ห่วงโซ่อุปทานของกระบือในตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดเพื่อการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • ก้องเกียรติ สุขเกษม สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • คู่ขวัญ จุลละนันทน์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การผลิตกระบือ, ห่วงโซ่อุปทาน, จังหวัดร้อยเอ็ด

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

              การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ของจัดการกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทานของการผลิตกระบือในตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน โดยใช้ประชากรในการเก็บรวมรวมข้อมูล คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือในตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวนทั้งสิ้น 28 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยใช้ชุดคำถามที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ ข้อมูลที่รวบรวมได้ถูกนำมาวิเคราะห์ตามประเด็นหรือหัวข้อสำคัญที่กำหนดไว้ ผลการศึกษา พบว่ากระบวนการห่วงโซ่อุปทานเริ่มต้นจากการผลิตลูกกระบือต้นน้ำโดยการเลี้ยงของเกษตรกรรายย่อย พันธุ์กระบือที่เลี้ยงส่วนใหญ่จะเป็นกระบือปลักของไทยหรือลูกผสม วิถีการเลี้ยงแบบปล่อยทุ่ง มีการเสริมแร่ธาตุบ้าง ซึ่งผู้เลี้ยงจะทำการขุนขายและใช้ประโยชน์จากมูลสัตว์เป็นหลัก กระบือกลุ่มห่วงโซ่อุปทานต้นน้ำส่วนใหญ่เกิดจากการแลกเปลี่ยนซื้อขายระหว่างเกษตรกรด้วยกันเองภายในพื้นที่ใกล้เคียงผ่านกระบวนการรวบรวมโดยพ่อค้าท้องถิ่นที่เข้าไปซื้อกระบือจากฟาร์มหรือบ้านเกษตรกรนำไปซื้อขายต่อในตลาดนัดโคกระบือ กระบือขนาดเล็กหรืออายุยังน้อยจะเข้าสู่กระบวนการซื้อมาและนำไปขุนต่อก่อนส่งให้พ่อค้าคนกลางนำไปขายอีกครั้ง ถ้าเป็นกระบือขนาดใหญ่มีอายุมากเหมาะสมที่จะนำไปแปรสภาพหรือแปรรูปเพื่อจำหน่ายจะส่งไปยังพ่อค้าที่ทำธุรกิจโรงฆ่าสัตว์โดยตรง ซึ่งจะเข้าสู่กระบวนการห่วงโซ่อุปทานกลางน้ำ หลังจากนั้นพ่อค้าที่ทำธุรกิจโรงฆ่าจะส่งเนื้อกระบือไปยังตลาดสดทางภาคเหนือที่มีความนิยมบริโภคเนื้อกระบือ และกระบือบางส่วนจะถูกขายไปในตลาดชายแดนให้กับผู้บริโภค และ ผู้เลี้ยงกระบือในต่างประเทศ ปัญหาและอุปสรรคในการบริการจัดการห่วงโซ่อุปทานของกระบือในตำบลท่าม่วง พบว่า ขาดการวางแผน ขาดความรู้ด้านการผลิต ขาดเป้าหมายการผลิตที่ชัดเจนและความต้องการการบริโภคในพื้นที่มีค่อนข้างน้อย ระบบการจัดการเป็นแบบแยกส่วนกันทำส่งผลให้ได้ผลตอบแทนที่ต่ำ ควรพัฒนาศักยภาพในวงจรห่วงโซ่อุปทานให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงและผู้เกี่ยวข้อง โดย เกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือควรมีการวางแผนร่วมกันในการกำหนดเป้าหมายในการเลี้ยงที่ชัดเจน ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มของการตลาดควบคู่ไปกับการให้ความรู้ในการผลิต รวมถึงขยายการเลี้ยงให้เป็นไปในลักษณะการรวมกลุ่ม เพื่อพัฒนาการเลี้ยงกระบือของตนและสมาชิกภายในกลุ่มให้สามารถมีรายได้จากการเลี้ยงกระบือให้สูงขึ้นกว่าเดิม ด้านการตลาดเกษตรกรผู้เลี้ยงต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศที่มีความต้องการบริโภคเนื้อกระบือในปริมาณที่มาก เช่น ลาว เวียดนาม และจีน เป็นต้น ส่วนรัฐบาลควรกำหนดแนวทางการพัฒนาการผลิตกระบือให้ได้ทั้งมุมของการอนุรักษ์ การปรับปรุงคุณภาพ การลดต้นทุนทางการค้า และส่งเสริมการผลิตและการส่งออกกระบือ 

References

Aksorn, N., Srihan, S., & Masaeng, P. (2018). Factors affecting the efficiency of buffalo raising of farmers in the buffalo conservation and production development project in Nakhon Phanom Province. Academic work report.

Charasbunhiran, I., & Akarachan, A. (2014). A study of buffalo raising conditions of farmers in Mukdahan Province. Office of Livestock Development and Promotion, Department of Livestock Development.

Department of Livestock Development. (2024). Livestock Statistics in Thailand 2024. Information and Communication Technology Center, Department of Livestock Development. https://ict.dld.go.th/webnew/images/stories/report/regislives/eRegist_2024.pdf

Division of Veterinary Inspection and Quarantine. (2023). Statistics on the movement of animals within the country for 2023. Department of Livestock Development. https://aqi.dld.go.th/webnew/index.php/th/service-menu/stat-report

Intawicha, P., Tana, S., Krueasan, S., Saengwong, S., Sorachakula, C., Danmek, K., Attabhanyo, R., Dongpaleethun, C., & Teepatimakorn, S. (2017). The study of buffalo raising conditions and satisfaction with academic service in Phayao Province. King Mongkut's Agricultural Journal, 35(3), 69–78. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/157821/114302

Masaeng, P., & Deumkhammanee, J. (2022). A study on buffalo farming conditions and farmers' satisfaction in the Department of Livestock Development’s good breed network under the supervision of the Buffalo Research and Development Center. Journal of Animal Breeding and Production, 10(1), 261–305. https://e-wichakarn.dld.go.th/images/files-ewichakarn/2565/016.Patthareeya_Masawaeng-And-Jeamjit_Duamkhanmanee.pdf

Pansawat, N., Klaybanmai, S., & Laothon, P. (2007). Buffalo farming conditions of farmers in Nakhon Si Thammarat Province. Nakhon Si Thammarat Animal Breeding and Testing Research Station, Ron Phibun District, Nakhon Si Thammarat Province.

Phothong, T., Amornchaisin, T., & Boonproeng, S. (2013). A study on buffalo farming practices and farmers' satisfaction in Sa Kaeo Province. Department of Livestock Development, Ministry of Agriculture and Cooperatives.

Sarakul, M., Koonawootrittriron, S., Suwanasopee, T., Mauricio, A. E., Hirunwong, A., & Thongprapi, T. (2010). Factors affecting genetic improvement for milk production of dairy cattle at farm level in Central Thailand. In Proceedings of the 48th Kasetsart University Annual Conference: Animals, 150–157. https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/index.php?/BKN/search_detail/result/11977

Tathong, T., & Sangjun, C. (2015). Trade value of beef cattle and buffalo through the 3rd Thai-Lao Friendship Bridge, Nakhon Phanom Province. Kaen Kaset Journal, 43, 411–414. https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P005%20Ani_08.pdf&id=1872&keeptrack=1

Wanapat, M., & Devendra, C. (1992). Feeding and nutrition of dairy cattle and buffaloes in Asia. In Proceedings of the 6th AAAP Animal Husbandry Association of Thailand, Bangkok, Thailand.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-28

How to Cite

สุขเกษม ก., & จุลละนันทน์ ค. . (2024). ห่วงโซ่อุปทานของกระบือในตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดเพื่อการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 5(3), 78–91. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ScienceRERU/article/view/256873