การสกัดสารสีจากเปลือกผลแก้วมังกร

Main Article Content

วิภาดา สนองราษฎร์
พัชราภรณ์ สารเสนา
ปริยาภัทร เชาว์ชาญ
วิภาวี ขำวิจิตร
วารินทร์ ยางเดิม

Abstract

การ ศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสกัดสารสีจากแก้วมังกร หาความเข้มข้นของบีทาเลนจากสารสีที่สกัดได้ และวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักที่ปนเปื้อนในสารสีที่สกัดได้จากแก้วมังกร จากการทดลองโดยใช้เปลือกแก้วมังกรอบแห้ง 5 กรัม ต่อตัวทำละลาย 100 มิลลิลิตร พบว่าตัวทำละลายที่สกัดสารสีจากเปลือกแก้วมังกรอบแห้งได้ดีที่สุดได้แก่ น้ำ รองลงมา คือ ร้อยละ 80 ของ เอทานอล + โซเดียมไฮดรอกไซด์ ผลการวิเคราะห์พบว่าสารสีอบแห้งที่สกัดได้มีค่า 87 กรัม/100 กรัม ของเปลือกแก้วมังกรอบแห้ง และ 42.5 กรัม/100 กรัม ของเปลือกแก้วมังกรอบแห้งและความเข้มข้นของบีทาเลนเท่ากับ 17.01 กรัม/ลิตร และ 13.65 กรัม/ลิตร เมื่อใช้น้ำและ ร้อยละ 80 ของ เอทานอล + โซเดียมไฮดรอกไซด์ ตามลำดับ ผลวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักโดยวิธีอะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโทรสโคปี สำหรับหาปริมาณ เหล็ก สังกะสี และทองแดง พบว่ามีค่าเท่ากับ 73.14 , 58.91 และ 7.72 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมตามลำดับ แล้ววิเคราะห์หาสารสีแดงโดยใช้วิธีอัลตราไวโอเลตและวิสิเบิลสเปกโทรสโคปี พบว่าช่วงของความยาวคลื่นมีค่าเท่ากับ 532 นาโนเมตร และการดูดกลืนแสงมีค่าเท่ากับ 1.452

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)