คุณลักษณะอันพึงประสงค์และมาตรฐานผลการเรียนรู้ ของนักศึกษาและบัณฑิต หลักสูตรปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การดำเนินการวิจัยครั้งนี้คณะผู้วิจัยได้สำรวจความพึงพอใจคุณลักษณะอันพึงประสงค์และมาตรฐานผลการเรียนรู้ของนักศึกษาและบัณฑิต หลักสูตรปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษาที่นักศึกษาหรือนักศึกษาออกฝึกประสบการณ์ ครูพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศก์ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร และนักศึกษาจำนวน 300 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสำรวจแบบการประเมินมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562 ฉบับนี้ คือคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์และมาตรฐานผลการเรียนรู้ โดยคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ แบ่งเป็น 6 องค์ประกอบ คือ มีค่านิยมร่วม เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม ยึดมั่นในวิชาชีพครู เป็นผู้เรียนรู้และฉลาดรู้ เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม เป็นผู้มีความสามารถสูงในการจัดการเรียนรู้ และเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง และมาตรฐานผลการเรียนรู้ แบ่งเป็น 6 ด้าน คือด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี ด้านวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการผลการวิเคราะห์พบว่า ระดับความพึงพอใจคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ มีค่าเฉลี่ยเป็น 4.45 อยู่ในระดับ ดี และระดับความพึงพอใจมาตรฐานผลการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเป็น 4.62 อยู่ในระดับ ดีมาก ตามลำดับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ, “เรื่องมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) ”, กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพมหานคร, 2562.
พัชชลัยย์ อนุไชยวงค์ และคณะ. (2563). ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ที่สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 394-408
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: พรอพเพอร์ตี้พริ้นท์.
วิชชุดา คัมภีร์เวช. (2556). ความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีต่อการจัดการสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ การศึกษาตามหลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ). กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.สำนักทดสอบทางการศึกษา สทศ. (2563). ประกาศผลสอบ O-NET. เรียกใช้เมื่อ 1 กรกฎาคม 2563 จาก https://www.niets.or.th/th/catalog/view/2989
วิกานดา สง่ามิน. “คุณลักษณะ อัน พึง ประสงค์ ของ มหาบัณฑิต หลักสูตร บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต สาขา วิชาการ บริหารธุรกิจ คณะ วิทยาการ จัดการ มหาวิทยาลัย ราชภัฏ เพชรบุรี ตาม มุม มอง ของ ผู้ ใช้ บัณฑิต อาจารย์ และ นักศึกษา” วารสาร วิชาการ มหาวิทยาลัย ราชภัฏ เพชรบุรี 12.1 (2022): 85-93.
สุธิดา ทองคำ และคณะ. (2567). คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของนักศึกษาครุศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยราชภัฎ. เรียกใช้เมื่อ 5 มิถุนายน 2567 จาก file:///C:/Users/patch/Downloads/HDO1.pdf
พิสุทธิ์ การบุญ และคณะ. “การศึกษาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติโดยใช้การจัดการเรียนการสอนด้วยสุยโมเดล ของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี” คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2561 หน้า 28
เดโช แขน้ำแก้ว และคณะ. “คุณลักษณะด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและรับผิดชอบของบัณฑิตพัฒนาชุมชนที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ระหว่างปี พ.ศ.2557-2561” Journal of Roi Kaensarn Academi 6.12 (2021): 110-122.