การประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่

Main Article Content

อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง
ทนงศักดิ์ อะโน
รัตนา หอมวิเชียร
ณัฐวิทย์ จิตราพิเนตร
สุดารัตน์ คำปลิว

Abstract

ห้วยแอกเป็นลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำมูลตอนบนในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ปัญหาวิกฤตของลุ่มน้ำนี้คือการขาดแคลนน้ำจนเกิดความแห้งแล้งเนื่องจากหลายสาเหตุ อาทิปริมาณฝนต่ำ ไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำเพียงพอและดินอุ้มน้ำได้น้อย แหล่งน้ำธรรมชาติตื้นเขิน การศึกษานี้ประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งด้วยเทคนิควิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่ในลุ่มนํ้าห้วยแอก โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่ (Potential Surface Analysis ; PSA) ประเมินภัยแล้งในลุ่มน้ำห้วยแอก โดยการมีส่วนร่วมของผู้เชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์จัดการทรัพยากรน้ำ ประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กำหนดและสร้างแผนที่พื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง เพื่อทราบพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งในลุ่มน้ำ ผลประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งด้วยเทคนิค PSA สรุปได้ว่า พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งในลุ่มน้ำห้วยแอกส่วนใหญ่มีความเสี่ยงภัยแล้งปานกลาง 694 ตารางกิโลเมตร (ร้อยละ 59) มีความเสี่ยงภัยแล้งมาก 300 ตารางกิโลเมตร (ร้อยละ 26) และมีความเสี่ยงภัยแล้งน้อย 173 ตารางกิโลเมตร (ร้อยละ 15) ตามลำดับ โดย 330 หมู่บ้าน มีจำนวนหมู่บ้านที่เสี่ยงเกิดภัยแล้งระดับมาก 79 หมู่บ้าน (ร้อยละ 24) ระดับปานกลาง 197 หมู่บ้าน (ร้อยละ 60) และระดับน้อย 54 หมู่บ้าน (ร้อยละ 16)

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)