การพัฒนาระบบสนับสนุนการให้ข้อมูลสำหรับแหล่งท่องเที่ยวบนเส้นทางท่องเที่ยวโคราชจีโอพาร์คด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
คำสำคัญ:
จีโอพาร์ค, โคราชจีโอพาร์ค, แชทบอทบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและออกแบบระบบสนับสนุนการให้ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวโคราช จีโอพาร์คด้วยโครงสร้างบทสนทนาแชทบอทและแพลตฟอร์มข้อมูล 2) พัฒนาระบบสนับสนุนการให้ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวโคราชจีโอพาร์คโดยใช้หลักการเรียนรู้ของเครื่องและการประมวลผลภาษาธรรมชาติในส่วนของการตอบข้อมูลด้วยแชทบอทร่วมกับแนวคิดของเว็บที่ตอบสนองต่อทุกอุปกรณ์ในส่วนของการจัดการข้อมูลด้วยชุมชนบนแพลตฟอร์มข้อมูล และ 3) ประเมินประสิทธิภาพการทำงานระหว่างระบบกับผู้ใช้งาน ทั้งนี้ได้ออกแบบและพัฒนาระบบโดยใช้ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวบนเส้นทางท่องเที่ยวโคราชจีโอพาร์ค จังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือระบบสนับสนุนการให้ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวโคราชจีโอพาร์คที่ผ่านการประเมินผลจากผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 2 คน แบบประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบ และแบบประเมินความพึงพอใจการใช้งานของชุมชนและนักท่องเที่ยว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระบบการสนับสนุนการให้ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวโคราชจีโอพาร์คที่ถูกพัฒนาขึ้นอยู่ในเกณฑ์ระดับประสิทธิภาพมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.16 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.74 และความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.21 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.75 แสดงว่าระบบสนับสนุนการให้ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวโคราชจีโอพาร์คที่ถูกพัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการตอบข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวของผู้ใช้งานและการเข้าไปมีส่วนร่วมของชุมชนได้ดีขึ้น
References
จิรันดร บู๊ฮวดใช้. (2560). แนวทางการพัฒนาต้นแบบ แชทบอทสำหรับให้คำแนะนำระบบขอทุนอุดหนุนการวิจัย งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 9 (น.1906-1913). นครปฐม : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
จักรินทร์ สันติรัตนภักดี. (2560). Online Marketing and Customer Service by Chatbot Case Study: Chatfuel in Customer Interactive on Messenger. กรุงเทพ. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 10(1), น.71-87.
ชาญณรงค์ แก้วกระจ่าง. (2555). การพัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่. สารนิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นงนุช เก้ตุ้ย, ขนิษฐา หอมจันทร์, วรวิทย์ ฟั่นคำอ้าย, เดชาวัต ฤชุโรจน์ และอามิต โกชุ. (2562). การพัฒนาระบบสนับสนุนการตลาดออนไลน์โดยใช้เนื้อหาดิจิทัล กรณีศึกษา กลุ่มผ้าทอย้อมสีธรรมชาติบ้างปางกอม อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. วารสารสักทอง : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 6(2), น.33-42.
ปรีชา ตั้งเกรียงกิจ. (2563). การประยุกต์ระบบปัญญาประดิษฐ์ตอบแชทอัตโนมัติเพื่อการเรียนรู้. กรมแพทย์ทหารอากาศ. วารสารแพทยสารทหารอากาศ: Royal Thai Air Force Medical Gazette, 66(2), น.64-73.
พิชชาพร และประศาสตร์. (2564). แชทบอทสำหรับการบริการข้อมูลด้านสุขภาพ. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 4 (น.39-44). กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
ไพศาล กาญจนวงศ์, สวิชญา ศุภอุดมฤกษ์ ตรีรักษ์, ศรีกุล นันทะชมภู และอาบทิพย์ กาญจนวงศ์. (2557). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของโฮมสเตย์. มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา, 37(4), น.503-515.
สุมนา บุษบก, ณัฐพร เพ็ชรพงษ์ และจีรานุช สิงโตแก้ว. (2563). การพัฒนาแอพพลิเคชั่น Chatbot สำหรับงานบริการนักศึกษา กรณีศึกษากองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. กรุงเทพ. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 19(2), น.85-94.
อรุณโรจน์ ยนต์สุริยันต์. (2561). Black box testing and white box testing. เว็บไซต์ medium, สืบค้น เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2564, จาก https://medium.com/@noharapleng/black-box-testing-and-white-box-testing-179608779a46
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ก่อนเท่านั้น