การประยุกต์วิธีการทากุชิสำหรับกระบวนกลึงที่ดีที่สุดโดยศึกษาค่าพารามิเตอร์ของเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต

Main Article Content

สุรพงศ์ บางพาน

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาหาค่าของปัจจัยหรือค่าพารามิเตอร์ที่ดีที่สุดในกระบวนการกลึงขึ้นรูปโลหะโดยการประยุกต์ใช้การออกแบบการทดลองวิธีทากุชิเพื่อลดจำนวนปัจจัยที่ไม่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดเฉือน โดยทำการทดลองกลึงชิ้นงานเหล็กกล้าผสมคาร์บอนสูง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 25.4 มิลลิเมตร ความยาวเท่ากับ 76.2 มิลลิเมตร ด้วยมีดกลึงทำด้วยเหล็กความเร็วรอบสูงและหาประสิทธิภาพการกลึงโดยวัดอัตราการกำจัดเศษที่ได้รับคือค่า MRR (Material Removal Rate) กำหนดปัจจัยที่จะทำการศึกษา 3 ตัวแปร ได้แก่ ความเร็วเพลาหมุน อัตราการป้อน และระยะการป้อนลึก และสร้างแผนการทดลองแบบเมตริกซ์ (matrix experiment) โดยใช้ตารางพิเศษที่เรียกว่า ตารางแนวฉาก (orthogonal array) เพื่อค้นหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทดลองจากหลายๆ ปัจจัยที่เลือกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้โปรแกรม Minitab release 15. 00 มาช่วยคำนวณเพื่อหาผลตอบสนองของความผันแปร ซึ่งหาได้จากตัววัดทากุชิคือ ค่าอัตราส่วนสัญญาณต่อสิ่งรบกวน (signal to noise ratio) หรือ S/N ดังนั้นจะได้ตารางแสดงค่าการทดลองจริงที่ใช้กับการกลึงชิ้นงานเหล็กด้วยมีดกลึงเหล็กความเร็วรอบสูงที่มีจำนวนการทดลองทั้งหมด 9 รัน หลังจากทำการทดลองและยืนยันผลการทดลองแล้ว แสดงว่าวิธีทากุชิช่วยลดจำนวนปัจจัยที่มีผลกระทบต่องานกลึงขึ้นรูป ช่วยลดเวลาและจำนวนครั้งในการทดลอง

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)