การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียรูปแบบภาพยนตร์สั้น เรื่อง ความรักเรื่องนี้

ผู้แต่ง

  • ณัฐพงษ์ พระลับรักษา สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • วัชรพงษ์ พิมขาลี

คำสำคัญ:

สื่อมัลติมีเดีย, ภาพยนตร์, ภาพยนตร์สั้น

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อมัลติมีเดียรูปแบบภาพยนตร์สั้นเรื่อง ความรักเรื่องนี้ และ 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อสื่อมัลติมีเดียรูปแบบภาพยนตร์สั้นเรื่อง ความรักเรื่องนี้ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และ นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ  ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) สื่อมัลติมีเดียรูปแบบภาพยนตร์สั้น เรื่อง ความรักเรื่องนี้ ที่พัฒนาขึ้น มีความยาว 14 นาที เป็นสื่อมัลติมีเดียรูปแบบภาพยนตร์ที่สะท้อนปัญหาความรักกับหน้าที่ ผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.33, S.D. = 0.48) และ 2) ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียรูปแบบภาพยนตร์สั้นที่พัฒนาขึ้นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.34, S.D. = 0.70) แสดงให้เห็นว่าสื่อมัลติมีเดียรูปแบบภาพยนตร์สั้นเรื่อง ความรักเรื่องนี้ ที่สร้างขึ้น เป็นสื่อที่มีคุณภาพ เหมาะสมที่จะเผยแพร่เพื่อให้แง่คิดด้านความรักต่อวัยรุ่นได้ รวมทั้งเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงและสื่อสารกับวัยรุ่นได้ดี

References

พงษ์แสงพันธ์. (2560). ผลของหนังสั้นเพื่อป้องกันพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารสํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 24(2), น. 90-99.
เฉลิมพล ไวทยางกูร. (2560). ปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร, สืบค้นเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2563, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/642808.
ณัฐพร พวงเกตุ. (2559). ผลของการชมภาพยนตร์สั้นไทยที่มีต่อความใส่ใจของวัยรุ่นตอนปลาย:การศึกษาศักย์ไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญาวิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา).
ไทยรัฐ ออนไลน์. (2563). การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร, สืบค้นเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2563, จาก https://www.thairath.co.th/tags/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99.
ธเรศ แร่เพชร. (2560). การพัฒนาภาพยนตร์สั้น เรื่อง ทางเลือก. (วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
นิวัฒน์ ศรีสัมมาชีพ. Action and Cut: แอคชั่น แอนด์ คัท. (2555). นนทบุรี: Nonthaburi: อมรินทร์ บุ๊ค.
บรรจง โกศลวัฒน์. (2543). การถ่ายทำภาพยนตร์เสียง. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และ สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
บุญศรี พรหมมาพันธุ์. (2562). การประเมิน คุณภาพสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้พัฒนาการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และ คณิตศาสตร์ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศรีปทุมปริทัศน์, 19 (1), น. 7-18.
พลวัฒน์ เทพบุรี. (2560). การพัฒนาภาพยนตร์ สั้นเรื่อง เพชร. (วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา เทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. (2546). นักสร้าง สร้างหนัง หนังสั้น. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลัญฉน์ศักดิ์ อรรฆยากร. (2551). จิตวิทยาความรัก. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 53(2), น.221-223.
D. K. Irving and Rea P. W. Producing and Directing the Short Film and Video. 3rd ed. ‎ Amsterdam, Netherlands: Elsevier Inc., 2006.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-12