ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์พื้นบ้านพืชวงศ์ขิงในอำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • อารีรัตน์ รักษาศิลป์ สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วิไลจิตร นำพูลสุขสันต์ หน่วยวิจัยอนุกรมวิธานพืชและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและการประยุกต์ใช้ สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุรพล แสนสุข หน่วยวิจัยอนุกรมวิธานพืชและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและการประยุกต์ใช้ สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ปิยะพร แสนสุข หน่วยวิจัยอนุกรมวิธานพืชและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและการประยุกต์ใช้ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ความหลากหลาย, พืชวงศ์ขิง, การใช้ประโยชน์พื้นบ้าน

บทคัดย่อ

ศึกษาความหลากหลายและการใช้ประโยชน์พื้นบ้านพืชวงศ์ขิงในอำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม โดยศึกษาระหว่าง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 พบพืชวงศ์ขิงจำนวน 14 ชนิด ได้แก่ ว่านมหาเสน่ห์ (Alpinia mutica Roxb.) ข่าบ้าน (A. galanga L.) ข่าตาแดง (A. siamensis K. Schum.) กระชาย (Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.) กระเจียวแดง (Curcuma angustifolia Roxb.) ขมิ้น (C. longa L.) กระเจียวขาว (C. singularis Gagnep.) ว่านดอกทอง (Elettariopsis wandokthong Picheans & Yupparach) ดาหลา (Etlingera elatior (Jack) R. M. Sm) ดอกเข้าพรรษา (Globba schomburgii C. H. Wright) มหาหงส์ (Hedychium coronarium J. Koenig) ขิง (Zingiber officinale Roscoe) ไพล (Z. montanum (Koenig) Link ex Dietr.) และอีทือ (Z. Zerumbet (L.) Sm.) รายงานการใช้ประโยชน์พืชวงศ์ขิง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการประกอบอาหารและเครื่องเทศ (ร้อยละ 49.25) ยารักษาโรค (ร้อยละ 25.44) ไม้ประดับ (ร้อยละ 9.02) สีย้อมผ้า (ร้อยละ 4.89) การประกอบพิธีกรรม (ร้อยละ 7.89) และพืชเศรษฐกิจ (ร้อยละ 4.14) ส่วนของพืชที่นำมาใช้ประโยชน์ ได้แก่ เหง้า (ร้อยละ 40) ลำต้นเหนือดิน (ร้อยละ 20) ช่อดอก (ร้อยละ 20) ราก (ร้อยละ 10) และทั้งต้น (ร้อยละ 10)

References

จรัญ มากน้อย, สุรพล แสนสุข, เกศริน มณีมูน และวิทยา ปองอมรกุล. (2559). การใช้ประโยชน์พืชวงศ์ขิง.องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม.

พวงเพ็ญ ศิริรักษ์. (2551). การศึกษาพืชวงศ์ขิง (Zingiberaceae) ในประเทศไทย. NUScience, 5(2), 119 – 128.

พัชรียา บุญกอแก้ว. (2556). บัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพพืชวงศ์ขิง. สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)

สุรพล แสนสุข, ปิยะพร แสนสุข และณชยุต จันท์โชติกุล. (2560). ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์พื้นบ้านของพืชวงศ์ขิง ในจังหวัดหนองคายประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 45(3), 574-594.

สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์ุพืช. (2557). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ (ฉบับแก้ไข เพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืชกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธ์ุพืช.

Larsen, K. and Larsen, S. S. (2006). Gingers of Thailand. Queen Sirikit Botanic Garden, Chiamg Mai, Thailand.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01