การพัฒนาบรรจุภัณฑ์มะขามเปรี้ยวอัดก้อนโดยใช้เทคนิควิศวกรรมคันเซสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
คำสำคัญ:
วิศวกรรมคันเซ, มะขามเปรี้ยวอัดก้อน, การออกแบบบรรจุภัณฑ์บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากผลิตภัณฑ์รูปแบบเดิมที่ผลิตจากถุงพลาสติก ทำให้มะขามสัมผัสกับแสงแดด อากาศ ส่งผลต่อสีและคุณภาพของมะขาม ผู้วิจัยและชุมชนได้ร่วมกันพัฒนาบรรจุภัณฑ์มะขามเปียกอัดก้อนให้มีมาตรฐาน ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ให้มีมาตรฐาน น่าสนใจ มีฉลากที่แสดงรายละเอียดสินค้าอย่างชัดเจน และสะดวกในการใช้หลักการวิศวกรรมคันเซถูกนำมาใช้เพื่อระบุโครงสร้างและคุณลักษณะเชิงกายภาพของผลิตภัณฑ์จากข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ และผู้บริโภค ผลจากการวิจัยพบวาผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ได้รับการคัดเลือกมีระดับความสัมพันธระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามของบรรจุภัณฑ์โดยที่ ประชากรส่วนใหญ่ให้ทิศทางเชิงบวกต่อคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยม ใช้ฟอยต์ในการห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใน ส่วนด้านนอกใช้วัสดุจากกระดาษที่มีโทนสีเข้ม ตกแต่งลวดลายเป็นภาพวาด ภาพประกอบอาหารใช้ภาพจริงโดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณกำลังสองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 54.34 จึงสามารถนำคุณสมบัติต่างๆ ที่ได้มาใช้ออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ผลลัพธ์ที่ได้คือ บรรจุภัณฑ์มะขามเปียกอัดก้อนที่ไม่เพียงตอบโจทย์ผู้บริโภค แต่ยังสร้างความโดดเด่นในตลาด สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของวิศวกรรมคันเซ ในการยกระดับบรรจุภัณฑ์ให้มากกว่าแค่ภาชนะ แต่เป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยผลักดันธุรกิจชุมชนให้ประสบความสำเร็จ
References
กุศล พิมาพันธุ์ศรี. (2554). การประยุกต์วิศวกรรมคันเซเพื่อการประเมินการรับรู้ของผู้บริโภคต่อแบบผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์: กรณีศึกษาการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ตู้เสื้อผ้า. (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.
จินดา พัฒนาวิทย์. (2562). ความพึงพอใจต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ชาใบขลู่ กลุ่มชุมชนท่าเมรุ ตำบลบางกล่ำอำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 13(2), 189-204.
ธันยาภรณ์ ด่าจุต, พิเชษฐ์ พรหมใหม และสุริยา นิตย์มี. (2562, กรกฎาคม). ความพึงพอใจต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ชาใบขลู่ กลุ่มชุมชนท่าเมรุ ตำบลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.
นพดล ศรีพันธุ์, เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, จินดา ขลิบทอง และภูมิศักดิ์ ราศรี. (2565). โมเดลการส่งเสริมการผลิตมะขามเปรี้ยวเชิงธุรกิจ. วารสารการพยาบาลมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 38(3), 23-35.
นพรัตน์ คุ้มพงษ และชมพูนุท เกษมเศรษฐ์. (2555, ตุลาคม). กรอบแนวคิดการประยุกต์ใช้วิศวกรรมคันไซในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร: กรณีศึกษาข้าวพาร์บอยล์. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ. ชะอำ, เพชรบุรี.
ศิริชัย ยศวังใจ. (2553). การประยุกตใชวิศวกรรมคันไซในการออกแบบผลิตภัณฑเฟอรนิเจอร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโก. (2562). มะขามรสชาติมาแรงในปีหน้า. ค้นจาก https://www.ditp.go.th/post/157060
สิทธิศักดิ์ ธัญศรีสวัสดิ์กุล. (2559). การออกแบบลวดลาย.กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
อุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2550). การออกแบบเฟอร์นิเจอร์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
Fatchurrohman, N., Yetrina, M., Muhida, R., & Hidayat, A. (2020). Product Development using Kansei Engineering to Re-design New Food Packaging. Jurnal Teknologi, 12(1), 8-13. DOI: https://doi.org/10.35134/jitekin.v12i1.60
Ghiffari, M., Djatna, T., & Yuliasih, I. (2018). Kansei Engineering Modelling for Packaging Design Chocolate Bar. Sustainable Environment Agricultural Science, 2(1), 10-17. DOI: 10.22225/seas.2.1.539.10-17
Hsu, S.H., Chuang, M.C., & Chang, C.C. (2000). A semantic differential study of designers' and users' product form perception. International Journal of Industrial Ergonomics, 25(4), 375-391. DOI: 10.1016/S0169-8141(99)00046-X
Jiao, Y., & Qu, W. (2019). A proposal for Kansei knowledge extraction method based on natural language processing technology and online product reviews. Computers in Industry, 108, 1-11. DOI: https://doi.org/10.1016/j.compind.2019.02.011
Nagamachi, M. (1999). Kansei Engineering and its Applications in Automotive Design. SAE Technical Papers, 108(6), 2275-2282.
Nagamachi, M. (2011). Kansei/Affective Engineering (1st ed). Boca Raton, FL: CRC Press.
Osgood, C.E., Suci, G.J., & Tannenbaum, P.H. (1957). The measurement of meaning. United States: University of Illinois Press.
Prastawa, H., & Mahachandra, M. (2021). Kansei engineering application in redesigning Carica packaging to support local-small industry in Central Java. IOP Conference Series: Materials Science and Engineering, 1072(1), 012060. DOI: 10.1088/1757-899X/1072/1/012060
Schütte, S., & Eklund, J. (2005). Design of rocker switches for work-vehicles – an application of Kansei Engineering. Applied Ergonomics, 36(5), 557-567.
Smith, A., & Jones, B. (2023). Application of Kansei Engineering to Capture Consumer Demand for Cooking Oil Product Packaging. Journal of Food Packaging Science, 5(2), 12-21. DOI: https://doi.org/10.33005/ijeise.v4i1.113