อิทธิพลของอุณหภูมิต่อการอบแห้งขมิ้นชันโดยใช้เทคนิคสุญญากาศ

ผู้แต่ง

  • วีรนุช บูรณะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • เอกภูมิ บุญธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • วิริยา นิตย์ธีรานนท์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • จิรวัฒน์ สิตรานนท์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • กิตติศักดิ์ วิธินันทกิตต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

คำสำคัญ:

การอบแห้ง, ขมิ้นชัน, สุญญากาศ, อุณหภูมิ

บทคัดย่อ

     วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาจลนพลศาสตร์การอบแห้งขมิ้นชันและคุณภาพของขมิ้นชันหลังการอบแห้ง โดยอบแห้งขมิ้นชันด้วยเทคนิคผสมผสานอินฟราเรดร่วมกับสุญญากาศที่ความดันสัมบูรณ์ 10 kPa และอุณหภูมิ 40 50 60 และ 70 oC จากการทดลองพบว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นมีผลต่อการลดความชื้นของขมิ้นชัน ทำให้ใช้เวลาในการอบแห้งและความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะลดลง โดยการอบแห้งขมิ้นชันที่ความชื้นเริ่มต้นร้อยละ 627.2% d.b. จนมีความชื้นสุดท้ายร้อยละ 11.80 %d.b. ที่อุณหภูมิอบแห้ง 70 oC จะใช้เวลาอบแห้งน้อยที่สุด 180 min และความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะน้อยที่สุด 1.7 MJ/g water evaporated สำหรับด้านคุณภาพพบว่า เมื่ออุณหภูมิอบแห้งสูงขึ้นขมิ้นชันจะมีค่าความสว่างและสีแดงเพิ่มขึ้น แต่สีเหลืองมีค่าลดลง และที่อุณหภูมิอบแห้ง 50 oC จะมีค่าการเปลี่ยนแปลงสีโดยรวมน้อยที่สุด ส่วนปริมาณน้ำอิสระมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกการทดลอง นอกจากนี้ที่อุณหภูมิอบแห้ง 60 C ขมิ้นชันมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด (IC50=0.82 mg/ml) และปริมาณฟีนอลิกรวมทั้งหมดสูงสุด 155.83 mgGAE/g

References

ชมพูนุช อุทัยรัตน์, เอกรัตน์ ศรีสุข และกล่าวขวัญ ศรีสุข. (2560). ผลของสภาวะต่างๆ ของการอบแห้งและการสกัดต่อปริมาณของสารประกอบฟีนอลิก สารประกอบฟลาโวนอยด์ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากผลปอกะบิด. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 22(1), 151-165.

ชัชวาล ช่างทำ. (2558). คุณประโยชน์และฤทธิ์ทางชีวภาพที่หลากหลายของสมุนไพรขมิ้นชัน. 94 ว.วิทย. เทคโน. หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 1(2). 94-109.

ณัฐพล กระจ่าง. (2560). การอบแห้งขมิ้นชันด้วยเครื่องอบแห้งลมร้อนร่วมอินฟราเรด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ณัฐภัค อิ่มเอิบ และกิตติศักดิ์ วิธินันทกิตต์. (2564). การศึกษาจลนพลศาสตร์และคุณภาพชิ้นกล้วยอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งสุญญากาศร่วมกับอินฟาเรด.วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16(3), 24-36.

ดวงกมล แก้วพิมพา, นิศารัตน์ ตามสมัคร และสุรัตน์ สุขต้อ. (2548). การปฏิบัติเบื้องต้นในการลดความชื้นของเห็ดหอมด้วยสารละลายเกลือแกงเพื่อลดระยะเวลาในการอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งแบบถาด. (ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ปาริชาติ ราชมณี, สุธิดา พิทักษ์วินัย, วาณิช นิลนนท์, และวุฒิไกร บัวแก้ว. (2564). จลนพลศาสตร์การอบแห้งขมิ้นชันแบบชั้นบางด้วยเครื่องอบแห้งแบบลมร้อน.วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 17(2), 1686-1689.

แพรวพรรณ บุญนวม, นุรมา กาแบ, รัยมี หะยีมะสาและ, วิทวัส หมาดอี, ปิยะนุช สุวรรณรัตน์ และกุสุมาลย์ น้อยผา. (2564). การศึกษาสารพฤกษเคมีเบื้องต้น ปริมาณฟีนอลิก และสารฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดกระชายขาว เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สบู่กระดาษ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 14(3), 152-165.

วรวุฒิ มานะงาม และกิตติศักดิ์ วิธินันทกิตต์. (2563). การอบแห้งดอกบัวด้วยเทคนิคสุญญากาศแบบพัลส์และอินฟราเรดร่วมกับการฝังในซิลิกาทราย. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 10(3), 84-98.

วัชรนนท์ แก้วยัง, กฤตนน วงศ์มิตรวาที และโฆษะ โฆษิตวรวุฒิ. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์มาส์กหน้าจากสารสกัดธรรมชาติขมิ้นชัน. (โครงงานวิจัยทางเภสัชศาสตร์). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สุภาภรณ์ ปิติพร, ผกากรอง ขวัญข้าว, อาสาฬา เชาว์เจริญ, ณัชชา เต็งเติมวงศ์, เบญจวรรณ หมายมั่นจันทิมา สุวรรณ และฐานิตา บุญเชิด. (2563). อาหารสมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกัน ในภาวะที่มีการระบาดของโควิด-19. ค้นจาก https://www4.fisheries.go.th/local/file_

announce/202107211106511_announce.pdf

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุรินทร์. (2563). ขมิ้น สรรพคุณและประโยชน์ของขมิ้นชัน. ค้นจาก https://www.opsmoac.go.th/surin-local_wisdom-preview-422891791843

อำไพศักดิ์ ทีบุญมา และศักชัย จงจำ. (2553). การอบแห้งขิงด้วยเทคนิคสุญญากาศร่วมกับอินฟราเรด. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 15(2), 76-86.

AOAC. (Association of Official Analytical Chemists). (2000). Official Methods of Analysis. At the Association of Official Analytical Chemists (17th ed). Maryland: Gaithersburg.

Su, D., Lv, W., Wang, Y., Wang, L., & Li, D. (2020). Influence of microwave hot-air flow rolling dry-blanching on microstructure, water migration and quality of pleurotus eryngii during hot-air drying. Food Control, 114.

Shiyu, Z., Bo W., Weiqiao, L., & Yiran, W. (2023). Antioxidant activities of curcumin and ascorbyl dipalmitate nanoparticles and their activities after incorporation into cellulose-based packaging films. Journal of food chemistry. 404(23), 134741.

Sonkaew, P., Sane, A., & Suppakul, P. (2012). Antioxidant activities of curcumin and ascorbyl dipalmitate nanoparticles and their activities after incorporation into cellulose-based packaging films. Journal of agricultural and food chemistry. 60(21), 5388-5399.

Vieira, E.S., & Lemos-Senna, E. (2020). Application of a new validated HPLC-PDA method for simultaneous determination of curcumin and melatonin in hyaluronic acid-coated nanoemulsions. Journal of the Brazilian Chemical Society. 31(3), 467-475.

Wanyo, P., Siriamornpun, S. & Meeso, N., (2011). Improvement of quality and antioxidant properties of dried mulberry leaves with combined far-infrared radiation and air convection in Thai tea process. Food and Bioproducts Processing. 89, 22-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31

How to Cite

[1]
บูรณะ ว., บุญธรรม เ., นิตย์ธีรานนท์ ว., สิตรานนท์ จ., และ วิธินันทกิตต์ ก., “อิทธิพลของอุณหภูมิต่อการอบแห้งขมิ้นชันโดยใช้เทคนิคสุญญากาศ”, PSRU JITE, ปี 6, ฉบับที่ 1, น. 81–95, มี.ค. 2024.