ผลของเชื้อแบคทีเรียที่แยกได้จากลำไส้กุ้งฝอยต่อการเจริญเติบโตและการรอดชีวิตของกุ้งฝอย

ผู้แต่ง

  • ภาณุมาส วงค์พุทธะ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สังวาลย์ แก่นโส ภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สุทธนา ปลอดสมบูรณ์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การเพาะเลี้ยง, กุ้งฝอย, โปรไบโอติกส์

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของการใช้แบคทีเรียไอโซเลตที่แยกได้จากลำไส้กุ้งฝอย (P_NA และ P_MRS) และบ่อเลี้ยงปลา (F_NA) ต่อการเพิ่มน้ำหนัก ความยาวลำตัว และอัตราการรอดชีวิตของกุ้งฝอย (M. lanchesteri) วางแผนการทดลองแบบสุ่ม 3 ซ้ำ โดยเลี้ยงกุ้งฝอยในกะละมังพลาสติกสีดำทึบแสง ความหนาแน่น 10 ตัวต่อลิตร เลี้ยงด้วยอาหารกุ้งสำเร็จรูปผสมเชื้อ แบคทีเรีย 3 ไอโซเลต P_NA, P_MRS และ F_NA ให้อาหารกุ้งสำเร็จรูปปริมาณเท่ากันทุกชุดการทดลอง โดยแบ่งเป็น 4 ชุด การทดลอง ได้แก่ ชุดควบคุม, ชุด F_NA, ชุด P_NA และชุด P_MRS ทำการชั่งน้ำหนักและวัดความยาวลำตัวของกุ้งฝอยทุก ๆ 7 วัน เป็นเวลา 21 วัน เมื่อสิ้นสุดการทดลองในวันที่ 21 พบว่า น้ำหนักเฉลี่ยของกุ้งฝอยในแต่ละชุดการทดลองเพิ่มขึ้นเป็น 0.37±0.07, 0.33±0.04, 0.39±0.11 และ 0.40±0.08 กรัม ตามลำดับ ความยาวมาตรฐาน (Standard Length) เพิ่มขึ้นเป็น 19.56±1.29, 18.76±0.80, 19.90±1.97 และ 20.19±1.41 มิลลิเมตร ตามลำดับ อัตราการรอดชีวิตของกุ้งฝอยในชุดควบคุม เท่ากับร้อยละ 60, ชุด F_NA เท่ากับร้อยละ 80, ชุด P_NA และ ชุด P_MRS เท่ากับร้อยละ 100 ที่ 21 วัน จากการวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ยความแปรปรวนของน้ำหนักและความยาวของกุ้งฝอยที่เลี้ยงด้วยอาหารกุ้งสำเร็จรูปผสมเชื้อแบคทีเรียทั้ง 3 ไอโซเลต พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05)

References

นิตยา ยิ้มเจริญ. (2549). การใช้จุลินทรีย์โปรไบโอติกในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

นฤมล รัตนขันแสง, ชลอ ลิ้มสุวรรณ และ นิติ ชูเชิด. (2556). ผลของโพรไบโอติก (Bacillus spp.) และคุณสมบัติของน้ำต่อ การเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายในการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei). การประชุมทาง วิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 51: กรุงเทพ. 286-293.

ยุทธนา อีรัสคาน, ณรงค์ พลวารี, มนทกานติ ท้ามติ้น, วิทยา หะวานนท์ และ สุพิศ ทองรอด. (2555). ผลของอาหารต่อ การลอกคราบ การเจริญเติบโต และอัตราการรอดตายของปูทะเล (Scylla olivacea, Herbst 1796) ในการผลิตปูนิ่ม. สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดระนอง กรมประมง: ระนอง. 22 หน้า.

วิลาวัณย์ รุ่มรวย, สุรวัฒน์ ชะลอสันติสกุล, สมฤดี ศิลาฤดี และ จารุณี เกษรพิกุล. (2554). ผลของคิว.พี. โปรไบโอติกส์ต่อ การเจริญเติบโตของปลานิล. วารสารคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร 2(3): 1-7.

สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. (2545). ภาพปลาและสัตว์น้ำของไทย. องค์การค้าของคุรุสภา: กรุงเทพฯ. 323 หน้า.

อภิฤดี สงสุข, นิจธร สังข์ศิรินทร์ และ พัชรินทร์ สุวรรณมาลี. (2561). ผลของโพรไบโอติก Bacillus subtilis ต่อการควบคุม Vibrio spp. และอัตรารอดตายในการอนุบาลลูกกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei). แก่นเกษตร 46 (ฉบับพิเศษ 1): 961-967.

Byun, J. W., Park, S. C., Benno, Y. and Oh, T.K. (1997). Probiotic effect of Lactobacillus sp. DS-12 in flounder (Paralichthys olivaceus). Journal of General and Applied Microbiology, 43(5), 305-308.

Food and Agriculture Organization of the United Nations World Health Organization. (2001). Probiotics in food: health and nutritional properties and guidelines for evaluation. United Nations: Rome.

Mohammadi, F., Mousavi, S. M., Zaker, M. and Ahmadmoradi, E. (2016). Effect of dietary probiotic, Saccharomyces cerevisiae on growth performance, survival rate and body biochemical composition of three spot cichlid (Cichlasoma trimaculatum). AACL Bioflux, 9(3), 451-457.

Smith, P. and Davey, S. (1993). Evidence for the competitive exclusion of Aeromonas salmonicida from fish with stress inducible furunculosis by a fluorescent pseudomonad. Journal of Fish Diseases, 16(5), 521-524.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01

How to Cite

วงค์พุทธะ ภ., แก่นโส ส., & ปลอดสมบูรณ์ ส. (2020). ผลของเชื้อแบคทีเรียที่แยกได้จากลำไส้กุ้งฝอยต่อการเจริญเติบโตและการรอดชีวิตของกุ้งฝอย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 1(1), 24–30. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ScienceRERU/article/view/241763