ประสิทธิภาพของสารสกัดจากดอกคําฝอยต่อเอนไซม์แอลฟาอะไมเลส
คำสำคัญ:
โรคเบาหวาน สารยับยั้งเอนไซม์แอลฟาอะไมเลส สารสกัดดอกคำฝอย จลนศาสตร์เอนไซม์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์แอลฟาอะไมเลส จากสารสกัดหยาบดอกคำฝอยที่แช่สกัดด้วยน้ำร้อนเป็นเวลา 5 10 และ 15 นาที โดยศึกษาจลนศาสตร์ของรูปแบบการยับยั้งเอนไซม์แอลฟาอะไมเลส และเปรียบเทียบฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสระหว่างสารสกัดหยาบจากดอกคำฝอยกับยาอะคาร์โบส จากการวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟาอะไมเลส พบว่า สารสกัดหยาบดอกคำฝอยที่แช่สกัดด้วยน้ำร้อนเป็นเวลา 15 นาที มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสดีที่สุด คือ มีค่า IC50 เท่ากับ 5.331 ± 0.234 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ส่วนยาอะคาร์โบส มีค่า IC50 เท่ากับ 0.056 ± 0.005 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร จากการศึกษาจลนศาสตร์ของรูปแบบการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟาอะไมเลส พบว่า สารสกัดหยาบดอกคำฝอยที่แช่สกัดด้วยน้ำร้อนเป็นเวลา 15 นาที มีกลไกการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสเป็นแบบแข่งขันเช่นเดียวกับยาอะคาร์โบส จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า สารสกัดหยาบดอกคำฝอยมีแนวโน้มในการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยผ่านการยับยั้ง
การทำงานของเอนไซม์แอลฟาอะไมเลส
References
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2559). ความรู้ทั่วไป: เบาหวานชนิดที่ 2. ค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2560, จาก http://www.dmthai.org/news_and_knowledge/1857.
จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. (2553). สมุนไพรลดไขมันในเลือด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป.
นันทวัน บุณยะประภัศร และ อรนุช โชคชัยเจริญพร. (2339). สมุนไพรไม้พื้นบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: สำนักงานข้อมูลสมุนไพร.
วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
ศุภมาส สบายจิตต์ สาธิยารัตน์ อาษากลาง และ สุกัญญา อำนาจเจริญ. (2559). การศึกษาฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคสซิเดสจากสารสกัดหยาบดอกคำฝอย. ปริญานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัญฑิต สาขาวิชาเคมี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
เปี่ยมสุข พงษ์สวัสดิ์. (2551). เอนไซม์ดัดแปรคาร์โบไฮเดรตในอุตสาหกรรม. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รุ่งฤดี ศรีสวัสดิ์. (2555). ผลของสารสกัดจากพืชสมุนไพรบางชนิดในเขตพื้นที่มหาวทิยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่มีต่อการทำงานของ เอนไซม์ไลเปส เอนไซม์อะไมเลสและเอนไซม์กลูโคซิเดส. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัญฑิต สาขาวิชาสรีรวิทยา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
Figueiredo-González, M., Grosso, C., Valevtáo, P., Andrade, P., (2016). α-Glucosidase and α-amylase inhibitor from Myrcia spp.: a stronger alternative to acarbose?. Journal of Pharmaceutical and Biomedical Analysis. 118: 322 - 327.
ภาวิณี จันทะดวง, กิตติพงษ์ มิ้งขวัญ, และ ธนพล หอยสังข์. (2559). การยับยั้งเอนไซม์แอลฟา-อะไมเลส ด้วยสารสกัดจากใบถั่วดาวอินคา. ปริญานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัญฑิต สาขาวิชาเคมี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ก่อนเท่านั้น