อิทธิพลหลักและปฏิสัมพันธ์ของการจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบ SSCSE และแบบการเรียนรู้ต่อผลสัมฤทธ์ิ ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องสถิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

Mathasit Tanyarattanasrisakul

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอิทธิพลหลักและปฏิสัมพันธ์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้และแบบการเรียนรู้ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิฺทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ หลังเรียน ระหว่างนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCSE กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ หลังเรียน ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCSE กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จานวน 71 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ของโรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม การดาเนินการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง แบบแผนการทดลองแบบวัดผลก่อนและหลัง มีกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิท์ างการเรียน และแบบสารวจการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวิด คอล์บ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีอิทธิพลหลักต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่แบบการเรียนรู้ไม่มีอิทธิพลหลักต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ และไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้และแบบการเรียนรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ หลังเรียน ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCSE สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ หลังเรียน ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCSE สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
Tanyarattanasrisakul, M. (2018). อิทธิพลหลักและปฏิสัมพันธ์ของการจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบ SSCSE และแบบการเรียนรู้ต่อผลสัมฤทธ์ิ ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องสถิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารคณิตศาสตร์ โดยสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, 62(692), 51–67. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/MJMATh/article/view/157590
บท
Research Article

References

[1] กรมวิชาการ, กลวิธีการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับวิธีการเรียน (Learning Style), กทม: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2544.
Academic Department, Strategies for Teaching which Consistence by Learning Style, Bangkok: Kurusapa Lat Phrao Press, 2001 (in Thai).

[2] กัลยา วานิชย์บัญชา, หลักสถิติ, กทม: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2551. K. Wanitchabancha, Principle of Statistics, Bangkok: Chulalongkorn University Press, 2008 (in Thai).

[3] คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551, กทม: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร, 2551.
Office of the Basic Education Commission, Core Curriculum for Basic Education Act 2551, Bangkok: Chumnumgankaset Press, 2008 (in Thai).

[4] ชานนท์ จันทรา, ขั้นตอนการวิธีพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์สำหรับครู, กทม:สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2553.
C. Jantra, Algorithm of Math-Proof for Teacher, Bangkok: Kasetsart University Press, 2010 (in Thai).

[5] ชูศรี วงศ์รัตนะ, เทคนิคการใช้สถิติเพือ่ การวิจัย, นนทบุรี: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์โปรเกรสซิฟ จำกัด, 2552.
C. Wongrattana, Technique for Using Statistics for Research, Nonthaburi: Trinearamitgit Interprogressive, 2009 (in Thai).

[6] ญานิศา ศรีโชติ, “การพัฒนาชุดกิจกรรมด้วยวิธีการสอนแบบ SSCS เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวสา หรับนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1,” การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง, กศ.ม, มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2554.
Y. Srichoat, “The Development of Learning Kit by SSCS Model Application on Linear Equation with One Variable for Mathayomsuksa 1 Students,” Independent Study of Master Degree on Education, Nareasuan University, 2011 (in Thai).

[7] ทิศนา แขมมณี, ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ทีมี่ประสิทธิภาพ, กทม: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.
T. Kammanee, Science of Teaching: Knowledge for the Effective in Learning Management, Bangkok: Chulalongkorn University Press, 2009 (in Thai).
[8] พิชิต ฤทธิ์จรูญ, หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา, กทม: เฮ้า ออฟ เคอร์มิสท์, 2552.
P. Ritjaroon, Principle of Education Measurement and Evaluation, Bangkok: House of Kermit, 2009 (in Thai).

[9] มณีรัตน์ พันธุตา, “การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของ POLYA,” วารสารศึกษาศาสตร์, ปีที่ 8, ฉบับที่ 4, 2557.
M. Panthuta, “A Study of Mathematics Problem Solving Ability and Achievement of Mathayomsuksa 4 Students by SSCS Model and Polya,” Journal of Education, vol. 8, no. 4, 2014 (in Thai).

[10] เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี, การสร้างแบบทดสอบผลสัมฤทธทิ์ างการเรียน, กทม: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.
Y. R. Wibunsri, Construction of Achievement test, Bangkok: Chulalongkorn University Press, 2012 (in Thai).

[11] ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ, เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้, กทม: สำนักพิมพ์ชมรมเด็ก, 2543.
L. and A. Saiyot, Technique of Learning Assessment, Bangkok: Chomromdek Press, 2000 (in Thai).

[12] สุภาพร ปิ่นทอง, “การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ SSCS และการสอนโดยใช้เทคนิค KWDL,” วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2554.
S. Phindthong, “A Comparison of Mathematics Problem Solving Skills Application of Inequality and Attitudes towards Mathematics of
Mathayomsuksa 3 Students, who Learning by SSCS Model and KWDL Technique,” Thesis of Master Degree on Secondary Education,
Srinakarinwirot University, 2011 (in Thai).

[13] อาภรณ์ ใจเที่ยง, หลักการสอน, กทม: สา นักพิมพ์โอเดี่ยนสโตร์, 2553.
A. Jaitheang, Principle of Teaching, Bangkok: Ordain Store Press, 2010 (in Thai).

[14] K. David, The Organizational Behavior Reader, Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-hall Inc., 1995.