทางการออกแบบเฟอร์นิเจอร์เสริมสร้างอัตลักษณ์ของ จ.เชียงใหม่ เพื่อศึกษาผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ขดและไม้จริงในจังหวัดเชียงใหม่ พัฒนาผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ขดบ้านท่าศาลาด้วยการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาพื้นถิ่นไม้จริง และประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มผู้ผลิตจำนวน 100 คน รูปแบบของงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ขดยังไม่เคยผลิต เพื่อจำหน่ายซึ่งส่วนใหญ่แล้วที่สามารถขายและจำหน่ายได้คือ สินค้าชิ้นเล็ก ๆ เช่น พาน, โคมไฟเป็นต้น ส่วนลวดลายของไม้ไผ่ขดจะมีอยู่หลายลวดลายเช่น ลายขดธรรมดาแบบทรงกลม, หักเหลี่ยม, สามเหลี่ยม, ก้นหอยเป็นต้น เฟอร์นิเจอร์ในปัจจุบันรูปแบบที่จำหน่ายในท้องตลาดยังมีความไม่แปลกใหม่วัสดุไม้ที่ใช้ขึ้นรูป คือ ไม้ฉำฉาเป็น ต้น เนื่องจากหาง่ายในตัวเมือง จากการสัมภาษณ์พบความ ต้องการที่จะพัฒนาให้เกิดโต๊ะเก้าอี้, ชุดตกแต่งบ้าน, โซฟา ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้นมีการสอบถามถึงความต้องการและรูปแบบที่เลือก คือ ชุดโต๊ะเก้าอี้  ได้ทำการออกแบบรวมกับกลุ่มชุมชนทั้งสองชุมชนเพื่อให้สะดวกต่อการออกแบบและสร้างต้นแบบ จำนวน 6 รูปแบบ โดยได้แนวความคิดจาก ความเรียบง่าย แข็งแรงทนทานและเน้นหน้าที่ใช้สอยความสะดวกสบาย และสวยงาม ใช้เป็นรูปแบบทรงเรขาคณิต และกลุ่มชุมชนสามารถขึ้นรูปได้ง่าย สามารถผลิตได้จริง ด้านความพึงพอใจผู้ผลิตและผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์จากไม้ไผ่ขดที่ออกแบบใหม่ ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.88 ค่าระดับความพึงพอใจ มากที่สุด

References

จิระชัย ยมเกิด. (2560). โครงการวิจัย การพัฒนาศักยภาพงานหัตถกรรมเครื่องเขินวัฒนธรรมล้านนาเพื่อเสริมสร้างมูลค่า สู่ตลาดผู้บริโภคเชื่อมโยงวัฒนธรรมสู่การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านศรีปันครัว ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. (รายงานวิจัย). กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, กรุงเทพฯ.

เจษฎาพล กิตติพัฒนวิทย์. (2557). การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 15(2), 102-114.

ชมภูนุช แตงอ่อน. (23 พฤศจิกายน 2563). อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ปรับตัวรับ New normal. . ค้นจาก https://www.gsbresearch.or.th/wp-content/uploads/2020/10/IN_furniture_9_63_inter_detail.pdf.

ธีระชัย สุขสด. (2544). การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

นพคุณ สุขสถาน. (2530). การออกแบบเครื่องเรือน (Furniture design). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วรรณี สหสมโชค. (2549). ออกแบบเฟอร์นิเจอร์. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ.(2538). ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: พับลิคบิสเนสพริ้นท์.

สาคร คันธโชติ.(2547). การออกแบบผลิตภัณฑ์งานไม้ = Wood products design. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-14

How to Cite

[1]
กิตติพัฒนวิทย์ เ. ., ไชยนันท์ ไ. ., ศักดิ์สง่า น. ., และ รินแสงปิน ม. ., “การประยุกต์งานไม้ไผ่ขดบ้านท่าศาลาและงานไม้เพื่อเป็นแนวทางการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ เสริมสร้างอัตลักษณ์ของ จ.เชียงใหม่ ”, PSRU JITE, ปี 5, ฉบับที่ 3, น. 347–356, ธ.ค. 2023.