แผ่นวัสดุเพื่อใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหารโดยใช้เศษเหลือทิ้งทางการเกษตร

ผู้แต่ง

  • พงษ์ศักดิ์ จิตตบุตร Nakhon Ratchasima Rajabhat University
  • ศิริพร ปิยะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สุชาดา เปียสันเทียะ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

บรรจุภัณฑ์อาหาร, เศษเหลือทิ้งทางการเกษตร, สมบัติเชิงกล, สมบัติทางกายภาพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแผ่นวัสดุเพื่อใช้ผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารโดยใช้เศษเหลือทิ้งทางการเกษตร โดยเลือกใช้ฟางข้าวและใบอ้อยเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเส้นใย แปรรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ จาน ถ้วย และถุง โดยทดสอบคุณสมบัติทางกล ได้แก่ การทดสอบการต้านแรงดึง สมบัติทางกายภาพ ได้แก่ การทดสอบน้ำหนักมาตรฐาน การทดสอบค่าปริมาณความชื้น การทดสอบการดูดซึมน้ำ การทดสอบความหนาแน่น และความพึงพอใจ ผลการศึกษาพบว่า ความหนาแน่นที่ดีอยู่ที่จานของทั้งฟางข้าวและใบอ้อยที่มีค่าเฉลี่ย 0.23 g/cm3 การทดสอบการดูดซึมน้ำชิ้นทดสอบมีค่าการดูดซึมน้ำค่อนข้างสูง ซึ่งค่าเฉลี่ยการดูดซึมน้ำที่ดีอยู่ที่ถุงที่ทำจากใบอ้อยเฉลี่ยเท่ากับ 233.24 % น้ำหนักมาตรฐานเมื่อเปรียบเทียบกับโฟม น้ำหนักที่ทำจากเส้นใยฟางข้าวและใบอ้อยมีน้ำหนักที่มากกว่าเป็นไปตามมาตรฐานกระดาษแข็ง การต้านแรงดึงที่ดีคือถ้วยที่ทำจากฟางข้าวมีค่าเฉลี่ย 1.30 kPa ค่าปริมาณความชื้นเป็นไปตามมาตรฐาน และความพึงพอใจจากการสอบถามความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของฟางข้าวทั้งหมดอยู่ที่ 14.698517 kgCO2e. และใบอ้อยทั้งหมดอยู่ที่ 14.577017 kgCO2e. ซึ่งเส้นใยของฟางข้าวและใบอ้อยสามารถนำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารได้

References

บุษรา สร้อยระย้า และคณะ. (2554). การพัฒนา บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจากเส้นใยกล้วยสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารสาเร็จรูป คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์. (2559). กลูโคแมนแนน (glucomannan). สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2562, จาก http://www.foodnetworksolution. glucomannan.

มลสุดา ลิวไธสง. (2556). การผลิตภาชนะย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากกาบกล้วย. (วิทยานิพนธ์

มหาบัณฑิต, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี).

ลดามาศ เบ็ญชา, ณัฐวดี ช่อเจริญ, ญาณสินี สุมา และคณะ. (2559). ความเป็นไปได้เบื้องต้นในการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในพื้นที่จังหวัดเชียงราย. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ "นเรศวรวิจัย" ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ (น. 418-23); 21-22 กรกฎาคม 2559; อาคารเอกาทศรถ. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ. (2555). สมบัติเชิงกล. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2562, จาก https://old.mtec.or.th/mcu/phml/in

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ. (2559). เส้นใย. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2562, จาก

https://www2.mtec.or.th/research.

สมาคมไฟฟ้าชีวมวล. (2556). วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2562, จากhttps://sites.google.com/site/bppath.

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดมุกดาหาร. (2554). เกษตรมุกดาหาร การใช้ประโยชน์จากใบอ้อย. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2562, จากhttp://pr.prd.go.th/mukda/ews.php.

สุนทรี เด่นเทศ และ สิริอร อศิรางกูร ณ อยุธยา. (2557). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของบรรจุภัณฑ์อาหารจากฟางข้าวที่พัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2562, จากhttp://foodsan.anamai.go.th

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก. (2554). แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2562, จากhttp://library.psru.ac.th/GreenLib.pdf

Birgit Geueke. (2561). Food packaging in the circular economy: Overview of chemical safety aspects for commonly used materials. Journal of Cleaner Production, 193, pp. 491-505.

Aggarwal, A., Schmid, M., Patel, M.K. & Langowski, H-C. (2018). Function-driven Investigation of Non-renewable Energy Use and Greenhouse Gas Emissions for Material Selection in Food Packaging Applications: Case Study of Yoghurt Packaging. Procedia CIRP, 69, pp. 728-733.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29