การพัฒนาเครื่องบีบเมล็ดมะเขือเทศเชอรี่โดยใช้ลูกกลิ้งคู่แบบผิวขรุขระ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในวิสาหกิจชุมชน

ผู้แต่ง

  • นายอานนท์ มุงวงษา วิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
  • โชคดี ปัดนา วิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

: เครื่องบีบเมล็ดมะเขือเทศเชอรี่, ลูกกลิ้งคู่, วิสาหกิจชุมชน, ประสิทธิภาพการผลิต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาเครื่องบีบเมล็ดมะเขือเทศเชอรี่ โดยใช้ลูกกลิ้งคู่แบบผิวขรุขระเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในวิสาหกิจชุมชน โดยเครื่องดังกล่าวใช้ลูกกลิ้งคู่แบบผิวขรุขระและขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับส่งกำลังผ่านสายพานไปยังมู่เลย์ของลูกกลิ้งเพื่อทำการบีบเมล็ดมะเขือเทศออกจากผลการศึกษานี้ได้เปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างการใช้เครื่องบีบเมล็ดมะเขือเทศที่ได้พัฒนาขึ้นกับเครื่องบีบเมล็ดมะเขือเทศแบบเดิม โดยทำการทดลองกับมะเขือเทศเชอรี่ 3 ขนาด ได้แก่ 1, 1.5 และ 2 เซนติเมตร ตามลำดับ ผลการทดลอง พบว่าเครื่องบีบเมล็ดมะเขือเทศที่ได้พัฒนาขึ้นสามารถประหยัดเวลาในการบีบเมล็ดมะเขือเทศได้น้อยกว่าเมื่อเทียบกับเครื่องบีบเมล็ดมะเขือเทศแบบเดิมจึงสามารถสรุปเวลาการทดลองดังนี้ มะเขือเทศขนาด  1, 1.5 และ 2 เซนติเมตร อย่างละ 1 กิโลกรัม ใช้เวลา 1.8 วินาที, 1.12 วินาที และ 1.14 วินาที ตามลำดับ ในขณะที่ใช้เครื่องบีบมะเขือเทศแบบเดิม ใช้เวลา 2.15 วินาที, 2.20 วินาที และ 2.40 วินาที ตามลำดับ ประสิทธิภาพเครื่องบีบเมล็ดมะเขือเทศที่ได้พัฒนาขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องบีบเมล็ดมะเขือเทศแบบเดิมคิดเป็นร้อยละ16.28, 49.09 และ 52.50 เปอร์เซ็นต์

References

Chomsri, P., Ariyawong, C., & Luechai, C. (2023). The study and testing of a temperature and relative humidity control system in tomato greenhouse cultivation. Faculty of Agricultural Technology and Agro-Industry, Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi.

El-Iraqi, M., El Khawaga, S. E. K., & Awais, T. (2012). Design and fabrication of an extraction machine for tomato seeds. Misr Journal of Agricultural Engineering, 29(1), 39–60. https://doi.org/10.21608/mjae.2012.102553

Jing, Y., Sun, Q., & Zhao, Y. (2023). Design of Z profile roller tooling and research on roller clearance. Machines, 11(7), 767. https://doi.org/10.3390/machines11070767

Kiattisak, J., Treeamnuk, T., & Treeamnuk, K. (2021). Development of motorized rheometer for measuring cassava-pulp yield stress and viscosity. International Journal of Engineering Trends and Technology, 69(6), 87–92. https://doi.org/10.14445/22315381/IJETT-V69I6P212

Knowledge for Sustainable Highland Development. (2015). Retrieved June 16, 2024, from https://hkm.hrdi.or.th/knowledge/detail/54

Ponsri, S., & Ponsri, N. (2023). Build a belt sander in grinding and finishing work. Science and Technology Journal of Sisaket Rajabhat University, 3(1), 1–11. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/STJS/article/download/257199/176034/963841

Priscy, R. J., Rai, P. K., Khandka, S., Singh, B. A., & Nihar, B. (2019). Comparative study of magnetic, electric, and botanical seed treatments on seedling characters of tomato (Solanum lycopersicum L.). International Journal of Current Microbiology and Applied Sciences, 8(8), 2785–2791. https://doi.org/10.20546/ijcmas.2019.808.320

West, R., & Nilwarangkul, K. (2009). Self-care of tomato farmers using chemical pesticides in Muanglai Subdistrict, Muang District, Sakon Nakhon Province. 32(4), 73–83. https://doi.org/10.14457/KKU.the.2009.335

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-16