การประเมินการสะสมคาร์บอนในมวลชีวภาพไม้ยืนต้น กรณีศึกษาพื้นที่ป่าชุมชนบ้านห้วยลาน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • พวงผกา แก้วกรม นางสาว
  • สุรางค์รัตน์ พันแสง
  • บุญยสฤษดิ์ บุญสวน
  • สุภัทรทร เดชรักษา

คำสำคัญ:

การสะสมคาร์บอน, มวลชีวภาพ, ไม้ยืนต้น, ป่าชุมชน

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้ได้ทำการศึกษาในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านห้วยลาน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์      มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะสังคมพืชและประเมินการสะสมคาร์บอนในระบบนิเวศป่าไม้ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลการกักเก็บคาร์บอนในเชิงพื้นที่ วิธีการศึกษาใช้แนวทางการศึกษาตามหลักการทางนิเวศวิทยา โดยมีการวางแปลงตัวอย่างวงกลมที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 เมตร เพื่อเก็บข้อมูลชนิดพืชและวัดเส้นผ่านศูนย์กลางระดับอก จากนั้นทำการวิเคราะห์ลักษณะของสังคมพืชด้วยการวิเคราะห์ค่าความหนาแน่น จำนวนชนิด และค่าดัชนีความสำคัญของไม้ยืนต้น ในการประเมินการสะสมคาร์บอนจะทำการหาปริมาณคาร์บอนที่สะสมในมวลชีวภาพเหนือผิวดิน โดยทำการหามวลชีวภาพด้วยวิธีการแอลเมตรี แล้วนำไปคำนวณหาปริมาณคาร์บอนด้วยการคูณด้วยค่าคงที่ ผลการศึกษาพบว่าลักษณะสังคมพืชที่ศึกษาเป็นสังคมพืช ป่าผสมผลัดใบผสมเต็งรังที่มีประดู่ กุ๊ก รัง เคด แดง และกะพี้นางนวล เป็นพันธุ์ไม้เด่น การสะสมคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือผิวดินเท่ากับ 80.76 ตันต่อเฮกตาร์ จากข้อมูลดังกล่าวนี้ชี้ให้เห็นว่าป่าชุมชนบ้านห้วยลานมีการสะสมคาร์บอนไว้ในมวลชีวภาพในปริมาณที่สูงและมีความเหมาะสมที่จะได้รับการส่งเสริมให้เป็นพื้นที่เก็บกักคาร์บอนในเชิงพื้นที่ระดับของท้องถิ่นได้

References

ขนิษฐา เสถียรพีระกุล สุนทร คำยอง นิวัติ อนงค์รักษ์ และ เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง. 2556. มูลค่าการกักเก็บ

คาร์บอนในมวลชีวภาพและในดินของป่าดิบเขาที่เหลือเป็นหย่อมบนพื้นที่ต้นน้ำที่สูง หน่วยจัดการต้นน้ำ

บ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. การประชุมและนำเสนอผลงานวิชาการเครือข่ายงานวิจัย

นิเวศวิทยาป่าไม้ประเทศไทย ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่. 24-26 มกราคม พ.ศ.2556.

จักรพงษ์ ไชยวงศ์ สุนทร คำยอง นิวัติ อนงค์รักษ์ ประสิทธิ์ วังภคพัฒนวงศ์ และสุภาพ ปารมี. 2556. การ

ประเมินปริมาณการสะสมคาร์บอนในสังคมพืชป่าไม้ชนิดต่างๆ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อัน

เนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่. การประชุมและนำเสนอผลงานวิชาการเครือข่ายงานวิจัย

นิเวศวิทยาป่าไม้ประเทศไทย ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่. 24-26 มกราคม พ.ศ.2556.

นาฏสุดา ภูมิจำนงค์. 2547. แหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจกจากภาคป่าไม้และกิจกรรมการเปลี่ยนแปลง

รายงานการประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทางด้านป่าไม้ ป่าไม้กับการเปลี่ยนแปลง

สภาพภูมิอากาศ. วันที่ 16-17 สิงหาคม 2548. โรงแรมมารวย การ์เด้น กรุงเทพฯ.

Li, X., Wang, Y.P., Lu, X. Yan, J. 2021. Diagnosing the impacts of climate extremes on the

interannual variations of carbon fluxes of a subtropical evergreen mixed forest.

Agricultural and Forest Meteorology. 307: https://doi.org/10.1016/j.agrformet. 2021.108507.

Maren, I.E. and Sharma, L.N. 2021. Seeing the wood for the trees: carbon storage and

conservation in temperate forests of the Himalayas. Forest Ecology and Management.

: https://doi.org/10.1016/j.foreco.2021.119010.

Ogawa, H., Yoda, K., Kira, T. and Ogino, K. 1965. Comparative ecological studies on three main

types of forest vegetation in Thailand: II plant biomass. Nature and life in Southeast

Asia. 4: 49-80.

Tsutsumi, T., K. Yoda, P. Sahunalu, P. Dhanmanonda and B. Prachaiyo. 1983. Forest: burning

and regeneration. In Shifting cultivation, an experiment at Nam Phrom, Northeast

Thailand, and its implications for upland farming in the monsoon tropics. Kyuma, K and

Pairintra, C. (eds.). A report of a cooperative research between Thai-Japanese

universities, Kyoto, Japan

Ummenhofer, C.C., Meehl, G.A. 2017. Extreme weather and climate events with ecological

relevance: a review. Philos. Trans. R. Sco. Lond. B. Biol. Sci. 372 (1723):

https://doi.org/10.1098/rsib.2016.0135.

Woodbury, P.B., Smith J.E. and Heath, L.S. 2007. Carbon sequestration in the U.S. forest sector

from 1990 to 2010. Forest Ecology and Management 241: 14–27

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27