การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดในการตรวจสอบครุภัณฑ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ
คำสำคัญ:
ตรวจสอบครุภัณฑ์, คิวอาร์โค้ด, ครุภัณฑ์, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ใช้ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดในการตรวจสอบครุภัณฑ์ เพื่อพัฒนาระบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดในการตรวจสอบครุภัณฑ์ และเพื่อประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญและศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดในการตรวจสอบครุภัณฑ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน กลุ่มผู้ดูแลระบบที่ปฏิบัติหน้าที่พัสดุ จำนวน 2 คน และกลุ่มผู้ใช้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการตรวจสอบการรับ-จ่ายพัสดุ จำนวน 24 คน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เว็บแอปพลิเคชันระบบตรวจสอบครุภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ พัฒนาด้วยภาษา PHP ร่วมกับ Bootstrap Framework รวมถึงการใช้งานร่วมกับฐานข้อมูล MySQL 2) แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้ดูแลระบบ 3) แบบศึกษาความต้องการระบบ 4) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ สำหรับผลการวิจัยพบว่า ปัญหาจากการดำเนินงานระบบงานเดิมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 ความต้องการระบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดในการตรวจสอบครุภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 สำหรับผลการประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีการทำงานได้อย่างถูกต้องครบทุกฟังก์ชัน ผลการประเมินความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.83 โดยแยกประเด็นเป็นรายด้าน ด้านที่ 1 การตรงตามความต้องการของผู้ใช้ระบบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.83 ด้านที่ 2 ด้านการใช้ประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.85 ด้านที่ 3 การทำงานได้ตามฟังก์ชันงานของระบบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.82
References
ขวัญจุฑา คำบันลือ, วิวัฒน์ มีสุวรรณ และพิชญาภา ยวงสร้อย. (2560). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดเพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับศูนย์รวบรวมสายพันธุ์กล้วยเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(1), น. 184-193.
เจษฎา เปาจีน, รุจโรจน์ แก้วอุไร. (2563). การประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ดในการจัดเก็บข้อมูล ครุภัณฑ์ออนไลน์ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. Journal of Information and Learning, 31(3), น. 37-46.
ปฏิภาณ กิตตินันทวัฒน์. (2563). การประยุกต์ใช้นวัตกรรมคิวอาร์โค้ดเพื่อพัฒนาการเรียนการ สอนภาษาจีน. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 38(3), น. 91-102.
ภัทร ทองสามสี. (2562). การพัฒนาระบบการเข้าถึงข้อมูลประวัติเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยคิวอาร์โค้ดสำหรับครู สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี. วารสารการอาชีวภาคกลาง, 3(2), น. 40-47.
วนัชพร ไกยราช. (2561) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับสอนพฤกษาศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพิจิตร. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
ศรินทิพย์ งามถิ่น. (2563). แนวทางการพัฒนาระบบควบคุมครุภัณฑ์ด้วยบาร์โค้ดสองมิติ (QR Code) กรณี ศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิรน, 17(1), น. 393-407.
สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2560). การวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
อภิชล ทองมั่น กำเนิดว้ำ, เสาวลักษณ์ ยกฉวี. (2563). ระบบคิวอาร์โค้ดและการประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ., 14(2), น. 24-35.
อมลรัฐ โชติกิจนุสรณ์. (2561). การพัฒนาระบบตรวจนับครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ต่อพ่วงด้วยรหัสแถบสองมิติ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(3), น. 183-199.
Widyasari, w. (2019) QR Code-based Learning Development : Accessing Math Game for Children Learning Enhancement. International Journal of Interactive Mobile Technologies (iJIM), 13, pp. 111-124
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ก่อนเท่านั้น