การพัฒนาผลิตภัณฑ์สังขยาใบเตยเพื่อสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • ลัดดาวัลย์ กงพลี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ปัทมาภรณ์ เจริญนนท์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

สังขยา, ใบเตย, อาหารสุขภาพ, คุณค่าทางโภชนาการ, จุลินทรีย์

บทคัดย่อ

การพัฒนาสังขยาใบเตยเพื่อสุขภาพโดยการแทนที่ด้วยกะทิธัญพืชสูตรที่ได้รับยอมรับทางประสาทสัมผัสจากกลุ่มตัวอย่างสูงสุดคือสูตรที่ 3 โดยมีส่วนผสมประกอบด้วย กะทิธัญพืช 20 มิลลิลิตร กะทิสด 20 มิลลิลิตร ไข่ไก่ 14 กรัม น้ำใบเตย 24 มิลลิลิตร น้ำตาล 18 กรัม และแป้งข้าวโพด 4 กรัม จะทำให้ได้สังขยาสีเขียวแกมเหลือง โดยมาจากสีของน้ำใบเตยและน้ำมันรำข้าวที่เป็นส่วนประกอบของกะทิธัญพืช และมีค่าความเป็นกรด-เบส อยู่ในช่วง 6-9 ซึ่งจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่เก็บรักษา ทั้งนี้ควรเก็บไว้ในตู้เย็นไม่เกิน 7 วัน ความหนืดและปริมาณน้ำอิสระส่งผลต่อการคงตัวของสังขยา การศึกษาคุณภาพทางจุลินทรีย์พบว่ามีปริมาณจุลินทรีย์รวมน้อยกว่า 1x106 CFU/g และพบเชื้อ Escherichia coli น้อยกว่า 3 MPN/g ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้ก่อนโรค ด้านคุณค่าทางโภชนาการพบว่า ให้ค่าพลังงาน 239.63 กิโลแคลอรี่ มีวิตามินอี และโพแทสเซียมสูงกว่าสูตรควบคุม นอกจากนี้ยังพบว่ามีปริมาณไขมันอิ่มตัวต่ำกว่าสูตรควบคุมซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้บริโภคในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดได้

References

AOAC. 2002. Official Method of Analysis. The Association Official Analysis Chemist. 17th Ed., Verginia.

Arshimny, N., & Syamsu, K. (2020). Production and Characteristic of Natural Coloring and Flavoring Preparations from Pandan Leaves. Conference Series Earth and Environmental Science, 472(1), 1-10. https://doi.org/10.1088/1755-1315/472/1/012014

Chavasit, V., & Recipes, R. (1992). Formulation of Health Food: An Imition of Coconut Milk-Bases Recipes. Institute of Nutrition, 22(4), 16-27. https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/kukr/search_detail/result/29329

Itsornkaisri, C. (2021). Role of Vitamin E in Cardiovascular Disease and Fatty Liver Disease. Thai Journal of Hospital Pharmacy, 31(2), 159-175. https://he02.tcithaijo.org/index.php/TJHP/article/view/249675

Nutrition Division Department of Health Ministry of Public Health. (2003). Recommended Daily Dietary Allowances for Healthy Thais (RDA) (3rd ed.) Printing Organization for the Delivery of good and Parcels. https://nutrition2.anamai.moph.go.th/web-upload/6x22caac0452648c8dd1f534819ba2f16c/202101/m_news/9457/176096/file_download/a72848fb8557732574f6afd877a0a0a3.pdf

Raghavendra, S., & Raghavarao, K. (2010). Effect of Different Treatments for The Destabilization of Coconut Milk Emulsion. Journal of Food Engineering, 97(3), 341-347. https://doi.org/10.1016/j.jfoodeng.2009.10.027

Ruangthamsing, R., Thanapongpichat, S., & Siriwong, N. (2014). Effect of the different coconut milk types on acceptability and nutritional quality of Thong Maun. Proceedings of 52nd Kasetsart University Annual Conference: Fisheries, Agricultural Extension and Home Economics, 444-451. https://kukrdb.lib.ku.ac.th/proceedings/index.php?/KUCON/search_detail/resul /13859

Sajja, P. (2012). Custard. Krua All about Food and Culture, 19(217), 91-95. https://content.lib.ru.ac.th/sites/default/files/data/contents/035-v19-n217-jul-2555.pdf

Samaisong, N. (2020). Dietary Management for Prevention and Reduction Risk of Non-communicable Diseases. Songklanagarind Journal of Nursing, 40(4), 122-130. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nur-psu/article/view/246907

Thai Health official. (20 March 2019). How much sugar can people of different ages eat?. Thai Health Promotion Foundation. https://www.thaihealth.or.th.

Viera, A., & Wouk N. (2015). Potassium Disorders: Hypokalemia and Hyperkalemia. Am Fam Physician, 92(6), 487-495. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26371733/ PMID: 26371733.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-04

How to Cite

กงพลี ล. ., & เจริญนนท์ ป. . (2024). การพัฒนาผลิตภัณฑ์สังขยาใบเตยเพื่อสุขภาพ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 5(3), 1–9. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ScienceRERU/article/view/254693