การศึกษาการควบคุมความดันเกจที่ส่งผลต่อการสูบน้ำของระบบสูบน้ำ ด้วยไอน้ำแบบอัตโนมัติ

ผู้แต่ง

  • พยัพ สลับศรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • จิรวัฒน์ สิตรานนท์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • กิตติศักดิ์ วิธินันทกิตต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • กรณัฏฐ์ นาคภิบาล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • ภาณุศักดิ์ มูลศรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คำสำคัญ:

การควบคุมความดันเกจ, ถังสูบน้ำ, ปริมาตรน้ำที่สูบได้

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการควบคุมความดันเกจที่ส่งผลการทำงานของระบบสูบน้ำด้วยไอน้ำแบบอัตโนมัติ โดยถังสูบน้ำที่ความดันเกจ 0 กิโลปาสคาล และที่ความดันเกจ 10 กิโลปาสคาล ที่ระดับความสูงในการสูบน้ำ 2 เมตร เป็นระยะเวลา 10 ชั่วโมง ควบคุมด้วยการเปิด-ปิด วาล์ว โดยใช้โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอลโทรลเลอร์ จากการเปรียบเทียบอุณหภูมิและความดันเกจภายในถังผลิตไอน้ำ และถังสูบน้ำทั้ง 2 ถัง มาวิเคราะห์พบว่า ระบบสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องแบบอัตโนมัติ โดยการสลับถังสูบน้ำระหว่างถังสูบน้ำ A และถังสูบน้ำ B จากการควบคุมความดันเกจของถังสูบน้ำที่ 10 กิโลปาสคาล ส่งผลให้จำนวนรอบในการสูบน้ำ และปริมาตรน้ำที่สูบได้ต่อวันเพิ่มมากขึ้น โดยเฉลี่ย 33% และ 31% ตามลำดับ จำนวนรอบที่สูบน้ำได้สูงสุด 16 รอบ ส่วนปริมาตรน้ำที่สูบได้สูงสุด 3,006 ลิตร ระยะเวลาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิภายในถังสูบน้ำจากอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมไปสู่จุดเดือดของน้ำที่ความดันเกจควบคุม เมื่อความดันเกจสูงขึ้นทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นตาม ดังนั้นจึงลดระยะเวลาในการให้ความร้อนกับถังสูบน้ำ ระบบจึงสามารถทำงานได้รวดเร็ว จำนวนรอบการทำงานภายใน 10 ชั่วโมง จึงเพิ่มขึ้น และเมื่อจำนวนรอบการทำงานเพิ่มมากขึ้น ปริมาตรน้ำที่สูบได้ก็เพิ่มขึ้นตามลำดับ

References

จิรวัฒน์ สิตรานนท์, กิตติวุฒิ ศุทธิวิโรจน์ และณัฐพล รุ่นประแสง. (2563). แบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับการศึกษาระดับความสูงในการสูบน้ำของระบบสูบน้ำร้อนด้วยกำลังไอน้ำแบบต่อเนื่อง. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 15(3), 89-100

ฉัตรชัย อุ่นวิเศษ, จิรวัฒน์ สิตรานนท์ และกิตติวุฒิ ศุทธิวิโรจน์. (2564). การศึกษาอุณหภูมิและปริมาณน้ำหล่อเย็นที่ส่งผลต่อความดันสุญญากาศของปั๊มสูบน้ำด้วยกำลังไอน้ำ. วารสารวิชาการพลังงานทดแทนสู่ชุมชน, 4(3), 107-120.

Bandaru, R., Muraleedharana, C., & Kumarb, P.M.V. (2019). Modelling and dynamic simulation of solar-thermal energy conversion in an unconventional solar thermal water pump. Energy Procedia, 134. 292-305.

Kurhea, N., Funde, A., Gokhale, P., Jadkara, S., Ghaisasa, S., & Date, A. (2017). Development of low temperature heat engine for water pumping application. Energy Procedia, 110, 292-297.

Moonsri, P., Kunchornrat, J.; & Namprakai, P. (2015). Hybrid energy thermal water pump for producing hot water from a shallow.well in Thailand. Energy Engineering Journal, 142, 1-15.

Wang, Z.X., Du, S., Wang, L.W., & Chen, X. (2020). Parameter analysis of an ammonia-water power cycle with a gravity assisted thermal driven “pump” for low-grade heat recover. Renewable Energy Journal,146, 651-661.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-26

How to Cite

[1]
สลับศรี พ., สิตรานนท์ จ., วิธินันทกิตต์ ก., นาคภิบาล ก., และ มูลศรี ภ. ., “การศึกษาการควบคุมความดันเกจที่ส่งผลต่อการสูบน้ำของระบบสูบน้ำ ด้วยไอน้ำแบบอัตโนมัติ”, PSRU JITE, ปี 5, ฉบับที่ 2, น. 223–238, ส.ค. 2023.