ผลของแบบจำลองเซลล์เสริมสารสกัดคลอโรฟิลล์จากพืช ต่อปริมาณออกซิเจนละลายน้ำในน้ำเสียสังเคราะห์

ผู้แต่ง

  • ธีรวัฒน์ สีทองแดง ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร 10110
  • บุรินทร์ มนตรีวิสัย ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร 10110
  • ทรงกลด ใบยา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร 10110
  • อาภรณ์ บัวหลวง วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • สุรศักดิ์ ละลอกน้ำ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร 10110
  • บงกช บุญบูรพงศ์ -

คำสำคัญ:

แบบจำลองเซลล์, สารสกัดคลอโรฟิลล์, ออกซิเจนละลายน้ำ, น้ำเสียสังเคราะห์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของแบบจำลองเซลล์เสริมสารสกัดคลอโรฟิลล์จากพืชต่อปริมาณออกซิเจนละลายน้ำในน้ำเสียสังเคราะห์ โดยสกัดคลอโรฟิลล์จากใบพืช จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ชะพลู (Piper sarmentosum) บัวบก (Centella asiatica) และ เตย (Pandanus amaryllifolius) ชนิดละ 10 กรัม สกัดด้วยน้ำปริมาตร 100 มิลลิลิตร นำสารสกัดคลอโรฟิลล์จากพืชผสมกับสารละลายโซเดียมอัลจิเนต ความเข้มข้นร้อยละ 0.5 1.0 1.5 และ 2.0 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร จากนั้นนำไปทำปฏิกิริยากับสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ ความเข้มข้นร้อยละ 0.5 1.0 1.5 และ 2.0 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร พบว่า สูตรเซลล์ตรึงที่เหมาะสมในการแบบจำลองเซลล์เสริมสารสกัดคลอโรฟิลล์จากพืช คือ สารผสมที่มีความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมอัลจิเนตร้อยละ 2.0 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร ที่ทำปฏิกิริยากับสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ความเข้มข้นร้อยละ 1.0 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร และนำไปศึกษาชนิดแบบจำลองเซลล์เสริมสารสกัดคลอโรฟิลล์จากพืชชนิดต่าง ๆ ต่อความสามารถในการเพิ่มปริมาณออกซิเจนละลายน้ำในน้ำเสียสังเคราะห์ โดยใช้เครื่องวัดออกซิเจนละลายน้ำ พบว่า แบบจำลองเซลล์เสริมสารสกัดคลอโรฟิลล์จากใบชะพลูมีความสามารถเพิ่มปริมาณออกซิเจนละลายน้ำในน้ำเสียสังเคราะห์สูงสุด มีค่าปริมาณออกซิเจนละลายน้ำเท่ากับ
7.51 มิลลิกรัมต่อลิตร ในเวลา 60 นาที รองลงมา คือ ใบบัวบก และ ใบเตย เท่ากับ 6.82 และ 5.45 มิลลิกรัมต่อลิตร
ในเวลา 60 นาที ตามลำดับ ในขณะที่ชุดควบคุมมีค่าปริมาณออกซิเจนละลายน้ำเท่ากับ 4 มิลลิกรัมต่อลิตร จากการศึกษานี้อธิบายได้ว่าแบบจำลองเซลล์เสริมสารสกัดคลอโรฟิลล์จากพืชสามารถเพิ่มออกซิเจนละลายน้ำในน้ำเสียสังเคราะห์ได้ และสามารถนำไปใช้ในกระบวนการบำบัดน้ำเสียได้ 

Author Biographies

ธีรวัฒน์ สีทองแดง, ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร 10110

 

 

บุรินทร์ มนตรีวิสัย, ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร 10110

 

 

ทรงกลด ใบยา, ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร 10110

 

 

อาภรณ์ บัวหลวง, วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

 

สุรศักดิ์ ละลอกน้ำ, ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร 10110

 

 

 

References

Danyuttasilp, Y., and Laloknam, S. (2013). Increasing of Oxygen Contents in Waste Water from Sansab Canal under Laboratory Room Using Filamentous Cyanobacteria. Advanced Science, 13(2), 24-34. (in Thai)

Dinesh, K. S., Santhanam, P., Park, M. S., and Kim, M.K. (2016). Development and application of a novel immobilized marine microalgae biofilter system for the treatment of shrimp culture effluent. Journal of Water Process Engineering, 13,137–142.

Jangiam, W. (2018). Development of paper mill wastewater treatment by using alginate immobilization with microorganism in pack bed Bioreactor to degradation of cellulose. Research Reports. Chon buri: Department of Chemical Engineering, Faculty of Engineering, Burapha University. (in Thai)

Johnson, D. (2006). The Manganese-calcium oxide cluster of Photosystem II and its assimilation by the Cyanobacteria. Tallahassee: Department of Chemistry Florida State University.

Kaewkrajay, C., and Sinthunawa, P. (2015). Immobilization of Saccharomyces cerevisiae to Sugarcane Bagasse for Fuel Ethanol Production. Burapha Science Journal, 20(2), 96 – 111. (in Thai)

Kongsook, S., Nasaree, T., Khotsa, S., Rungrot, N., Phonchaiya, S., and Wuttisela, K. (2020). Synthesis and characterization of coloured calcium alginate noodles. Journal of Science and Science Education, 3(1), 1-7. (in Thai)

Lage, S., Toffolo, A., and Gentili, F. G. (2021). Microalgal growth, nitrogen uptake and storage, and dissolved oxygen production in a polyculture based-open pond fed with municipal wastewater in northern Sweden. Chemosphere, 276, 130122.

Laloknam, S., and Sirisopana, S. (2011). Learning Achievement and Learning Retention of Local Lower Secondary Students with an Activity Package of Basic Water Quality Tests. Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning, 2(2), 119–131. (in Thai)

Montrewisai, B., Seethongdaeng, T., Baiya, S., Boonburapong, B., Bualuang, A., and Laloknam, S. (2021). Production of immobilized cyanobacteria Oscillatoria for increasing of oxygen contents in synthetic wastewater. Prawarun Agricultural Journal, 18(2), 16 – 23.

Pattanapipitpaisal, P., and Roopngam, D. (2014). Decolorization of Azo Dyes by Immobilized Bacterial Consortium Beads. Journal of Science Ladkrabang, 23(2), 17-29. (in Thai)

Peerapornpisan, Y. (2015). Freshwater algae in Thailand. Third Edition. Chaing mai: Department of Biology, Faculty of Science, Chiang Mai University. (in Thai)

Pollution control department. (2020). Water Quality Index : WQI. Retrieved May 23, 2020, from https://rwater.mnre.go.th/front/main/WaterQuality/indicator. (in Thai)

Shen, Y., Gao, J., and Li, L. (2017) Municipal wastewater treatment via co-immobilized microalgal-bacterial symbiosis: Microorganism growth and nutrients removal. Bioresource Technology, 1(243), 905-913.

Suktalord, P., Pratsaphan, R., Rakchad, S., Petchpool, T, Kerdsombat, P., and Laloknam, S. (2016). The Use of Alga as Water Quality Indicator in Sansab Canal. Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning, 7(1), 14-27. (in Thai)

Taiz, L., Møller, I. M., Murphy, A. S., and Zeiger, E. (2022). Plant Physiology and Development. 7th Edition. Massachusetts: Sinauer Associates.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-24