การศึกษาอิทธิพลของมุมการบิดแม่เหล็กต่อสมรรถนะของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดเล็ก
คำสำคัญ:
มุมการบิดแม่เหล็ก เครื่องกำเนิดไฟฟ้า โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดเล็กบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและทดสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดแม่เหล็กถาวร สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดเล็ก และศึกษาอิทธิพลของมุมการบิดแม่เหล็กต่อสมรรถนะของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยการสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ใช้ขดลวดทองแดงเบอร์ #20 พันขดลวดจำนวน 320 รอบต่อ 1 ร่องสล๊อต ใช้ขดลวด 9 ขด ทำการศึกษาชุดแม่เหล็กจำนวน 2 ชุด คือ แม่เหล็กชุดที่ 1 ไม่มีการบิดแม่เหล็ก และแม่เหล็กชุดที่ 2 ทำการบิดแม่เหล็ก 30o แต่ละชุดใช้แม่เหล็กขนาด 50 mm x 25 mm x 10 mm จำนวน 24 อัน ซึ่งแต่ละอันมีความเข้มสนามแม่เหล็กเท่ากับ 0.65 T โดยติดตั้งชุดแม่เหล็กถาวรกับชุดขดลวดที่ระยะห่างเท่ากับ 2.75 mm เมื่อทดสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ความเร็วรอบ 100-500 RPM โดยใช้โหลดเป็นหลอดไฟฟ้าขนาด 24 V 60 W จำนวน 4 หลอด พบว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้ามีค่าสูงขึ้นเมื่อความเร็วรอบมีค่ามากขึ้น และแม่เหล็กชุดที่ 1 มีค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าและกำลังไฟฟ้าสูงกว่าแม่เหล็กชุดที่ 2 โดยที่ความเร็วรอบ 500 RPM แรงเคลื่อนไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าและกำลังไฟฟ้ามีค่าสูงสุดเท่ากับ 103.70 V 2.55 A และ 264.43 W ตามลำดับ
References
ชัยนุสนธ์ เกษตรพงศ์ศาล, และมนตรี สุขเลื่อง. (2558). การสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าซิงโครนัสความเร็วรอบต่ำชนิดแม่เหล็ก
ถาวรจากมอเตอร์เหลือทิ้ง. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 25(3), 361-370.
ณัฐพงษ์ ประพฤติ, และพุทธพร เศวตสกุลานนท์. (2559). เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำพลังงานลมแบบเชื่อมต่อกับระบบ
ไฟฟ้ากำลังขนาด 750 วัตต์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(3), 120-126.
ธนสาร ฐานะวุฑฒ์. (2553). การจัดการองค์ความรู้สำหรับการออกแบบ ติดตั้ง ใช้งานของเครื่องกังหันพลังน้ำขนาดเล็ก
มาก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ไพรวัลย์ พงษ์หวาน, ชัยนุสนธ์ เกษตรพงศ์ศาล, และมนตรี สุขเลื่อง. (2558). การสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำแบบทวีคูณ
สำหรับกังหันลมขนาดเล็ก. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่ง
ประเทศไทยครั้งที่ 8 (หน้า 279-282). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
อัศวิน ปศุศฤทธากร. (2552). การประเมินสมรรถนะของกังหันน้ำขนาดเล็กแบบหลุกต่ำเพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า.
(วิทยานิพนธ์ปริญญาโท). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
อัศวเทพ สารปิน, วรจักร์ เมืองใจ, และธีระศักดิ สมศักดิ. (2560). การออกแบบและทดสอบสมรรถนะทางเทคนิคของเครื่อง
กำเนิดไฟฟ้าแบบแม่เหล็กถาวรแบบสองโรเตอร์สามสเตเตอร์สำหรับกังหันน้ำแบบไหลขวาง. วารสารวิชาการปทุมวัน,
(19), 15-31.
Elbatran, A. H., Mohamed, W. A-H., Yaakob, O. B., Ahmed, M., and Arif, M. (2015). Hydro Power and Turbine
Systems Reviews. Jurnal Teknologi (Sciences & Engineering), 74(5), 83-90.
Abhijit, D., Ashwin, D., and Aliakbar, A. (2012). Performance investigation of a simple reaction water turbine
for power generation from low head micro hydro resources. Smart Grid and Renewable Energy, 3,
-245.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 Loei Rajabhat University
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์