การศึกษาผลกระทบด้านการรับกำลังอัดและมลพิษสำหรับคอนกรีตสีเขียว ผสมอีพีเอสโฟมที่ใช้แล้ว
คำสำคัญ:
คอนกรีตที่ผสมอีพีเอสโฟม, ต้นทุนคอนกรีต, อีพีเอสโฟมที่ใช้แล้วบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการรับกำลังแรงอัดของคอนกรีตสีเขียวผสมอีพีเอสโฟมที่ใช้แล้วเพื่องานก่อสร้าง โดยนำอีพีเอสโฟมที่ใช้แล้วมาผสมกับส่วนผสมแบบปกติ การเปรียบเทียบกับคอนกรีตแบบปกติที่ไม่มีส่วนผสมของอีพีเอสโฟม และการประเมินต้นทุนของคอนกรีตที่ผสมอีพีเอสโฟมที่ใช้แล้ว การทดสอบความสามารถรับกำลังอัดระหว่างคอนกรีตแบบปกติและคอนกรีตที่ผสมขวดน้ำพลาสติกทดแทนมวลรวมหยาบบางส่วนในอัตราส่วน 0.1% 0.2% 0.3% 0.4% 0.5% 0.6% และ 0.7% ต่อน้ำหนักมวลรวมละเอียดและช่วงอายุการบ่มของคอนกรีตที่อายุ 7 14 และ 28 วัน ผลการทดสอบพบว่า คอนกรีตสีเขียวที่ผสมอีพีเอสโฟมที่ใช้แล้วที่เพิ่มมากขึ้นจะส่งผลต่อค่าการรับกำลังแรงอัดที่ลดลงเมื่อเทียบกับคอนกรีตแบบปกติ สัดส่วนของอีพีเอสโฟมที่ใช้แล้วที่เหมาะสม คือ ระดับไม่เกินร้อยละ 0.3 ของน้ำหนักมวลรวมละเอียดและมีค่าเฉลี่ยรับกำลังแรงอัดประมาณ 218 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ความหนาแน่นของคอนกรีตที่ผสมอีพีเอสโฟมเมื่อเปรียบเทียบกับความหนาแน่นของคอนกรีตปกติลดลงที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 2 ถึง 6 ต้นทุนของคอนกรีตที่ผสมอีพีเอสโฟมที่ใช้แล้วโดยประมาณ 1,980 บาทต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งลดลงจากต้นทุนของคอนกรีตแบบปกติประมาณร้อยละ 3 การลดปริมาณ CO2 ที่ปลดปล่อยจากการกำจัดขยะอีพีเอสโฟมสำหรับการผสมในคอนกรีตมีค่าอยู่ที่ระดับ 0.02 ถึง 0.17 กิโลกรัมต่อคอนกรีต 1 ลูกบาศก์เมตร
References
กรมควบคุมมลพิษ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). มาเรียนรู้เรื่องพลาสติกและโฟมเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม. เอกสารเผยแพร่, กรมควบคุมมลพิษ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 29 หน้า.
จรัล รัตนโชตินันท์. (2563). การศึกษาประสิทธิภาพของคอนกรีตที่ผสมขวดน้ำพลาสติกใช้แล้ว. วารสารวิชาการ EAU Heritage, ปีที่14, ฉบับที่3 กันยายน-ธันวาคม 2563, มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, น.115-126.
จรัล รัตนโชตินันท์, กฤช คำณูนธรรม, ไชยนันท์ รัตนโชตินันท์, มนพัทธ์ สาสิงห์, เสาวรส หะสิตะ และขวัญจิรา สอนระวัตร. (2564). การศึกษาความเป็นฉนวนกันความร้อนของอิฐบล็อกและปูนฉาบโดยการผสมอีพีเอสโฟมที่ใช้แล้ว. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และเทคโนโลยี ครั้งที่ 1, ในวันที่ 23 สิงหาคม 2564, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. น.582-592.
รมย์ธีรา จิตอารย์ และ มงคล นามลักษณ์. (2562). อิทธิพลของขนาดเม็ดโฟมโพลีสไตรีนต่อคุณภาพของคอนกรีตมวลเบา. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, 3(1), มกราคม-มิถุนายน 2562, น.11-18.
สมบูรณ์ คงสมศักดิ์ศิริ. (2006). การใช้เศษโฟมมาทำวัสดุผสมหยาบมวลเบาในงานคอนกรีต. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, ปีที่ 2 ฉบับที่ 1, กุมภาพันธ์– กรกฎาคม 2549, น.65-69.
สำนักงานชลประทานที่ 14. (2562). มถ. 101-2550 มาตรฐานงานคอนกรีตและคอนกรีตเสริมเหล็กกรมชลประทาน, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565,จาก http://irrigation.rid.go.th/rid14/water/library/shelf/formu/page/Transport/DRR/files/103.pdf
สำนักงานสิ่งแวดล้อม. (2564). คู่มือแนวทางการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร. สำนักงานสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพมหานคร. 45 หน้า.
อุทัยฤทธิ์ โรจนวิภาต. (2560). Concrete Laboratory. ภาควิชาวิศวกรรมโยธาคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ศูนย์ผลิตตำราเรียนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 144 หน้า
Bechki, D., Bouguettaia, H., Nadir, N. & Boughali, S. (2019). Use of a new agricultural product as thermal insulation for solarCollector. Renewable Energy 134, pp. 569-578.
Bjegovic, D., Milicˇevic, I. & Siddique, R. (2015). Experimental research of concrete floor blocks with crushed bricksand tiles aggregate. Construction and Building Materials, 94, pp. 775-778.
Guo, Z., Tu, A., Chen, Chen. & Lehman, D.E. (2018). Mechanical properties, durability, and life-cycle assessment of concrete building blocks incorporating recycled concrete aggregates. Journal of Cleaner Production, 139, pp. 136-149.
Ling, T.C., Mo, K.H. & Meng, Y. (2018). Recycling of wastes for value-added applications in concrete blocks: An Overview. Resources Conservation & Recycling, 138, pp. 298-312.
Ratanachotinun, J. & Pairojn, P. (2020). Assessment of the Feasibility of Autoclaved Aerated Concrete with Perforation in Thailand. Journal of Applied Science and Engineering, 23(2), pp. 249-259.
Tan, R.B.H. & Khoo, H.H. (2005). Life cycle assessment of EPS and CPB inserts: design considerations and end of life scenarios. Journal of Environmental Management, 74, pp. 195–205.
Wang, X., Liu, L., Zhou, H., Song, T., Qiao, O. & Zhang, H. (2021). Improving the compressive performance of foam concrete with ceramsite: Experimental and meso-scale numerical investigation. Materials & Design, 208, pp. 1-23.
Zhan, B.J., Shi, C.J., Poon C.S. & Xuan, D.X. (2016). Effect of curing parameters on CO2 curing of concrete blocks containing recycled aggregates. Cement and Concrete Composites, 71, pp. 122-130.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ก่อนเท่านั้น