การเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างการรับประทานวุ้นรางจืดร่วมกับการอบสมุนไพรกับ การรับประทานวุ้นรางจืดในการลดระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง

ผู้แต่ง

  • อรุณรัตน์ ปัญจะ กลิ่นเกษร สาขาสาธารสุขศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ธวัชชัย ดาเชิงเขา สาขาสาธารสุขศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

เกษตรกร, เอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส, วุ้นรางจืด

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi–experimental research) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่าง การรับประทานวุ้นรางจืดร่วมกับการอบสมุนไพรกับการรับประทานวุ้นรางจืดในการลดระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส ในเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จำนวน 40 คน โดยศึกษาเปรียบเทียบ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 การรับประทาน วุ้นรางจืดร่วมกับการอบสมุนไพร กลุ่มที่ 2 การรับประทานวุ้นรางจืด โดยมีการวัดผลความรู้การป้องกันอันตรายจากสาร กำจัดศัตรูพืชและตรวจวัดระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสด้วยชุดตรวจโลหิตหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสใช้กระดาษ ทดสอบแบบพิเศษ และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบติดตามพฤติกรรมการรับประทานวุ้นรางจืดและ การอบสมุนไพร ในช่วงเดือน กรกฎาคม–ตุลาคม พ.ศ. 2562 ใช้โปรแกรม SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า การรับประทาน วุ้นรางจืดร่วมกับการอบสมุนไพร มีประสิทธิภาพในการลดระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสมากกว่า การรับประทานวุ้นรางจืด เพียงอย่างเดียว โดยกลุ่มที่รับประทานวุ้นรางจืดร่วมกับอบสมุนไพรเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสอยู่ในระดับ ปลอดภัย ร้อยละ 50.00 ส่วนกลุ่มที่รับประทานวุ้นรางจืดเพียงอย่างเดียวเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส อยู่ในระดับปลอดภัย ร้อยละ 15.00 ดังนั้นควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงรับประทานวุ้นรางจืดร่วมกับ การอบสมุนไพร เพราะเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านและสามารถหาได้ง่ายในชุมชน

References

กรมควบคุมโรค. (2557). สารกำจัดหนูและสัตว์ฟันแทะ. สืบค้น 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562, จาก https://ddc.moph.go.th

กรมพัฒนาแพทย์แผนไทย. (2555). ความหมายของการอบสมุนไพร. สืบค้น 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562, จาก https://thaicam.go.th

ชลดา จัดประกอบ. (2557). รางจืดแก้พิษ. สืบค้น 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562, จาก http://www.ttmed.psu.ac.th

นายิกา เทพขุน. (2557). ความหมายของรางจืด. สืบค้น 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562, จาก www.dms.moph.go.th

พะยอม กันชัย, สุวภัทร บุญเรือน และ วิไลลักษณ์ สุกใส. (2558). ผลของการอบไอน้ำสมุนไพรร่วมกับการรับประทานชาชง สมุนไพรรางจืดต่อระดับโคลีนเอสเตอเรสในกระแสเลือดกลุ่มเกษตรกรเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลร้อง เอี่ยน อำเภอปง จังหวัดพะเยา. สืบค้น 30 มิถุนายน 2562, จาก https://administer.pi.ac.th

พันธ์เทพ เพชรผึ้ง. (2558). ผลกระทบทางสุขภาพจากการใช้พาราควอตและแนวทางจัดการความเสี่ยง กรณีศึกษา ตำบลปงสนุก อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน. วารสารเภสัชกรรมไทย. ปีที่ 7 เล่มที่ 2 กค-ธค.

ภัทราธร จรรยาเลิศอดุลย์. (2559). ผลของสารน้ำสกัดรางจืดต่อระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสในกระแสเลือดของเกษตรกรที่ เคยสัมผัสสารพิษ จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มูลนิธิเพื่อพัฒนาการแพทย์ทางเลือก. (2549). รางจืดสมุนไพรแก้พิษ. สืบค้น 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562, จาก http://thaicamdb.info

วัชราภรณ์ วงศ์สกุลกาญจน์ศิริศักดิ์ มังกรทอง, และประจวบลาภ เที่ยงแท้. (2561). พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.

ศราวุฒิ โสมา และคณะ. (2561). นวัตกรรมชาชงรางจืดและวุ้นใบรางจืดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในเขตพื้นที่บ้านจบก ตำบลตระเปียงเตีย อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์. สืบค้น 30 มิถุนายน 2562, จาก http://www.ttmed.psu.ac.th

สุทธิรัตน์ พิมพ์พงศ์. (2557). สรรพคุณของรางจืด. สืบค้น 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562, จาก http://www.repository.li.mahidol.ac.th

สุนทรี ปลั่งกมล. (2558). การพัฒนาแนวทางการลดใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตำบลหนองยาว อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. สารนิพนธ์นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนคร.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). รายงานสรุปการนำเข้าสารเคมีอันตรายทางการเกษตรในประเทศไทย. สืบค้น 10 สิงหาคม 2562, จาก http://www.oae.go.th.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). ข้อมูลอาชีพเกษตรกรในประเทศไทย พ.ศ.2562. จากhttp://www.nso.go.th

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. (2561a). รายงานผู้ป่วยโรคพิษจากสารเคมีทางเกษตรกร. สืบค้น 5 กันยายน พ.ศ. 2562, http://www.sasuk101.moph.go.th

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. (2561b). รายงานอันตรายจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรในจังหวัดร้อยเอ็ด. สืบค้น 10 สิงหาคม 2562, จากhttp://www.sasuk101.moph.go.th

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2562). รายงานจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่มีสาเหตุมาจากการรับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. สืบค้น 5 กันยายน พ.ศ. 2562, จาก https://www.nhso.go.th

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2558a). องค์ความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัส สารเคมีกำจักศัตรูพืช โดยกระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในหน่วยบริการสุขภาพ ปฐมภูมิ. จาก http://www.oic.go.th

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2558b). ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมในการใช้สารเคมี. กรุงเทพฯ. สืบค้น 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562, จาก http://envocc.ddc.moph.go.th

อรุณรัตน์ ปัญจะ กลิ่นเกษร และเพชรัตน์ ศิริสุวรรณ. (2560). การพัฒนาศักยภาพการใช้สารคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่ ถูกต้องและปลอดภัยของเกษตรกร. สารนิพนธ์นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

อัญชลี จูฑาพุทธิ. (2554). ความหมายของรางจืด. สืบค้น 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562, จาก https://www.pharmacy.mahidol.ac.th

Bloom, B.S. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of student Learning. New York: Mc Grew Hill.

Kwiatkowska, M., Reszka, E., Wozniak, K., Jabłonska, E., Michałowicz, J. and Bukowska, B. (2017). DNA damage and methylation induced by glyphosate in human peripheral blood mononuclear cells (in vitro study). Food and Chemical Toxicology, 105, 93-98.

Samsel, A. and Seneff, S. (2013). lyphosate’s suppression of cytochrome P450 enzymes and amino acid biosynthesis by the Gut Microbiome: Pathways to modern diseases. Entropy, 15(4), 1416-1463

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01