การสร้างต้นแบบออนโทโลยีวัฒนธรรมพื้นบ้านโคราช

ผู้แต่ง

  • ขนิษฐา กุลนาวิน Nakhon Ratchasima Rajabhat University
  • ขนิษฐา ชมพูวิเศษ
  • สมจิน เปียโคกสูง

คำสำคัญ:

ออนโทโลยี, การค้นคืนความรู้, วัฒนธรรมพื้นบ้านโคราช

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างต้นแบบออนโทโลยีวัฒนธรรมพื้นบ้านโคราชช่วยในค้นหาสารสนเทศและองค์ความรู้จากคำสำคัญเกี่ยวกับวัฒนธรรมพื้นบ้านโคราชจากฐานองค์ความรู้ โดยมีแบ่งการดำเนินงานวิจัยเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 กำหนดความต้องการออนโทโลยี โดยการศึกษาปัจจัย 2 ด้าน คือ (1) ศึกษาลักษณะและประเภทของวัฒนธรรมพื้นบ้านโคราชจากตำราและเอกสารที่เกี่ยวข้อง (2) ศึกษาออนโทโลยีด้านวัฒนธรรมที่มีอยู่ในปัจจุบัน และจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 การพัฒนาออนโทโลยี โดยนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาปัจจัยในระยะที่ 1 เพื่อออกแบบคลาส และความสัมพันธ์ระหว่างคลาส แล้วสร้างออนโทโลยีวัฒนธรรมพื้นบ้านโคราช โดยใช้โปรแกรมโปรทีเจ (Protégé) รุ่น 5.0.0 และระยะที่ 3 การประเมินออนโทโลยีด้วยการวัดประสิทธิภาพโดยรวมของการค้นคืนความรู้จากออนโทโลยี ผลการวิจัยพบว่า ออนโทโลยีวัฒนธรรมพื้นบ้านโคราชที่สร้างขึ้นประกอบด้วยคลาสหลัก จำนวน 167 คลาส ตัวอย่างเช่น ตัวแสดง ตัวบรรยาย มรดกทางวัฒนธรรม บุคคลสำคัญและปราชญ์ และวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น ส่วนคุณสมบัติเชิงวัตถุจำนวน 88 และคุณสมบัติเชิงบรรยายจำนวน 11 คุณสมบัติ มีประสิทธิภาพการค้นคืนความรู้ในด้านค่าระลึกที่ 0.985 ค่าความแม่นยำที่ 0.664 และค่าสัมประสิทธิ์เอฟที่ 0.752 ซึ่งบ่งชี้ว่าออนโทโลยีที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้เป็นฐานความรู้สำหรับการค้นคืนความรู้ทางวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

ขนิษฐา กุลนาวิน, ธนิตา วงศ์กาฬสินธุ์, นพรัตน์ ยติกร. (2557). การออกแบบออนโทโลยีข้าวไทย. วารสารนเรศวรพะเยา 7(1), มกราคม-เมษายน 2557, น. 76-84

ทองพูล หีบไธสง. (2557). การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศดั้งเดิมด้วยออนโทโลยี. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2556. น. 67-72.

ธนิตา วงศ์กาฬสินธุ์ และงามนิจ อาจอินทร์. (2552). การเชื่อมโยงออนโทโลยีบนโดเมน E-learning โดยใช้ WordNet บนพื้นฐานของการวัดค่าความคล้ายคลึงเชิงความหมาย. ใน National Conference on Computing and Information Technology-NCCIT 2009. (น. 218-224). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยพระจอม เกลาพระนครเหนือ.

ธีรวิชญ์ วงษา และ รัฐสิทธิ สุขะหุต. (2557). ออนโทโลยีกับการจัดการความรู้. ข่าวสารคณะวิทยาศาสตร์ มช. หน้า. 1-3.

วรงค์พร คณาวรงค์ (2557). การพัฒนาออนโทโลยีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาการสารสนเทศมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

วรรษพร อารยะพันธ์ และ พัฑรา พนมมิตร (2562). การพัฒนาออนโทโลยีความรู้ด้านผ้าล้านนา. วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 น. 133-170.

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2522). ของดีโคราช. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2558). โคราชของเรา. กรุงเทพฯ: มติชน.

หัทยา คชรัตน์. (2554). การพัฒนาออนโทโลยีการท่องเที่ยวชนบท. วิทยานิพนธ์, เทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

อิสรา ชื่นตา, จารี ทองคำ และ จิรัฎฐา ภูบุญอบ (2557). การค้นคืนสารสนเทศการท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยใช้ออนโทโลยี. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ. ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2557. น. 15-25.

Decker, S., Fensel, D. A., van Harmelen, F. A. H., Horrocks, I., Melnik, S., Klein, M., & Broekstra, J. (2000). Knowledge Representation on the Web. In F. Baader (Ed.), International Workshop on Description Logics ({DL}'00). University of Aachen. (pp. 89-97).

Neuhaus, F., Neuhaus, F., Ray, S., & Sriram, R. D. (2014). Toward ontology evaluation across the life cycle. US Department of Commerce, National Institute of Standards and Technology. (pp. 55-70).

Maynard, Diana, et al. (2006). Metrics for evaluation of ontology-based information extraction. In Proceedings of the WWW 2006 Workshop on Evaluation of Ontologies for the Web, (ACM, New York,2006). (pp. 1-8).

Song, M, Lim, S., Park, S., Kang, D., & Lee, S. (2005). Automatic classification of Web pages based on the concept of domain ontology. In proceedings of the 12th Asia-Pacific Software Engineering Conference (APSEC’05), (pp. 645-654). Taipei, Taiwan

W3C. (2008). SPARQL Query Language for RDF. W3C. Retrieved January 15, 2008, from https://www.w3.org/TR/rdf-sparql-query/.

W3C. (2014). RDF Schema 1.1. W3C. Retrieved February 25, 2014 from https://www.w3.org/TR/rdf-schema/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-19