การเสริมฟักทองเป็นแหล่งสารสีธรรมชาติในอาหารไก่ไข่ต่อผลผลิต และคุณภาพไข่
คำสำคัญ:
ฟักทอง, ผลผลิตไข่, คุณภาพไข่บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเสริมฟักทองเป็นแหล่งสารสีธรรมชาติต่อผลผลิตและคุณภาพไข่ โดยใช้ไก่ไข่พันธุ์โรมันบราวน์ อายุ 34 สัปดาห์ จำนวน 18 ตัว ระยะเวลาทดลอง 60 วัน และวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ แบ่งเป็น 3 กลุ่มทดลอง กลุ่มละ 3 ซ้ำ ซ้ำละ 2 ตัว ได้แก่ กลุ่มควบคุม (ไม่เสริมฟักทอง) กลุ่มเสริมฟักทอง 10 และ 20 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ผลการทดลอง พบว่า การเสริมฟักทองในระดับ 10 และ 20 เปอร์เซ็นต์ ไม่ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่กิน ผลผลิตไข่ และคุณภาพไข่ ได้แก่ น้ำหนักไข่ ค่าฮอฟ์ยูนิต และความสูงของไข่ขาว อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาสีของไข่แดง พบว่า การเสริมฟักทองในอาหารไก่ ทำให้สีของไข่แดงเพิ่มขึ้นแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ดังนั้น การเสริมฟักทองในอาหารไก่ไข่ ส่งผลให้สีของไข่แดงเข้มขึ้น และไม่ส่งผลกระทบต่อผลผลิต และคุณภาพไข่
References
คคนางค์ รัตนานิคม, นิภา นาสินพร้อม และธนิตพันธ์ พงษ์จงมิตร. (2562). การเร่งสีไข่แดงโดยการเสริมสาหร่ายสไปรูลินาในอาหารเลี้ยงไก่ไข่. แก่นเกษตร. 47(6) : 1195-1202.
ตรีรัตน์ สายวรรณ์, ประภาศรี ภูวเสถียร, อังคารศิริ ดีอ่วม และครรชิต จุดประสงค์. (2558). คุณค่าทางโภชนาการของไข่ที่นิยมบริโภคและผลของการประกอบอาหาร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 23(4) : 651-666.
ภุชงค์ วีรดิษฐกิจ และไพโชค ปัญจะ. (2558). อิทธิพลของการเสริมใบมะรุมผงในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 23(2) : 293-305.
สุธาทิพย์ ไชยวงศ์, วัชรินทร์ อินสองใจ, คมสัน จันต๊ะยอด, ภราดร ใจดี และสุวรรณ ช่างกลึงดี. (2560). การใช้ประโยชน์จากเนื้อฟักทองบดแห้งเพื่อใช้เป็นแหล่งสารสีในอาหารไก่ไข่. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 48 (ฉบับพิเศษ 2) : 459-464.
สุภาพร อิสริโยดม, ประทีป ราชแพทยาคม, ครวญ บัวคีรี และวิไล สันติโสภาศรี. (2538). การเสริมสารสีจากธรรมชาติบางชนิดในอาหารไก่ไข่. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 33 สาขาสัตว์ สัตวแพทยศาสตร์ กรุงเทพฯ, 30 มกราคม-1 กุมภาพันธ์ 2538. 34-38.
สุวรรณี แสนทวีสุข, อุทัย คันโธ, สุกัญญา จัตตุพรพงค์ และเสกสม อาตมางกร. (2543). การศึกษาประสิทธิภาพของสารสีจากดอกดาวเรืองในอาหารไก่ไข่. การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 38 สาขาสัตว์ และสาขาสัตวแพทยศาสตร์ กรุงเทพฯ. 1-4 กุมภาพันธ์ 2543. 256-269.
ฮานีย๊ะ กะโด, ศิริลักษณ์ วงส์พิเชษฐ และวิศิษย์ เกตุปัญญาพงศ์. (2558). ผลของสารสีจากเมล็ดคำแสดในอาหารไก่ไข่ต่อความเข้มสีไข่แดง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 10 : 17-27.
อุษณีย์ภรณ์ สร้อยเพ็ชร์, ปิยมาสฐ์ ตัณฑ์เจริญรัตน์ และสุธาทิพย์ ไชยวงศ์. (2564). ผลของฟักทองบดแห้งต่อประสิทธิภาพการผลิตไข่ไก่และสีของไข่แดงในสูตรอาหาร. แก่นเกษตร. 48(ฉบับพิเศษ 1) : 64-67.
อัจฉรา นิยมเดชา และมงคล คงเสน. (2556). เมทาบอลิซึมและคุณประโยชน์ของแคโรทีนอยด์ในการเพิ่มความเข้มสีไข่แดง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 5(4) : 112-121.
Pongjanta, J., A. Naulbunrang, S. Kawngdang, T. Manon and T. Thepjaikat. (2016). Utilization of pumpkin powder in bakery products. Songklanakarin Journal of Science and Technology. 28 (Suppl. 1) : 71-79.
Sathiya Mala, K., P. Aathira, E.K. Anjali, K. Srinivasulu and G. Sulochanamma. (2018). Effect of pumpkin powder incorporation on the physico-chemical, sensory and nutritional characteristics of wheat flour muffins. International Food Research Journal. 25(3) : 1081-1087.
Seo, J.S., B. J. Burri, Z. Quan and T. R. Neidlinger. (2005). Extraction and chromatography of carotenoids from pumpkin. Journal of Chromatography A. 1073(1-2) : 371-375.
Zhuye, N.F., G. Yupeng and L. Fuzhu. (2008). Influence of paprika extract supplement on egg quality of laying hens fed whaet-based diet. Poultry Science. 7(9) : 887-889.
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว