The Application For Place Recommendation Through Augmented Reality

ผู้แต่ง

  • ์Napaphat Wannatrong Buriram Rajabhat University

คำสำคัญ:

Place Recommendation, Augmented Reality, Global Positioning System

บทคัดย่อ

         โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์และออกแบบแอปพลิเคชันแนะนำสถานที่ด้วยเทคโนโลยี Augmented Reality 2) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันแนะนำสถานที่ด้วยเทคโนโลยี Augmented Reality 3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพแอปพลิเคชันแนะนำสถานที่ด้วยเทคโนโลยี Augmented Reality 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อแอปพลิเคชันแนะนำสถานที่ด้วยเทคโนโลยี Augmented Reality ในการพัฒนาแอปพลิเคชันได้ใช้โปรแกรม  Android studio  ภาษาที่ใช้ในการเขียน ได้แก่ JAVA  และได้มีการนำเทคโนโลยี Augmented Reality มาประยุกต์ใช้กับ GPS (Global Positioning System) ของ Google Maps เพื่อให้แอปพลิเคชันมีความน่าสนใจมากขึ้น และนำ Gyroscope มาช่วยทำให้ตำแหน่งของ Augmented Reality มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น

         ผลประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจของผู้ใช้งานแอปพลิเคชันในฟังก์ชันต่าง ๆ  ซึ่งได้นำไปให้นักศึกษาและบุคคลกรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้ใช้งานพบว่าด้านการใช้งานแอปพลิเคชัน ด้านการส่วนการติดต่อกับผู้ใช้ และด้านฟังก์ชันการทำงานของแอปพลิเคชันพบว่าผู้ใช้งานมีความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน

 

References

ตรีชฎา แก้วบำรุง. (2555). ระบบระบุตำแหน่งและนำเสนอเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอสโดย Google Maps
API. แหล่งข้อมูล: https://tdc.thailis.or.th/ ค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2563
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พนิดา ตันศิริ. (2550). โลกเสมือนผสานโลกจริง. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, แหล่งข้อมูล:
https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/30_2/pdf/aw28.pdf
ค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2563
วัชราวุธ เด็กหลี จีระศักดิ์ ทับทอง อภิวุฒิ วัฒนไชย และ จิรวัฒน์ แท่นทอง. (2558). พัฒนาแอปพลิเคชันนํา
ทางด้วยเทคโนโลยี AR กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต. The
Eleventh National Conference on Computing and Information Technology NCCIT2015,
แหล่งข้อมูล: https://tdc.thailis.or.th/ ค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2563
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2555). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น. หน้า 50-58.
Don, M., David F. Cihak, and Rachel W. (2015). Augmented Reality as a Navigation Tool to
Employment Opportunities for Postsecondary Education Students With Intellectual Disabilities and
Autism. Journal of Research on Technology in Education.
47(3): 157-172.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-09